เผยผลสำรวจ 15 บริษัทยักษ์ใหญ่สอบตกเรื่องการลดมลพิษบรรจุภัณฑ์พลาสติก

แม้จะมีหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องการลดปริมาณพลาสติก แต่จากผลสำรวจ50 บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก ผลเป็นที่น่าตกใจว่ามีเพียงบริษัทเดียวที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ได้คะแนนแค่B- เท่านั้น ในจำนวนนี้มี 15 บริษัทที่สอบตกเนื่องจากการวางแผนไม่สอดคล้องกับวิกฤติที่เกิดขึ้น

การลดปริมาณพลาสติกเป็นภารกิจที่หลายบริษัทกำลังดำเนินการอย่างหนักเพราะนั่นเป็นตัวบ่งบอกว่าบริษัทให้ความใส่ใจกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน โดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ดูแลด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมได้เผยแพร่รายงานหัวข้อ “Wasted & Opportunity 2020: Searching for Corporate Leadership” เพื่อวิเคราะห์การทำงานด้านการลดปริมาณพลาสติกของบริษัทที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวน 50 แห่ง

โดยรายงานสรุปให้เห็นว่าบริษัทต่างๆตอบสนองด้านความรับผิดชอบและการสนับสนุนการรียูส รีไซเคิล หรือการย่อยสลายของแพกเกจจิ้งช้าเกินไป และล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงมาใช้แพกเกจจิ้งแบบหมุนเวียนแทนวัสดุที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียว


จากการจัดอันดับโดยการให้เกรด 50 บริษัทในกลุ่มเครื่องดื่ม ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด สินค้าอุปโภคบริโภคและรีเทล พบว่าได้เกรดสูงสุดได้แค่ B- ซึ่งได้แก่ Unilever เกรด C จำนวน 12 บริษัท เกรด D จำนวน 22 บริษัท และตามมาด้วยบริษัทที่สอบตกหรือได้เกรด F จำนวน 15 บริษัท โดย 6 บริษัทที่ถูกจัดอันดับต่ำที่สุดจากขนาดของรายได้ ได้แก่ Walmart, Kroger, PepsiCo, Tyson Foods, Kraft Heinz และ Mondelez International โดยรายงานนี้ระบุว่าบริษัทที่สอบตกสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องในการตั้งเป้าหมายพื้นฐาน กลยุทธ์ และการวางแผนงาน ซึ่งจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับวิกฤติมลพิษพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้การประเมินและการจัดอันดับตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์ 6 ข้อ คือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ , การนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ได้ใหม่ , ความน่าพึงพอใจของรีไซเคิล , การเปิดเผยข้อมูล , การสนับสนุนโดยสมัครใจเพื่อการปรับปรุงระบบรีไซเคิล และความรับผิดชอบทางการเงินเพื่อนำไปปรับปรุงระบบต่างๆ ซึ่งสิ่งที่บริษัทเหล่านี้นำไปใช้มากที่สุดคือการปรับปรุงด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (reused) , การนำมาใช้ซ้ำ (recycle) และการย่อยสลายได้(compostable ) รวมถึงข้อที่ว่าด้วยเรื่องความรับผิดชอบทางการเงิน

นอกจากนี้รายงานยังเผยให้เห็นอีกว่าความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้ ความโปร่งใสด้านข้อมูล และความรับผิดชอบของผู้ผลิต กลับมีจำนวนน้อยลง ซึ่งข้อมูลนี้บ่งบอกว่าบริษัทต่างๆยังคงห่างไกลจากการเปลี่ยนแปลงมาใช้วัสดุอื่นที่สามารถนำมาใช้ใหม่(reused)ได้แทนการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียว รวมถึงความรับผิดชอบทางการเงินเพื่อปรับปรุงระบบเรื่องการรีไซเคิล(recycle)ให้มีการนำมาใช้ซ้ำให้มากขึ้น และการสร้างเศรษฐกิจพลาสติกหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น

ข้อแนะนำสำคัญจากรายงาน
• ให้ความสำคัญกับการตั้งเป้าหมายในเรื่องการลดการใช้พลาสติกโดยรวมและการใช้วัสดุรีไซเคิลในระดับสูง
• ปรับเรื่องการออกแบบบบรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับระบบรีไซเคิลที่มีอยู่ เพื่อให้มีบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลมากขึ้น
• หยุดใช้พลาสติกบรรจุชนิดอ่อนจนกว่าวัสดุนี้จะสามารถรีไซเคิลได้
• แบ่ง 1% ของรายได้ต่อปี เพื่อใช้เป็นงบประมาณในการหาหาทุนให้ได้ประมาณ12 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำมาใช้ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเรื่องการรีไซเคิล
• ใหจัดลำดับความสำคัญของการทำสัญญาระยะยาวกับผู้ดำเนินการรีไซเคิลเพื่อเป็นการส่งสัญญาณถึงความมุ่งมั่นในการจัดหาแหล่งพลาสติกรีไซเคิลและสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก

Credit: www.environmentalleader.com/2020/06/15-companies-receive-f-grade-for-attempts-at-reducing-plastic-pollution/

Stay Connected
Latest News