DBS ชูนโยบาย Climate Action แต่ยังเป็นแหล่งเงินทุนโครงการถ่านหินในประเทศกำลังพัฒนา !

DBS  ยึดมั่นสโลแกนโฆษณาที่ว่า  Living,Breathing Asia ยังคงสนับสนุนด้านการเงินให้กับพลังงานถ่านหินในประเทศกำลังพัฒนา เช่น เวียดนามและอินโดนีเซีย แต่ไม่หนุนประเทศพัฒนาแล้ว

ธนาคารแห่งสิงคโปร์ได้ให้คำปฏิญาณที่จะเลิกเป็นแหล่งเงินทุนให้กับโครงการพลังงานถ่านหินเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วเท่านั้น ด้าน NGO ได้กล่าวถึงนโยบายและความพยายามในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศว่านโยบายนี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ

ธนาคาร DBS เป็นธนาคารขนาดใหญ่แห่งแรกในภูมิภาค ได้ประกาศนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน โดยนโยบายใหม่ได้รับการตีพิมพ์ในวันเดียวกันกับการออกแถลงการณ์ของสิงคโปร์ว่าปี 2018 เป็นปีแห่ง Climate Action โดยได้รวมคำปฏิญาณทั้งหมด 4 ข้อเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้รับการเปิดเผยจาก Eco-Business ได้แก่ ข้อผูกมัดเพื่อลด Carbon Footprint สิ่งแวดล้อมธนาคาร การสนับสนุนด้านการเงินที่ยั่งยืน และการให้กู้ยืมอย่างมีความรับผิดชอบ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ ในข้อปฏิญาณที่เกี่ยวกับการกู้ยืมอย่างมีความรับผิดชอบ ทางธนาคารจะระงับการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินใหม่ๆในประเทศที่ขึ้นกับองค์กรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย

การเผาถ่านหิน เป็นตัวหนุนสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีอิทธิพลในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะส่งผลกระทบที่เจ็บปวดต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าภูมิภาคอื่นๆ

แต่ถ่านหินยังถือเป็นแหล่งพลังงานที่มีบทบาทเด่นต่อเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของภูมิภาค
แม้ว่าพลังงานทดแทนได้ถูกอ้างว่าเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้ก็ตาม

ทางธนาคารได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายไปเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับโครงการถ่านหินในประเทศกำลังพัฒนา และจะหยุดการจัดหาแหล่งทุนให้กับเหมืองแร่ถ่านหินใหม่ๆ ทั้งนี้ คำปฏิญาณของ DBS นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อโครงการถ่านหินที่ทางธนาคารเป็นแหล่งเงินทุนอยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด และทางธนาคารคิดว่า คงไม่เป็นไรที่ประเทศมั่งคั่งจะเพลินเพลิดกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของพลังงานทดแทน ในขณะที่ประเทศยากจนยังคงมีอากาศเป็นพิษอยู่

DBS ในฐานะที่เป็นธนาคารแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย มุ่งมั่นที่จะจัดหาพลังงานทั้งหมดจากแหล่งพลังงานทดแทนในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกในภูมิภาคที่เปิดตัวนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ  โดยธนาคารได้ดำเนินนโยบายใน 3 สัปดาห์ภายหลังจากผลรายงานของ Green Group Market Force ชี้ให้เห็นว่าธนาคารยังคงดำเนินการสนับสนุนด้านเงินทุนให้กับโครงการถ่านหินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่องในปีที่ทางรัฐบาลสิงคโปร์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งธนาคาร DBS เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ได้ประกาศตัวว่าเป็นปีแห่ง Climate Action

ตามรายงานของ Market Forces แสดงให้เห็นว่า DBS มีส่วนเกี่ยวข้องในข้อตกลงถ่านหิน 12 ประการ รวมมูลค่า 885 ล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ปี 2012 และปัจจุบันยังเป็นกองทุนร่วมให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาด 1,200 เมกาวัตต์ในเวียดนามจำนวน 4 โรง และเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินให้กับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในอินโดนีเซียจำนวน 3 โรง

นโยบายของ DBS มีความคล้ายคลึงกับนโยบายของธนาคาร HSBC สำนักงานใหญ่ ในลอนดอนเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว โดยยักษ์ใหญ่ด้านธนาคารระหว่างประเทศได้ดำเนินการโครงการทางการเงินที่ยั่งยืนจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมคำปฏิญาณ 4 ข้อ เพื่อที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงข้อผูกมัดในการระงับการเป็นแหล่งเงินทุนถ่านหินในประเทศพัฒนาแล้ว โดยนโยบายของ DBS สัญญาที่จะนำเสนอกองทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาล (ESG) รวมถึงการสนับสนุนพฤติกรรมสีเขียวของผู้บริโภค ผ่านผลิตภัณฑ์ของธนาคาร

นโยบายของ DBS เป็นคำแถลงการณ์จากผู้บริหารระดับสูง Piyush Gupta ที่กล่าวว่า ธนาคารยอมรับบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่มีคาร์บอนปริมาณต่ำ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน และเราพยายามที่จะทำหน้าที่เพื่อสร้างความมั่นใจต่ออนาคตพลังงานสะอาด และนี่ทำให้เราได้กล่าวปฏิญาณเพื่อสนับสนุนปีแห่ง Climate Action ของสิงคโปร์ ซึ่งผมเชื่อว่า Commitment ของเราจะเกิดผลลัพธ์ที่ส่งผลกระทบที่สำคัญในปีที่จะถึงนี้” 

