3 แนวทางจัดการ Food Waste ของเกาหลีใต้ จากประเทศที่ท่วมด้วยขยะอาหารจากวัฒนธรรมการกิน จนเหลือทิ้งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

เกาหลีใต้​เป็นตัวอย่างประเทศที่เผชิญปัญหาขยะอาหารค่อนข้างสูง แต่สามารถแก้ไขและจัดการปัญหาขยะได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก วัฒนธรรมการกินอาหารของเกาหลีใต้ ที่จะประกอบด้วยจานเครื่องเคียงหลากหลาย จึงทำให้เกิดปริมาณขยะอาหารมากถึง 130 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และมีอัตราที่สูงกว่าหลายประเทศทั่วโลก

ทั้งนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้​มีแนวทางในการวางแผนเพื่อบริหารจัดการขยะอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการออกมาตรการอย่างจริงจังในหลายด้าน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

1. ระบบจ่ายเท่าที่ทิ้ง (Pay-As-You-Throw) ซึ่งกำหนดให้ประชาชนต้องแยกขยะอาหารจากขยะอื่น ๆ และจ่ายค่าจัดการขยะอาหารตามปริมาณที่ทิ้งผ่านถังขยะอัตโนมัติ หรือ Smart bins ซึ่งจะทำหน้าที่ชั่งน้ำหนักพร้อมคำนวณค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ

2. ระบบจัดการขยะอาหารด้วยการรีไซเคิล โดยมีการตั้งศูนย์รีไซเคิลขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งช่วยให้ปัจจุบันขยะอาหารของประเทศสามารถนำไปรีไซเคิลมากกว่า 90% เพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 3% ก่อนการออกมาตรการของภาครัฐ

3. การขับเคลื่อนผ่านความตระหนักของภาคประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอาหารและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อลดขยะอาหารและลดค่าใช้จ่าย

โดยการขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ ดังกล่าวเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ปริมาณขยะอาหารของภาคครัวเรือนในเกาหลีใต้ลดลงต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด โดยตัวเลขที่บันทึกไว้​ในปี 2021 ​อยู่ที่ 71 กิโลกรัมต่อคนต่อปี  ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ซึ่ง​อยู่ที่ 74 กิโลกรัมต่อคนต่อปี

ข้อมูล : ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์

 

Stay Connected
Latest News

มูลนิธิ เมเจอร์ แคร์ จับมือ เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง หนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียน สอนปลูกผักปลอดสารพิษ พร้อมมอบโรงเรือนปลูกผัก “โครงการปลูกผัก สร้างสุข สร้างรายได้” ให้กับน้อง ๆ โรงเรียนบ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา