สร้างเด็กมีทักษะคิดแบบ EF ที่คุม IQ & EQ

ฝึกฝนให้ทำหน้าที่ได้ดีในช่วงอายุ 0-6 ปี ฝึก EF (Executive Functions )ใช้สมองส่วนหน้า ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับผู้อื่นเป็น และมีความสุขเป็น

อีเอฟไม่ใช่ทักษะที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จนก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างค่อนข้างถาวรอยู่ในสมอง และทำให้เส้นใยประสาทแตกขยาย จนกลายเป็น “วิธีคิด” ที่เป็นแบบแผนของแต่ละบุคคลไปตลอดชีวิต ซึ่งช่วงอายุที่สำคัญที่สุดของการปูพื้นฐานให้แก่เยาวชนไทยคือ 3-6 ปี และด้วยคุณสมบัติของสมองที่มีความยืดหยุ่น จะทำให้เราสามารถพัฒนาทักษะอีเอฟไปได้จนถึงช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น ดังนั้นการเสริมสร้างพื้นฐานที่ดีตั้งแต่แรกเริ่ม จะมีส่วนช่วยสนับสนุนด้านการเรียนรู้ของเยาวชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คิดเป็น ทำเป็น หล่อหลอมพฤติกรรมให้ดีอย่างรอบด้าน และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ข้องเกี่ยวกับอบายมุข สิ่งเร้า และสารเสพติดต่าง ๆ รอบตัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนา EF ในเด็กนั้นมีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับศาสตร์ด้านประสาทวิทยาเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของสมองระดับสูง โดยเฉพาะการทำงานของสมองส่วนหน้า โดย EF นั้นมีทักษะที่เป็นองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ กลุ่มทักษะพื้นฐาน กลุ่มทักษะปฏิบัติ และกลุ่มทักษะกำกับตนเอง ที่จำแนกออกมาเป็น 9 ทักษะย่อย

แนวความรู้นี้เกิดจากการประชุมวิชาการ EF Symposium 2017 เรื่อง  สมองเด็กไทย รากฐานทุนมนุษย์เพื่ออนาคตประเทศไทย โดย โครงการดาว-อีเอฟ พัฒนาเยาวชนสู่ความสำเร็จ เพื่อระยองผาสุก  เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องที่ริเริ่มโดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และ 19 หน่วยงานในจังหวัดระยอง ประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน ครู อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บุคลากรทางด้านสาธารณสุข ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และแกนนำจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2559 เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการดูแลเด็กปฐมวัยในจังหวัดระยองด้วยองค์ความรู้ Executive Functions (EF) หรือทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จจากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นานาชาติด้านประสาทวิทยา จิตวิทยา และการศึกษา

พบว่าการพัฒนาศักยภาพของเด็กให้เป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์โลกยุคใหม่ให้ได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนาจากรากฐานความเข้าใจต่อธรรมชาติและการทำงานของสมองเป็นสำคัญ ประเด็นดังกล่าวเป็นหัวข้อที่นักวิชาการได้นำมาเสวนากัน

ภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยกล่าวในท้ายที่สุดว่า กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะ EF ในเด็ก ผ่านการสร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ทีมงานคณะยุทธศาสตร์แผนพัฒนาบ้านฉาง สถาบันรักลูก ผู้นำชุมชน ครู อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และแกนนำจากภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึง “ทีมแกนนำวัคซีนชีวิต” เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ทักษะ EF แบ่งปันประสบการณ์ มีการขยายผลและติดตามอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการนำทักษะความรู้เฉพาะทางและเทคนิคที่แต่ละคนมีนำมาใช้ ล้วนเป็นแรงขับเคลื่อนให้โครงการประสบความสำเร็จ

Stay Connected
Latest News

สิงห์ เอสเตท สานต่อโครงการ “ปลูกป่าด้วยปลายนิ้ว” ปีที่ 3 เดินหน้าปลูกป่า 1 ล้าน ตร.ม. สร้างพื้นที่สีเขียว มุ่งสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนครบวงจร ตามปรัชญา “Go Beyond Dreams”