สตาร์ทอัพอเมริกา จับมือบริษัทรถยนต์อินเดีย เร่งพัฒนาแบตเตอรี่ EV ราคาถูก ให้คนส่วนใหญ่ของโลกเข้าถึงได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้ากำลังเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนบนท้องถนน แต่ด้วยราคาที่ถือว่ายังค่อนข้างสูงมาก จึงอาจเป็นอุปสรรคต่อผู้คนทั่วไปที่อยากมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ดีต่อโลก แต่ติดที่กำลังทรัพย์มีจำกัดทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้

Alsym Energy บริษัทสตาร์ทอัพด้านพลังงาน ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 7 ปี ในแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา จึงได้จับมือกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สัญชาติอินเดีย เพื่อแก้ไข pain point ในข้อนี้ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแบตเตอรี่ทดแทนสำหรับนำไปใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้สามารถเข้ามาแทนที่การใช้ลิเทียมและโคบอลต์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน และยังมีราคาที่ค่อนข้างแพง เพื่อให้เกิดอานิสสงส์สูงสุดกับประชากรโลกส่วนใหญ่ 

โดยแบตเตอร์รี่ของ Alsym Energy จะมีประสิทธิภาพที่ปลอดภัยกว่า ยั่งยืนกว่า และง่ายต่อการรีไซเคิลมากกว่า เนื่องจาก ถูกผลิตมาจากวัสดุที่ปลอดสารพิษ ไม่ไวไฟ และยังเป็น water-based battery ที่วัสดุทั้งหมดสามารถนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

สอดคล้องกับ 2 เป้าหมายหลัก ของ Alsym Energy ที่ต้องการทำให้ราคาแบตเตอรี่ถูกลง เพราะพวกเขาอยากให้คนทั่วไปสามารถขับรถยนต์ไฟฟ้าในราคาที่เอื้อมถึงได้ รวมทั้งผลักดันให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ​ (Circularity) 

“เหตุผลสำคัญในการก่อตั้ง Alsym Energy ขึ้นมา เนื่องจากต้องการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่าพันล้านคนสามารถจับต้อง และเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้ ไม่ใช่เพียงให้คนแค่ 1%  ที่มีความสามารถในการซื้อรถยนต์  EV หรูๆ ในราคาแพงได้ จึงจำเป็นต้องพัฒนาโซลูชันส์ที่สามารถมาใช้เพื่อทดแทนการใช้งานรถยนต์เครื่องยนต์เชื้อเพลิงสันดาปได้ ซึ่ง Alsym’s battery ผลิตขึ้นจากวัสดุทั่วๆ ไป เช่น แมงกานีส และอะลูมิเนียม​ รวมทั้งยังสามารถทำหน้าที่เป็นสถานีในการเก็บสะสมพลังงาน และสามารถนำไปใช้งานทางทะเลได้อีกด้วย” 

นอกจากนี้ ทาง Alsym Energy ยังเชื่ออีกว่า แบตเตอรี่ที่พวกเขาผลิตขึ้นมานั้นนอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานจ่ายให้กับรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว ยังสามารถกักเก็บพลังงานในรูปแบบ off grid เพื่อให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่กักเก็บไว้ได้อีกด้วย โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะเริ่มเดินสายการผลิตแบตเตอรี่ไว้ในปี 2025   

source

source

Stay Connected
Latest News

มูลนิธิ เมเจอร์ แคร์ จับมือ เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง หนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียน สอนปลูกผักปลอดสารพิษ พร้อมมอบโรงเรือนปลูกผัก “โครงการปลูกผัก สร้างสุข สร้างรายได้” ให้กับน้อง ๆ โรงเรียนบ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา