‘จดให้ไว’ ส่อง 6 ศัพท์ใหม่สาย Climate สะท้อนบริบทขับเคลื่อนปัญหาวิกฤตสภาพอากาศชาวยุโรป

ช่วงปีที่ผ่านมา ความกังวลต่อปัญหาสภาพอากาศเป็นหัวข้อสำคัญที่ทั่วโลกต่างพูดถึง โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปที่มีการเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องให้แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง  

ทำให้เกิดคำศัพท์ หรือวลีใหม่ๆ ในแวดวง Climate Crisis ที่เกี่ยวข้องหรือสะท้อนถึงวิกฤตโลกร้อนที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ความวิตกกังวลด้านสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสภาพอากาศที่รุนแรง

EURONEWS ได้หยิบยก 6 คำศัพท์​ที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ซึ่งสะท้อนได้ทั้งบริบททางวัฒนธรรมและสังคม รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งประเด็นที่โลกให้ความสนใจผ่านภาษาของแต่ละพื้นที่ ​ซึ่งประกอบไปด้วย

ซึ่งทาง EURONEWS ได้หยิบยก 6 คำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ซึ่งสะท้อนได้ทั้งบริบททางวัฒนธรรมและสังคม รวมทั้งชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งประเด็นที่โลกให้ความสนใจผ่านภาษาของแต่ละพื้นที่ ​ซึ่งประกอบไปด้วย

6. La sobriété (ฝรั่งเศส)

คำภาษาฝรั่งเศสนี้ แปลได้ว่า ‘ความยับยั้งชั่งใจ’ (restraint) ในที่นี้หมายถึงการมีไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและนโยบายทางเลือก

 ‘sobriété’ เป็นชื่อมาตรการที่ทางฝรั่งเศสใช้เพื่อลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายลดการใช้พลังงานลง 10% ภายในปี 2567  ผ่านข้อกำหนดต่างๆ เช่น การจำกัดอุณหภูมิของเครื่องทำความร้อนภายในบ้านและออฟฟิศไว้ที่ 19 ° C หรือห้ามเปิดไฟโฆษณาต่างๆ ไว้ตอลดทั้งคืน เป็นต้น​ซึ่งความนิยมของคำนี้มาจาก Pierre Rabhi (ปิแอร์ ราบี) นักปรัชญาและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชาวฝรั่งเศส-แอลจีเรีย ผู้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและเรียบง่าย​ และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกระบบการทำเกษตรแบบออแกนิสก์เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม​ ซึ่งปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว​​ ขณะที่ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญกับการลดการใช้พลังงานเพื่อป้องกันปัญหาพลังงานขาดแคลน และเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก​

5. Ilmastohumpp (ฟินแลนด์)

คำนี้ถูกแปลขึ้นมาจาก ‘climate oompah.’  ซึ่งล้อเลียนถึงการเต้นระบำพื้นเมืองของฟินแลนด์ และดนตรีที่คล้ายกับฟ็อกซ์ทรอต (foxtrot) หรือฮัมปา​ (humppa)

วลีนี้ถูกใช้เพื่อวิจารณ์​กลุ่มคนที่สนับสนุนมาตรการหรือการเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่างๆ ว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เป็นคำที่นิยมในกลุ่มของคนที่มองว่า นักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากศเหล่านี่กำลังร้องเพลงและเต้นรำโดยไม่คิดอะไร

4. Gretini (อิตาลี)

เป็นอีกหนึ่งคำเชิงลบ ที่สื่อความหมายถึง ‘สาวกของเกรตา’  หรือ Greta Thunberg  นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน ซึ่งล้อเลียนมาจาก คำว่า cretino (cretinuous, งี่เง่า, โง่) เพื่อสื่อความหมายให้พ้องกัน แต่ใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​

Greta Thunberg เริ่มเป็นที่รู้จักในปี 2018 หลังจากเริ่มหยุดเรียนในทุกวันศุกร์ เพื่อส่งสัญญาณไปยังทางการสวีเดน ในการเคลื่อนไหวด้านการดูแลสภาพอากาศ และกลายเป็นชนวนให้เด็กหลายล้านคนเข้าร่วมการประทัวงทั่วโลก และกลายเป็นประเด็นในหมู่นักวิจารณ์ ซึ่ง Thunberg ได้ตอบโต้กลุ่มนักวิจารณ์ว่ากำลังสร้างแคมเปญให้เกิดความเกลียดชังและการสมรู้ร่วมคิด

3. Oljeskam และ Flyskam (นอร์เวย์) 

ศัพท์ภาษานอร์เวย์คำนี้ มาจากคำว่า ​‘oil shame’ และ ‘flight shame’  หรือความน่าละอายของน้ำมันและการบินตามลำดับ

โดยนอร์เวย์ เป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานสะอาด โดย 95% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานน้ำ และมีอัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าสูงที่สุดในโลก แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ โดยในปี 2564 ที่ผ่านมา มีการส่งออกน้ำมันดิบไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปถึงกว่า 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

Oil shame สะท้อนถึงความรู้สึกผิดของชาวนอร์เวย์​บางกลุ่ม เมื่อนึกถึงปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่เกิดขึ้นตามมา ส่วน Flight shame เป็นคำที่เริ่มถูกพูดถึงอย่างมาก จาก Greta Thunberg ที่ออกมาประกาศต่อสาธารณชนว่าจะหยุดการเดินทางโดยเครื่องบินเพื่อลดการสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากตัวเอง ซึ่งปัจจุบันได้ขยายวงกว้างอย่างแพร่หลายไปทั่วสแกนดิเนเวีย

2. Colopsistas และ Tecno-optimistas (สเปน)

ผู้คนส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า จำเป็นต้องหาโซลูชันพื่อเข้ามาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ​ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงว่าควรเป็นแนวทางใดกันแน่

ซึ่งนักรณรงค์บางกลุ่มมองว่า การลดการบริโภคลงเป็นหนทางเดียวที่จะสามารถป้องกันการล่มสลายทางสภาพภูมิอากาศ เช่น การลดใช้พลังงานฟอสซิล การลดบริโภคเนื้อสัตว์ รวมทั้งการเลิกบริโภคเกินความจำเป็น เช่น การสนับสนุนฟาสต์แฟชั่น

ในสเปน จะเรียกกลุ่ม​ที่โต้เถียงประเด็นความเชื่อนี้​ว่า ‘Colopsistas’ ​และจะมีอีกคำหนึ่งมักจะมาคู่กัน คือ ​’decrecentistas‘ ซึ่งหมายถึง ผู้ที่มีความเชื่อว่า การลดการบริโภคจะเป็นหนทางหลักในการแก้ปัญหาสภาพอากาศ

ขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งจะเชื่อแตกต่างออกไป โดยเห็นว่าเรื่องของเทคโนโลยีคือ วิธีการหลักในการแก้ปัญหา และจะถูกเรียกว่า  ‘Tecno-optimistas’ เช่น การพัฒนาพลังงานสะอาด หรือแบตเตอรี่ไฮโดรเจน ซึ่งจะเป็นโซลูชันที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยบริษัท Oil & Gas สามารถอธิบายถึงความเป็น ​Tecno-optimistas ในฐานะยักษ์ใหญ่ด้านเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่มักนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การดักจับคาร์บอนเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่คำเหล่านี้มักจะถูกใช้เพื่อวิวาทะโต้แย้งกับฝ่ายตรงข้าม ขณะที่คนส่วนใหญ่ทั่วไป มีความเชื่อว่า ควรใช้ทั้ง 2 แนวทาง เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ร่วมกัน

1. Depresja klimatyczna (โปแลนด์)

ในภาษาอังกฤษจะมีคำว่า‘eco-anxiety’ หรือ ความกังวลต่อวิกฤตสภาพอากาศ ​จากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ จนเกิดเป็นความวิตกกังวลทางด้านจิตใจ เพราะกลัวว่าโลกจะมาถึงวาระแล้ว ซึ่งตรงกับภาษาโปแลนด์ว่า Depresja klimatyczna​ ที่อาจหมายถึงการเกิดภาวะซึมเศร้า​จากสภาพอากาศ (climate depression)

คำนี้สามารถสะท้อนถึงความจริงที่ว่า ผู้คนทุกคนสามารถได้รับผลกระทบร้ายแรงจากปัญหาวิกฤตสภาพอากาศได้ โดยเฉพาะบางคนที่ไม่ให้ความสำคัญในประเด็นเหล่านี้เนื่องจากยังไม่ได้รับผลกระทบแบบจับต้องได้จากวิกฤตสภาพอากาศที่เกิดขึ้น และยังมีคำในภาษาอื่นๆ ที่มีความหมายในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ เช่น  ‘solastalgia’ หรือ ‘ecoansiedad’ ในภาษาสเปน ที่มีความหมายถึง ความเครียดที่เกิดขึ้นจากส่ิงแวดล้อม ​

source

Stay Connected
Latest News