หนุ่มหล่อวัย 24 ประกาศจะเก็บขยะพลาสติกให้หมดทะเลด้วยสิ่งนี้!?!

เส้นทางสู่ความสำเร็จไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเลยสำหรับเด็กหนุ่มวัย 24 ปี ชาวดัตช์ที่มีนามว่า Boyan Slat ผู้ก่อตั้งบริษัท The Ocean Cleanup ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีความมุ่งมั่นที่กำจัดขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลในท้องทะเลให้หมดไป

 

Boyan Slat เด็กหนุ่มชาวดัชวัย 24 ถ่ายรูปคู่กับสิ่งประดิษฐ์ของเขาที่สามารถกำจัดขยะพลาสติกในท้องทะเล

 

Boyan Slat เริ่มมีแนวคิดที่อยากจะเก็บขยะในท้องทะเลมาตั้งแต่อายุ 16 ปี และได้สานฝันของเขาให้เป็นจริง ด้วยสิ่งประดิษฐ์ขนาดใหญ่และพัฒนาไอเดียของเขาต่อเนื่องจนถึงวันนี้ แนวทางการเก็บขยะตามกระแสน้ำทะเลของSlat ได้รับการยอมรับ แต่ต้องพบกับปัญหาเรื่องเทคโนโลยียังที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ แม้การทดสอบครั้งแรกเครื่องเก็บขยะนี้จะแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ดีก็ตาม

 

ผลที่ตามมาคือถูกวิพากษ์โดยสังคมวิทยาศาสตร์อย่างหนัก โดยนักวิทยาศาสตร์บางคนแสดงความกังวลว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งผลร้ายต่อสัตว์ทะเลหรืออาจกลายเป็นภัยร้ายแรงไปทำลายสภาพมหาสมุทรก็เป็นได้   แต่อย่างไรก็ตามหากทุกอย่างเดินหน้าไปตามแผน อุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถกำจัดขยะพลาสติกในปริมาณครึ่งหนึ่งของแพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) ซึ่งเป็นวังวนใหญ่ของขยะในมหาสมุทรมีขนาดใหญ่กว่ารัฐเท็กซัสภายในระยะเวลา 5 ปี

 

Boyan Slat ในวัย 16 ปี ที่มีชีวิตเปลี่ยนไปเมื่อเขาลงไปดำน้ำในประเทศกรีซและพบขยะพลาสติกจำนวนมาก ทำให้เขามีความตั้งใจจะต้องกำจัดขยะเหล่านี้ให้หมดไป

 

ชีวิตของเด็กหนุ่มคนนี้เปลี่ยนไปเมื่อ Slat มีโอกาสไปดำน้ำในประเทศกรีซ เขาได้เห็นสภาพท้องทะเลที่มีปริมาณขยะเยอะกว่าจำนวนปลาที่แหวกว่ายอยู่ในทะเลเสียอีก และนี่ถือเป็นการจุดประกายไอเดียของเด็กวัย 16 ปี ที่เริ่มศึกษาเรื่องขยะในท้องทะเลด้วยตนเอง แล้วพบว่าความจริงขยะมีอยู่ในท้องทะเลทั่วโลก แต่ทำไมจึงมีแพขยะใหญ่มากที่มหาสมุทรแปซิฟิก เนื่องเพราะกระแสน้ำที่ได้รับอิทธิพลจาก Coriolis force ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองตัวของโลกนี่แหละที่พัดพาขยะจากทั่วโลกมารวมตัวกันที่วงแหวนขนาดใหญ่กลางมหาสมุทร ซึ่งเป็นวงแหวนแปซิฟิกเหนือที่ตั้งอยู่ระหว่างฮาวายและแคลิฟอร์เนีย เป็นส่วนที่มีการสะสมของขยะขนาดใหญ่ที่สุด

Slat ได้ปรากฏตัวบนเวทีครั้งแรกในการประชุม TEDx เมื่อปี 2012 โดยเขาเสนอแนวคิดว่าขยะที่กองกันอยู่ที่แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ภายใน 5 ปี ในขณะที่ก่อนหน้านี้ Charles Moore ค้นพบว่าแพขนาดใหญ่กลางมหาสมุทรนี้จะต้องใช้เวลาทำความสะอาดตัวเองนานถึง 79,000 ปี โดย Slat ได้นำเสนอระบบการทำความสะอาดทะเลด้วยการเก็บขยะตามการไหลของกระแสน้ำทะเลแทนการตามไปเก็บขยะไปเรื่อยๆ

 

 

หลังจากเขาได้นำเสนอแนวความคิดนี้ต่อสาธารณะแล้ว Slat จึงเลือกศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์อวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Delft ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังจากเข้าเรียนเพียง 6 เดือน Slat ก็ก่อตั้งบริษัท The Ocean Cleanup ด้วยเงินเก็บจากกระปุกเป็นเงิน 340 ดอลล่าร์ พร้อมกับเปิดตัวนวัตกรรมของเขาคือเครื่องเก็บขยะ The Ocean Cleanup

เดือนมีนาคม 2013 มีคนสนใจเข้ามาดูเว็บไซต์ The Ocean Cleanup จำนวนมาก   ส่งผลให้ Slat สามารถระดมทุนได้ถึง 2 ล้านดอลล่าร์ จากผู้ที่สนใจกว่า 38,000 คน จาก 160 ประเทศ ทำให้บริษัทสามารถสร้าง The Ocean Cleanup ขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับเงินบริจาค จำนวน 21.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการทดลองหย่อน The Ocean Cleanup ในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นครั้งแรก

จากการสำรวจของ The Ocean Cleanup พบว่ามีขยะพลาสติกที่ผิวน้ำมากที่สุด และในเดือนสิงหาคม ปี 2015 The Ocean Cleanup เริ่มทำการสำรวจครั้งใหญ่ (Mega Expedition) และประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม ส่งผลให้เกิดการสร้างแผนที่แพขยะที่มีความละเอียดสูงเป็นครั้งแรกซึ่งสามารถแสดงตำแหน่งที่มีขยะพลาสติกปริมาณมากได้ดีกว่าที่คิด

 

เครื่อง The Ocean Cleanup กำลังทำการเก็บขยะพลาสติกที่ทะเลเหนือ

 

“มีการศึกษาปริมาณขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั้งหมดในโลกนี้ แต่ไม่เคยเห็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกขนาดมหึมาอย่าง the Great Pacific Garbage Patch มาก่อน ระยะทางพันไมล์จากพื้นดินสู่ท้องทะเล เราพบพลาสติกลอยอยู่ในปริมาณที่เยอะมาก” Julia Reisser หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ทางทะเลของบริษัทกล่าว

ในปี 2017 The Ocean Cleanup ได้พัฒนาออกแบบเครื่องมือเก็บขยะรุ่นใหม่ขึ้นมา และมีกำหนดการในการเปิดตัวในปี 2020 โดยแบบเดิมนั้นเกี่ยวข้องกับการวางกับดักพลาสติกขนาดใหญ่ที่ติดอยู่กับก้นทะเลซึ่งอยู่ห่างจากพื้นผิวมากกว่า 2.5 ไมล์ แต่หลังจากที่เกิดความกังวลในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เขาจึงตัดสินใจปรับใช้การจัดลำดับที่เล็กลงด้วย “จุดยึด” ที่ลอยอยู่ใต้ผิวน้ำประมาณ 2,000 ฟุต

และเมื่อปี 2018 ทางรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ลงนามในสัญญาเพื่อให้การสนับสนุน The Ocean Cleanup แต่ติดปัญหาเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องเพราะอุปกรณ์นี้จดทะเบียนเป็นเรือภายใต้กฎหมายของเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตามในปีเดียวกันนั้น The Ocean Cleanup ถูกปล่อยลงในมหาสมุทรแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ โดยทำเป็นทุ่นแถวยาว 2,000 ฟุต เพื่อดักจับขยะในท้องทะเล

 

โฉมหน้าของเครื่องเก็บขยะ “ System 001” มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์ ที่วางแผนเริ่มเก็บขยะพลาสติกในอ่าวซานฟรานวิสโก

 

เครื่องเก็บขยะมีชื่อเรียกว่า “ System 001” มูลค่า 23 ล้านดอลลาร์ เริ่มเดินทางห่างจากอ่าวซานฟรานซิสโกประมาณ 200 ไมล์ ซึ่ง The Ocean Cleanup ประเมินไว้ว่าจะสามารถเก็บขยะพลาสติกในท้องทะเลได้ถึง 50 ตันในปีแรก แต่ในช่วงเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้นเองก็เกิดปัญหาระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับขยะพลาสติกชื่อว่า Wilson เกิดขัดข้องส่งผลให้การทำงานเก็บขยะล่าช้าลง

อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการครั้งนี้ทีมงานของ Slat สามารถเก็บขยะพลาสติกได้มากกว่า 4,400 ปอนด์ ซึ่งเขามั่นใจว่าจะสามารถกลับมาเก็บขยะพลาสติกในแพขยะหลังการซ่อมบำรุงได้ในปี 2019

credit :https://www.businessinsider.com/great-pacific-garbage-patch-ocean-cleanup-plastic-timeline-2019-1?utm_content=buffer476b3&utm_medium=social&utm_source=facebook.com&utm_campaign=buffer-bi#june-2016-the-startup-releases-its-first-prototype-off-the-dutch-coast-8

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม