พบวาฬปากนก29ตัวเกยตื้นตายสาเหตุจากคลื่นโซนาร์เรือดำน้ำและเรือสำรวจแหล่งน้ำมัน

ภาพสะเทือนใจของวาฬเกยตื้นและนอนตายอยู่บนชาดหาดที่เราเห็นตามข่าวหลาย ๆ ครั้งนั้นโดยไม่ทราบสาเหตุนั้น ทำให้ได้แต่สงสัยว่าอะไรเป็นสาเหตุให้วาฬตัวใหญ่ที่แหวกว่ายอยู่ในทะเลลึกต้องขึ้นมาบนฝั่ง เพราะนั่นสะท้อนถึงปัญหาที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน กับการตายของวาฬตัวแล้วตัวเล่า

ยิ่งเมื่อไม่นานมานี้มีเหตุการณ์วาฬปากนก (beaked whale) เกยตื้น 29 ตัว ที่ชายฝั่งทางเหนือของภูมิภาคยุโรป ได้กลายเป็นประเด็นให้นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางทะเลต้องรีบหาสาเหตุการเกยตื้นของวาฬปากนกที่ปกติแล้วจะอาศัยและหาอาหารอยู่ในทะเลลึก และการขึ้นมาที่ผิวน้ำนั้นเป็นเรื่องที่พบเห็นไม่ได้บ่อยนัก

โดยผู้เชี่ยวชาญอย่าง Rob Deaville และ Matt Perkins จาก the Cetacean Stranding Investigation Programme แห่งสมาคมสัตววิทยาลอนดอน ที่คอยสังเกตการณ์วาฬเกยตื้นกล่าวกับ the Guardian ว่า การตรวจสอบเบื้องต้นของสัตว์น้ำในเมือง Lowestoft นั้นไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงอาการเมาความกดอากาศของสัตว์ที่ชัดเจน แต่ทีมงานจะพยายามหาสาเหตุเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมกับหาสาเหตุการตายของวาฬที่เกยตื้นใกล้กับเมือง Portmouth

ทางผู้เชียวชาญได้ตั้งสมมติฐานไว้หลายข้อถึงสาเหตุการเกยตื้นของวาฬปากนกที่อาจจะมีปัจจัยมาจากสภาพอากาศ แต่ที่แน่ๆปัจจัยดังกล่าวมีส่วนรบกวนระบบประสาทในการนำทางของพวกมัน เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่วาฬสเปิร์มจำนวน 30 ตัวที่เกยตื้นบนชายฝั่งทะเลเหนือในปี 2016 ที่เชื่อมโยงกับพายุสุริยะที่ผิดปกติในปีนั้นซึ่งอาจรบกวนประสาทสัมผัสการนำทางของพวกมัน


ขณะเดียวกันได้มีการเปิดเผยรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าการใช้คลื่นเสียงโซนาร์ทางการทหารและการสำรวจทางธรณีเพื่อค้นหาแหล่งน้ำมันใต้ท้องทะเลอาจเป็นสาเหตุของวาฬเกยตื้น โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีรายงานของออสเตรเลียระบุว่า “การใช้คลื่นโซนาร์ความถี่ระดับกลางในการขัดขวางเรือดำน้ำมีความเชื่อมโยงเป็นอย่างมากต่อการตายของวาฬปากนก โดยรายงานดังกล่าวเชื่อว่าคลื่นโซนาร์ดังกล่าวสร้างความตกใจแก่สัตว์จึงต้องแหวกว่ายโผล่ขึ้นที่ผิวน้ำอย่างกะทันหันซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเมาความกดอากาศ (decompression sickness)

ด้านนักวิจัยชาวดัตช์อย่าง Joroen Hoekendijk ที่เฝ้าสังเกตการณ์เหตุการณ์วาฬเกยตื้นในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เขียนในบล็อกโพสต์ไว้ว่า “ดูเหมือนว่าเหตุการณ์วาฬเกยตื้นที่มีการรายงานอยู่ในขณะนี้เป็นผลสืบเนื่องโดยตรงจากการใช้คลื่นโซนาร์ของปฏิบัติการทางทหาร ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ปัญหาวาฬปากนกเกยตื้นที่ชายฝั่งประเทศเราก็คงเป็นปัญหาที่ปลายยอดภูเขาน้ำแข็ง”

Credit : https://www.theguardian.com/environment/2020/aug/24/beached-whale-increase-may-be-due-to-military-sonar-exercises-say-experts

Stay Connected
Latest News