อย่างไรก็ดี Julien Vincent, Executive Director, Market Forcesได้กล่าวในนิตยสาร Eco-Business ถึงนโยบายธนาคารที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมถ่านหินว่า

นโยบายนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย โดยในปัจจุบันนี้ DBS มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการการธนาคารเพื่อโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่ก่อมลพิษใหม่ๆ และนโยบายต่างๆ นั้นไม่สามารถถอนตัวได้ และแน่นอนว่านี่เป็นสิ่งสำคัญที่ธนาคารจะเริ่มพูดคุยกันถึงประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการเงินที่เกี่ยวข้องกับถ่านหินให้มากขึ้นและ DBS จะเป็นธนาคารแรกที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วมีการกล่าวถากถางดูถูกว่า DBS กำลังแสดงละครอยู่ แต่ในส่วนการนำมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติคือไม่มีอะไรจำเป็นต้องเปลี่ยน

เขาได้ชี้ให้เห็นว่านโยบายของ DBS นั้นไม่ได้นับรวมโรงไฟฟ้าถ่านหินในกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งธนาคารไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับส่วนนี้แต่อย่างใด แม้ว่ายังคงเปิดประตูให้เกิดมลพิษของถ่านหินในประเทศกำลังพัฒนา

 เขากล่าวเสริมถึงนโยบายของ DBS ว่า นโยบายนี้จะได้รับการทดสอบในอีก 2 เดือนข้างหน้านี้ ตามที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน Nghi Son 2 ในเวียดนามพยายามเข้าถึงการปิดทางการเงิน หาก DBS ออกเงินทุนให้กับโรงไฟฟ้าขนาด 1,200 เมกาวัตต์ ก็จะสื่อให้เห็นได้ชัดเจนว่า นโยบายสภาพภูมิอากาศของธนาคารที่ให้เงินทุนกับโครงการพลังงานฟอสซิลมานานก็คงหมายถึงการทำธุรกิจเช่นเดิมนั่นเอง

เพื่อเป็นการตอบสนองที่ชัดเจนกับข้อกังขาต่างๆ ทางหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืนของธนาคาร Mikkel Larson ได้ยกข้อมูลของสำนักพลังงานระหว่างประเทศที่แสดงว่าในขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังดำเนินการเพื่อพลังงานที่มีคาร์บอนต่ำ แต่ถ่านหินยังได้รับการพิจารณาให้ใช้ในปริมาณ 40 เปอร์เซ็นต์สำหรับการผสมพลังงานของภูมิภาคภายในปี 2040

 “เพื่อนบ้านที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาหลายๆ ประเทศ ต้องอาศัยถ่านหินเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานพลังงานเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงระบบทางการเงินมีความรับผิดชอบ  หากมีการรับประกันการเปลี่ยนแปลงไปใช้พลังงานทดแทนนั้นจะยั่งยืน ทางธนาคารจะระงับการสนับสนุนทางการเงินให้กับเหมืองถ่านหินใหม่ๆ และจะสนับสนุนเฉพาะลูกค้าที่มีกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงเท่านั้น

การจัดหาแหล่งทุนของโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินนั้น ควรถูกจำกัดเฉพาะประเทศที่มีรายได้น้อยโดยไม่มีทางเลือกอื่น ทั้งยังต้องได้รับการประเมินจากบุคคลที่สามที่เป็นอิสระดีที่สุดของกลุ่มนี้

DBS ดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีตามรายงานความยั่งยืนของธนาคารในอาเซียนโดย World Wide Fund for Nature หรือ WWF ในเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา แต่ถูกจัดให้เป็นธนาคารที่การดำเนินงานดีที่สุดในกลุ่มที่มีการดำเนินงานแย่

ผู้เขียนรายงานชื่อ Jean Stampe หัวหน้าฝ่าย Asia sustainable and commodities แห่ง WWF ได้กล่าวกับ Eco-Business ว่า เพื่อให้การนำพลังงานยั่งยืนมาใช้ในภูมิภาคสามารถเกิดขึ้นได้จริงนั้น ธนาคารอย่าง DBS มีความรับผิดชอบในการให้ความมั่นใจว่านโยบายต่างๆส่งเสริมการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา

การเปิดเผยทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ หมายถึงว่า ธนาคารจะรายงานทางการเงินสำหรับกลุ่มพลังงานและกำหนดเป้าหมายว่ามันจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งนี้ ลูกค้ากลุ่มพลังงานจะต้องกำหนดเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม การจัดหาแหล่งทุนของโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินนั้น ควรถูกจำกัดเฉพาะประเทศที่มีรายได้น้อยโดยไม่มีทางเลือกอื่น และต้องได้รับการประเมินจากบุคคลที่สามที่เป็นอิสระ ซึ่งนโยบายลักษณะนี้ควรมีการค้ำประกันและการให้กู้ยืมขององค์กร นอกเหนือจากการจัดหาเงินทุนโครงการ

ที่มา

eco-business.com

Stay Connected
Latest News