สตาร์ทอัพเดนมาร์ก ขับเคลื่อน Green Clothing ​​ระดมทุนเพิ่ม 3 ล้านยูโร เร่งขยายระบบ Microfactories แก้ปัญหา Overproduction ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า

บริษัท Rodinia Generation สตาร์ทอัพสัญชาติเดนมาร์ก เจ้าของเทคโนโลยี Microfactorie สำหรับผลิตแบบ Made-on-demand ในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อแก้ปัญหาการผลิตเสื้อผ้าที่มากเกินความต้องการ (Overproduction)โดย​เปิดดำเนินการในกรุงโคเปนเฮเกน ของเดนมาร์ก มาต้ังแต่ปี 2017 รวมท้ังสามารถสร้างโรงงานขนาดเล็กแห่งแรกได้สำเร็จภายในปี 2021

ล่าสุดประสบความสำเร็จในการระดมทุน​จำนวน 3 ล้านยูโร หรือราว 120 ล้านบาท ได้สำเร็จจาก EIFO  (The Danish Export and Investment Fund) และ Climentum Capital

เป้าหมายการระดมทุนครั้งนี้  เพื่อต้องการต่อยอด​​​เทคโนโลยี Microfactorie ไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป รวมทั้งตลาดทั่วโลก​ เพื่อขับเคลื่อน Green Clothing ด้วย​การปฏิวัติเทคโนโลยีระบบการผลิตในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะไม่ต้องใช้น้ำในระบบการผลิต ​ลดการปลด​ปล่อยคาร์บอนฟุตพรินท์ลงมากกว่า 40% ขณะที่ใช้ระยะเวลาในการผลิตก็ลดลงเหลือเพียง 2 สัปดาห์ เร็วกว่าการผลิตแบบเดิมที่ใช้เวลากว่า 9 เดือน

Photo : Rodinia Generation

​ระบบ ​Microfactories ​ยังเป็นแบบ Made-on-demand​ สามารถผลิตสินค้าได้แม้มีปริมาณออเดอร์น้อย จากเดิมที่ต้องสั่งล็อตใหญ่ๆ คร้ังละจำนวนมากๆ เพื่อให้ได้ Economy of Scale ​และมีความคุ้มค่าในการผลิต ตามเงื่อนไขของทางโรงงานผู้ผลิต ซึ่งเป็นที่มาของปัญหา Overproduction ทำให้มีปริมาณเสื้อผ้าที่ผลิตออกมามากเกินความจำเป็น  รวมทั้งมีการผลิต​สร้างก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรมากเกินความจำเป็นด้วยเช่นกัน

อีกหนึ่งจุดเด่นของระบบนี้คือ ความสามารถในการผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก โดยไม่จำเป็นต้องผลิตเพียงดีไซน์เดียว แต่สามารถปรับเปลี่ยนการดีไซน์ได้ตามต้องการ โดยสามารถสั่งผลิตได้มากกว่า 1,000 ดีไซน์ และสั่งไซส์ที่แตกต่างกันได้ ภายในการสั่งงานครั้งเดียว (1 batch)

Photo : Rodinia Generation

Trine Young ดีไซเนอร์ และผู้ก่อตั้ง กล่าวว่า จุดมุ่งหมายสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อต้องการผลิตเสื้อผ้าอย่างยั่งยืนมากขึ้น ​เนื่องจากอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอมี​การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 8% เมื่อเทียบกับปริมาณทั่วโลก จากกระบวนการผลิต การขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างภูมิภาค เพราะเจ้าของแแบรนด์ต้องการลดต้นทุนการผลิตจึงเลือกสั่งผลิตในภูมิภาคที่ค่าแรงถูกกว่า​

ขณะเดียวกันยังมีการ​ผลิต​มากเกินความจำเป็น นำมาซึ่งการใช้ทั้งน้ำ  ทรัพยากร​ และสารเคมีในการผลิตจำนวนมาก ​ขณะที่การพัฒนา Microfactories สามารถสั่งผลิตได้ตามปริมาณที่ต้องการใช้จริง ​รวมทั้งใช้พื้นที่น้อยเพียง 200 ตารางเมตร และไม่ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิต​ จากเดิมที่โรงงานทั่วไปมักมีพื้นที่กว่า 2 พันตารางเมตร รวมทั้งใช้น้ำปริมาณกว่า 150 ล้านลิตร เพื่อผลิตสินค้าประมาณ 7 แสนชิ้น

Photo : Rodinia Generation

นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อทำให้แบรนด์ในพื้นที่ส่วนใหญ่​หันมาสั่งผลิตสินค้าภายใน​ท้องถิ่น เพื่อช่วยลดปริมาณคาร์บอนฟุตพรินท์จากการขนส่งจากต่างภูมิภาค เนื่องจากปัจจุบันแบรนด์ยุโรปส่วนใหญ่มักเลือก​ฐานผลิตจากตลาดที่มีต้นทุนถูกกว่า โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก  ซึ่งหากแบรนด์เหล่านี้หันกลับมาใช้ผู้ผลิตในพื้นที่เดียวกันก็จะช่วยลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอในภาพรวมให้น้อยลงได้

โดยในปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้​ผลิตให้ผลิตภัณฑ์แบรนด์แฟชั่นต่างๆ เช่น Mads Nørgaard, Hummel และ Wheat ประกอบกับความสำเร็จในการระดมทุนครั้งล่าสุดนี้ จะทำให้ Rodinia Generation สามารถขยายฐานการผลิตไปประเทศอื่นๆ ในยุโรปเพิ่มเติม รวมทั้งการบุกตลาดโลกในอนาคต เพื่อขับเคลื่อน Green Clothing ​ช่วยสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอให้เพิ่มมากขึ้น

ด้านตัวแทนจาก  Mads Nørgaard Copenhagen หนึ่งในแบรนด์แฟชั่นที่ตั้งอยู่ในกรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก ที่ย้ายมาผลิตในระบบ Microfactories กล่าวว่า ระบบการผลิตของ Rodinia Generation ทำให้สามารถผลิตสินค้าเพื่อออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นถึง 19 เท่า โดยใช้เวลาในการออกแบบและทำตลาดได้ภายในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือแม้แต่ในช่วงเวลาเพียง 48 ชั่วโมง จากที่เคยต้องใช้เวลาในกระบวนการผลิตราว 9 เดือน ​พร้อมทั้งช่วยลดปริมาณการผลิตส่วนเกินเพราะแน่ใจว่าปริมาณซัพพลายสินค้าพอต่อการขาย ​ซึ่งช่วยลดจำนวนเสื้อผ้าที่ขายไม่ออกได้เกือบ 5 หมื่นล้านชิ้นต่อปี คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นภายในอุตสาหกรรมมากกว่า 1.88 แสนล้านยูโร

source

Stay Connected
Latest News

เซ็นทรัลพัฒนาจับมือน้ำแร่ธรรมชาติมิเนเร่ เดินหน้าโครงการ “คืนชีวิตให้ขวดพลาสติก” ปีที่ 2 เปิดจุดรับขวดพลาสติกที่เซ็นทรัล ฟู้ดพาร์ค ส่งเสริมการหมุนเวียนนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ในวงกว้าง