การกลับมาของมหาเธร์ : ดีต่อการพัฒนามาเลเซียอย่างยั่งยืนหรือไม่?

ภาพข้างต้น เป็นภาพทางอากาศของสวนปาล์มน้ำมันในประเทศมาเลเซีย อุตสาหกรรมนี้มักถูกกล่าวหาว่าเป็นเพราะการตัดไม้ทำลายป่าที่ผิดกฎหมายซึ่งคิดเป็นร้อยละ 18 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

คนทั้งโลกต่างช็อกกันเป็นแถว เมื่ออดีตนายกรัฐมนตรีวัย 92 ปี ชนะการเลือกตั้งประเด็นการกลับคืนสู่อำนาจ มีความหมายต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ตัน ศรี ดร.มหาเธร์ มูฮัมหมัด ได้ทวงคืนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซียที่เขาเคยดำรงมาเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ หลังจากการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โดยพรรค Pakatan Harapan สามารถยุติบทบาทการปกครองของนาจิบ ราซัค ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลที่ทุจริตและปกครองไม่เป็นธรรม

แต่การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นอย่างไร?
การกลับมาของมหาเธร์ครั้งนี้ จะหมายถึงการสร้างพื้นที่สีเขียวให้มาเลเซียเพิ่มขึ้น หรือตรงกันข้าม?

จากการบันทึกด้านการพัฒนาทียั่งยืนของมหาเธร์นั้น อาจไม่ได้มีเหตุผลมากมายที่จะทำให้นักสิ่งแวดล้อมเทใจให้ได้ นับตั้งแต่ภายใต้การบริหารของเขาตั้งแต่ปี ค.ศ.1981–ค.ศ.2003 พบว่ามาเลเซียสูญเสียพื้นที่ป่าประมาณ 5 ล้านเอเคอร์หรือประมาณ 69 เท่าของขนาดประเทศสิงคโปร์

ในเวลานั้นมหาเธร์ เคยตอบจดหมายถึงเด็กชายชาวอังกฤษวัย 10 ขวบเมื่อปี 1987 แสดงให้เห็นถึงจุดยืนที่มีต่อการตัดไม้ทำลายป่าโดยได้กล่าวไว้ว่า

“การตัดไม้ในมาเลเซีย ที่เป็นผลมาจากการขายไม้ซุงนั้น เป็นเรื่องที่น่าละอายเป็นอย่างมากหรืออย่างไร?”

เขายังชี้ให้เห็นถึงสมัยที่มาเลเซียถูกปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษว่า พื้นที่ป่ากว่าล้านเอเคอร์ถูกเผาเพื่อนำมาทำสวนยาง และอุตสาหกรรมไม้ซุงนี้ยังมีส่วนช่วยให้คนจนกว่าหมื่นชีวิตในมาเลเซียมีชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ดังนั้น หนูคิดว่าพวกเขาควรกลับไปจน เพียงเพราะหนูอยากศึกษาด้านสัตว์ป่าเขตร้อนชื้นเท่านั้นหรือ?”

นอกจากนี้ ในจดหมายยังได้ระบุถึงอุทยานแห่งชาติมาเลเซีย ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้และสัตว์ต่างๆ ซึ่งไม่อนุญาตให้มีการตัดไม้และฆ่าสัตว์ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

“ทุกครั้งที่เราเข้าป่าเพื่อตัดไม้ เราก็จะตัดเฉพาะต้นที่มีอายุสมควรแก่การตัดเท่านั้น ขณะเดียวกัน เรายังปลูกต้นไม้ทดแทนไปด้วย”

นับจากนั้นเป็นต้นมา มาเลเซียล้มเหลวในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับว่าด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้บริษัทไม้ซุงในรัฐซาราวัคไม่ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามการตัดไม้อย่างผิดกฎหมายและยังคงรุกล้ำโค่นต้นไม้ในพื้นที่ป่าสงวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังทำลายระบบความหลากหลายทางชีวภาพของมาเลเซียกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ส่วนพรรคที่บริหารมาเลเซียก่อนหน้านี้ ได้ดำเนินการเฉพาะเมื่อถึงฤดูที่เมฆหมอกควันลอยผ่านไปยังคาบสมุทรมาเลเซียเท่านั้น

พลังงานทดแทนถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความกังวลให้กับมหาเธร์ เมื่อมาเลเซียถือว่าเป็นประเทศที่มีตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่เป็นอันดับสามในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่แทบจะไม่ได้ยินชื่อเสียงด้านนี้เลย กอปรกับ Assaad Razzouk หัวหน้าฝ่ายบริหารด้านพลังงานสะอาดแห่งบริษัท Sindicatum Sustainable Resource ได้ชี้ให้เห็นจำนวนการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในมาเลเซียลดลงในปีที่ผ่านมา นี่เป็นเพราะส่วนหนึ่งของการสิ้นสุดของอัตราค่า FIT ที่อนุญาตให้เจ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขายพลังงานของพวกเขากลับคืนสู่ระบบไฟฟ้า

คุณหมอสั่งอะไร

นโยบายการปกป้องสิ่งแวดล้อม อาจจะเกิดขึ้นมาจากภูมิหลังทางการแพทย์ของ มหาเธร์ กล่าวคือ มลภาวะทางอากาศสามารถลดลงได้จากการควบคุมสภาพจราจรและการลงทุนระบบขนส่งมวลชน แต่เพราะว่าเขามองเห็นอนาคตของรถ Proton ซึ่งถือเป็นรถยนต์ยี่ห้อแรกที่ผลิตโดยบริษัทท้องถิ่นมาเลเซียที่มีราคาไม่แพง

ดังนั้น อากาศบริสุทธิ์ในเมืองต่างๆ ของมาเลเซียจึงอาจจะเป็นเพียงแค่ความฝันว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 45% ภายในปี 2030 หลังจากได้มีข้อตกลงด้านสภาพอากาศแห่งกรุงปารีสเมื่อปี 2015 แล้วมหาเธร์จะยังคงรักษาคำมั่นนี้ไว้หรือไม่?

ในทางกลับกัน นาจิบมีความมุ่งมั่นที่จะลดปริมาณคาร์บอนด้วยการล็อคคาร์บอนไว้ในพื้นที่ป่าฝนของประเทศจำนวน 20.3 ล้านเอเคอร์ ซึ่งสามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 31% ของคาร์บอนทั้งประเทศ

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม Datuk Derri Dr. James Dawos Mamit กล่าวว่า “การลดความเข้มของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามเป้า 40% นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เราสามารถบรรลุเป้าหมายได้ หรือเราอาจจะทำสำเร็จแล้วก็ได้จากการดูดซับของต้นไม้ที่มีอยู่ในประเทศของเรา”

ตามการรายงานของคณะกรรมการน้ำมันปาล์มแห่งชาติมาเลเซีย (MPOC) รายงานว่า อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่ของมาเลเซียสามารถช่วยลดปริมาณคาร์บอนได้ โดยพื้นที่กว่า 5 ล้านเอเคอร์ปกคลุมไปด้วยสวนปาล์มทีเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ และแม้ว่านักสิ่งแวดล้อมอาจไม่ยอมรับการปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นจากการผลิตน้ำมันปาล์ม แต่การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์มนั้น ยังเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สำคัญ

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่ามหาเธร์จะเคารพคำปฏิญาณ ในการให้ความสำคัญกับการปลูกต้นไม้ทดแทน และสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ให้คำปฏิญาณไว้หรือไม่

การเลือกตั้งครั้งนี้ อาจจะเป็นลางดีสำหรับการบังคับใช้กฎหมายในมาเลเซียก็เป็นไปได้ โดยหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการปกป้องสิ่งแวดล้อม จะดำเนินการออกนโยบายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม หวังว่ารัฐบาลชุดใหม่ของมหาเธร์จะทำหน้าที่ในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศด้วยเช่นกัน และเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เรามองโลกในแง่ดีต่อมหาเธร์ก็คือการได้เห็น Jomo Kwame Sundaram นักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจด้านสิ่งแวดล้อมและผู้เขียนหนังสือเรื่อง Deforesting Malaysia: The political economy and social ecology of agricultural expansion and commercial logging (การทำลายป่าในมาเลเซีย: เศรษฐศาสตร์การเมืองและนิเวศวิทยาสังคมของการขยายเกษตรกรรมและการตัดป่าเชิงพาณิชย์) เป็นส่วนหนึ่งของทีมปรึกษาของมหาเธร์ก่อนที่เขาจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม คนมาเลเซียส่วนใหญ่ที่เลือกพรรค Pakatan มีแรงผลักดันมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและการทุจริตที่เกิดจากรัฐบาลก่อนหน้านี้เป็นหลัก ไม่ได้เลือกเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม แล้วใครละที่เป็นผู้รับผิดชอบในการให้ความสำคัญด้านความยั่งยืน? แม้ว่าประชาธิปไตยจะมีชัยชนะ แต่ความยั่งยืนก็อาจจะถูกกลืนไปกับประเด็นทางการเมืองก็เป็นไปได้

ที่มา

 

 

Stay Connected
Latest News