เบื้องหลังอาหารถูกทิ้งเป็น “ขยะ” ทั้งที่ยังกินได้

อาหารยังกินได้ แต่ถูกทิ้งเป็น “ขยะ” จากบ้าน 13,000 ล้านปอนด์ จากธุรกิจบริการกว่า 3 พันล้านปอนด์ เป็นปัญหาใหญ่ในสหราชอาณาจักร Tesco คลายความกังวลกับฉลากที่ระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (Best Before Dates) ของสินค้าประเภทผักและผลไม้กว่า 70 รายการเพื่อลดขยะอาหาร

จากนี้ไป ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องดูฉลากวันหมดอายุบนสินค้าประเภทผักและผลไม้แบรนด์ Tesco อีกต่อไป เพื่อหวังเป็นการป้องกันการทิ้งอาหารโดยเสียเปล่าทั้งๆ ที่ยังสามารถกินได้

การเคลื่อนไหวครั้งนี้ดำเนินไปตามแคมเปญที่นำโดยสภาสตรีแห่งชาติ (NFWI) เพื่อหาสาเหตุของขยะอาหาร ซึ่งพบว่าจำนวนคนน้อยกว่าครึ่ง ที่เข้าใจความหมายของฉลากที่ระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (Best Before Dates) โดยผลการสำรวจผู้บริโภคกว่า 70% ระบุว่า ความหมายของการบังคับใช้ฉลากที่จำเป็นต้องติดไว้บนสินค้าประเภทอาหารนั้น ก็เพื่อความปลอดภัยจากความเสี่ยง หากรับประทานอาหารนั้นในวันที่ระบุบนฉลาก ซึ่งรวมถึงเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม แต่ไม่รวมผักและผลไม้ที่มีเพียงฉลากระบุวันที่ควรบริโภคก่อนเท่านั้น

ทั้งนี้ การติดฉลากระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (Best Before Dates) บนผลิตภัณฑ์อาหารโดยห้างค้าปลีกนั้น เป็นเพียงตัวบ่งชี้คุณภาพที่แสดงให้เห็นว่า แม้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด แต่มันก็ยังคงกินได้

“ขยะอาหาร” ถือเป็นปัญหาใหญ่ในสหราชอาณาจักร ที่รวมอาหารที่ยังสามารถกินได้ โดยถูกทิ้งจากบ้านเรือนโดยคิดเป็นจำนวนเงินกว่า 13,000 ล้านปอนด์ในทุกๆ ปี ตามการรายงานของ Wrap ที่ปรึกษารัฐบาลด้านขยะ และกว่า 3 พันล้านปอนด์ของปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งเป็นขยะมาจากภาคธุรกิจบริการ

Mark Little หัวหน้าฝ่ายขยะอาหารของ Tesco ได้กล่าวไว้ว่า

“เรารู้ว่าผู้บริโภคบางคนยังสับสนระหว่างฉลากที่ระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (Best Before Dates) และ วันหมดอายุ (Use by Dates) ที่ระบุบนอาหาร และนั่นเป็นสาเหตุให้อาหารที่ยังสามารถกินได้ถูกทิ้งเป็นขยะก่อนวันหมดอายุอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม เราได้ทำการเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะกับบรรจุภัณฑ์ผักและผลไม้เนื่องจากเป็นอาหารที่ถูกทิ้งเยอะที่สุด”

ด้าน the Food Standard Agency อธิบายถึง ฉลากระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (Best Before Dates) นั้นเป็นเพียงการแสดงคุณภาพอาหาร ไม่ใช่เรื่องของความปลอดภัย

Tesco เป็นผู้ลงนามในสัญญา Courtauld 2025 ซึ่งเป็นข้อตกลงโดยสมัครใจขององค์กรชั้นนำหลายแห่งที่มุ่งเป้าเพื่อตอบสนองเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติในการลดขยะมูลฝอยภายในปี ค.ศ. 2030

David Moon หัวหน้าฝ่ายความร่วมมือทางธุรกิจแห่ง Wrap อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น “การเปลี่ยนแปลงของ Tesco ครั้งนี้เปิดโอกาสดีๆ ในการเรียนรู้การตอบสนองของผู้บริโภคและหวังว่า Tesco จะแบ่งปันผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้” เขาเสริมว่า “ด้วยวิธีการผลิตอาหารสด การมีที่เก็บรักษาที่เหมาะสม เช่น ตู้เย็นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะมอบอาหารสดใหม่ที่มีอายุการใช้งานที่เหมาะสมแก่ผู้บริโภค ดังนั้นความชัดเจนของคำแนะนำในการจัดเก็บรักษาแพ็คอาหารจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก”

Lynne Stubbings ประธานสภาสตรีแห่งชาติ (NFWI) กล่าวว่า “สมาชิกขององค์กรมุ่งมั่นที่จะทำให้สหราชอาณาจักรเป็นผู้นำด้านการรับมือกับขยะอาหาร และเราขอแสดงความยินดีกับ Tesco ในการออกมาพูดถึงก้าวที่สำคัญนี้และยังเป็นการกระตุ้นห้างค้าปลีกอื่นๆให้ทำตามอีกด้วย”

ท้ายที่สุด Co-op ได้ออกมากล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “ผลิตภัณฑ์อาหารสดมักขายหมดด้วยวิธี Last Minute Sales เพื่อลดปริมาณอาหารที่ยังกินได้ไปเป็นขยะอาหารในทุกๆวัน”

ที่มา

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม