แบรนดิ แนะทรานส์ฟอร์มสู่ ‘Future-ready Economy’ ผนึก 3 เสาหลักร่วมขับเคลื่อน รับมือความเสี่ยงระบบเศรษฐกิจในอนาคต

เเบรนดิ (BRANDi and Companies) ชูเเนวคิด “Future-ready Economy” ผนึกความร่วมมือทั้ง 3 เสาหลัก เร่งทรานส์ฟอร์มพร้อมรับมือทุก​ความเสี่ยง ​มุ่งสร้างเศรษฐกิจที่เเข็งเเกร่งและอนาคตที่ยั่งยืน

คุณปิยะชาติ (อาร์ม) อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ หรือที่รู้จักกันในนาม เเบรนดิ นักธุรกิจไทยเพียงคนเดียวในสภาที่ปรึกษาอนาคตแห่ง World Economic Forum และผู้ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อน Future-ready Economy  กล่าวว่า ปัจจุบันนี้มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลทั้งทางตรงเเละทางอ้อมต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องของสิ่งเเวดล้อม ปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศ ความเหลื่อมล้ำ หรือการเเพร่ระบาดของโควิด 19 ในรอบที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่านับวันยิ่งทวีความรุนแรงและเพิ่มความถี่มากขึ้น ซึ่งไม่มีใครรู้เลยว่าความเสี่ยงจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ดังนั้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจสำหรับอนาคตจำเป็นต้องมีความเป็น Future-ready นั่นเอง

การมุ่ง​สู่ Future-ready Economy เป็นการให้ความสนใจไปที่การเติบโตเเบบกระจายตัว (Distribution) มากกว่าการกระจุกตัว (Centralization) โดยจะไม่มีใครคนใดเติบโตเพียงคนเดียวเท่านั้น เเต่ต้องเกิดจาการร่วมมือกัน ทั้งในส่วนของรัฐบาล เอกชน และสังคม ไปในทิศทางเดียวกันเเละเติมเต็มกันทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจที่พร้อมสำหรับอนาคต

ทั้งนี้ การที่โลกจะมีเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ หรือ เศรษฐกิจที่พร้อมรับกับอนาคต (Future-ready Economy) จะต้องอาศัย การร่วมมือกัน ในการปรับเปลี่ยนบทบาทหรือหน้าที่ของตนเองให้เข้ากันอย่างดี ของทั้ง 3 เสาหลัก ได้เเก่

1. ภาครัฐ : จะต้องเปลี่ยนจากผู้ที่กำหนดหรือออกกฎหมาย มาเป็นผู้ที่สร้างระบบสิ่งเเวดล้อม (Built Ecosystem) ที่จะเอื้อให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคเอกชน เเละพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม

2. ภาคเอกชน : โดยปกติเเล้วภาคเอกชนจะดำเนินธุรกิจโดยมองมิติของ Profit เท่านั้น เเต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนธุรกิจของตัวเอง ให้หันมาสนใจ People และ Planet ด้วย ร่วมกับการจับมือกันของภาคเอกชน รัฐบาลเเละประชาชน ในการออกเเบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

3. ภาคประชาชน : การออกเสียงและเเสดงความคิดเห็นของประชาชนออกสู่สังคม มีบทบาทสำคัญมากในการกำหนดทิศทางของระบบเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งภาครัฐเเละเอกชน

การเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจปัจจุบัน ไปยังเศรษฐกิจเเบบ Future-ready จะเกิดขึ้นได้จากการร่วมมือกันของทั้ง 3 ภาคส่วน ที่ต้องทำความเข้าใจบทบาทซึ่งกันเเละกัน โดยการสร้าง “คุณค่าร่วม” (Shared Value) ว่าเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งเเวดล้อมแบบไหนที่จะส่งผลดีต่อ Future-ready Economy หรือเข้าใจโครงสร้างระบบเศรษฐกิจในมิติของความยั่งยืนโดยมองผ่าน Profit, People และ Planet เพื่อรับมือกับวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและโอบกอดโอกาสที่จะเข้ามาไว้ได้

“ในฐานะที่ทุกคนล้วนมีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ดังนั้นเเล้วหัวใจสำคัญของการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต คือการมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งเเวดล้อม และความสามารถของมนุษย์ ซึ่งทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาชนเอง ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ให้ไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งเเละยั่งยืน โดยเศรษฐกิจในอนาคตจะยั่งยืนได้ต้องมี Future-ready Economy” 

Stay Connected
Latest News