Green Bonds เพื่อโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติ ไม่ใช่โครงการสีเขียวย้อมแมว

มาตรฐานตราสารหนี้สีเขียวใหม่ (Green Bonds) ช่วยให้โครงการน้ำที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำจากธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ฟาร์ม และแม่น้ำ ได้รับการรับรองที่สำคัญสำหรับอนาคตของน้ำ

ต้นเรื่อง เขื่อน Kariba ของแอฟริกาตะวันออกเกือบจะแห้งขอดเนื่องจากฝนแล้งและ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเซาเปาโลในบราซิลก็ลดลงและแห้งขอดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เมืองต่างๆ กำลังจะประสบปัญหากับภาวะแห้งแล้งอีกครั้ง และมหันตอุทกภัยก็เพิ่งจะ สร้างความเสียหายให้กับทางตอนใต้ของอังกฤษ รัฐเทกซัส รวมถึงกรุงเทพมหานคร

จากเหตุการณ์ข้างต้น แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของระบบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานน้ำ ซึ่งความล้มเหลวนี้กลับเพิ่มมากขึ้น และรุนแรงขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก

ดังนั้น จึงเกิดกลไกด้านการเงินใหม่ที่เรียกว่าตราสารหนี้สีเขียว หรือ Green Bonds ที่จ่ายสำหรับการใช้ระบบนิเวศเป็น “โครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติ” เพื่อช่วยให้มีน้ำสะอาดและเพียงพอ

Green Bonds สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติ 

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โครงสร้างพื้นฐานน้ำนั้นมีเพียงเขื่อน ท่อส่งน้ำ และโรงบำบัดน้ำ ซึ่งก็ถูกครึ่งหนึ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้วโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติเช่น ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ฟาร์ม แม่น้ำ และพื้นที่ชุ่มน้ำ ก็เป็นแหล่งที่สามารถตอบสนองต่ออุปทานและความท้าทายด้านคุณภาพ ซึ่งมีคุณสมบัติในการการกรองน้ำ สกัดกั้นน้ำท่วมและควบคุมการไหลของน้ำได้

ดังนั้น การรวมโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้น และที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การฟื้นฟูป่ารอบๆ บริเวณโรงบำบัดน้ำ จึงเป็นการรวมประโยชน์ของระบบทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยวิธีผสมผสานเหล่านี้มักจะประหยัดค่าใช้จ่าย เพิ่มอายุการใช้งานของโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้น ปรับปรุงการคืนสภาพของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และสร้างประโยชน์ร่วมกัน เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ลดลง เกิดสันทนาการ สร้างอาชีพในชุมชน และการปกป้องที่อยู่อาศัย เป็นต้น

โครงการโครงสร้างพื้นฐานน้ำ มักจะได้รับการจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งอนุญาตให้เมือง และสาธารณูปโภคได้จ่ายเงินคืนสู่นักลงทุนได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ตราสารหนี้ ได้เคยละเลยโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติในอดีตเพื่อสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิม แม้ “ตราสารหนี้สีเขียว” หรือ Green Bonds ที่สนับสนุนทางการเงินโดยตรงให้กับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะยังเพิกเฉยศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติ มีเปอร์เซ็นต์จากการลงทุนด้านน้ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ได้รับการบรรจุเข้าไป

ในโครงการสีเขียวที่ได้รับการรับรอง ซึ่งปัจจุบันนี้เรากำลังทุ่มทุนไปกับคอนกรีต ก้อนหินและเหล็ก ทั้งๆ ที่ระบบนิเวศนั้นสามารถส่งมอบความยืดหยุ่นสำหรับอนาคตได้มากกว่า นอกจากนี้ มาตรฐานใหม่ด้านโครงสร้างพื้นฐานน้ำของ the Climate Bonds Initiative เป็นตัวริเริ่มให้เกิดโครงการน้ำ ได้แก่ โครงการที่ใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติทีจะได้รับการรับรองให้เป็น Green Bonds ที่เป็นตัวกำหนดวิธีการสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานผสมและโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติ เพื่อดึงการลงทุนที่พวกเขาต้องการเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายด้านน้ำที่เพิ่มขึ้น

การเพิ่มส่วนแบ่งของน้ำในตลาดตราสารหนี้สีเขียว

มาตรฐานสำหรับโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาติสร้างขึ้นมาในระยะแรกของมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำของ CBI ถูกเปิดตัวในปี ค.ศ. 2016 และเน้นเรื่องสิ่งก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือ “โครงสร้างพื้นฐานสีเทา” สำหรับน้ำ โดยในระยะแรกนี้ได้กำกับงบประมาณกว่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำที่มีสภาพภูมิอากาศที่ชาญฉลาด ตัวอย่างเช่น คณะกรรมาธิการสาธารณูปโภคเมืองซานฟรานซิสโกได้ออกตราสารหนี้สีเขียว 4 ฉบับในปี ค.ศ. 2016-2017 เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้กับโครงการน้ำจากพายุและโครงการน้ำเสียที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ เมือง Cape Town ในประเทศแอฟริกาใต้ ได้ออกตราสารหนี้สีเขียวในปี ค.ศ. 2017 เพื่อพัฒนาอ่างเก็บน้ำ บำบัดน้ำเน่าเสียให้มีคุณภาพทัดเทียมน้ำดื่มและปรับเปลี่ยนท่อระบายน้ำและปั้มน้ำให้ดีขึ้น ในขณะที่มุ่งเน้นไปที่ Grey System แบบดั้งเดิม โครงการเหล่านี้ยังพิจารณาการปล่อยมลพิษและความยืดหยุ่นทางสภาพอากาศอีกด้วย

ส่วนระยะต่อมา เน้นออก Green Bonds สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำแบบผสมและตามธรรมชาติ เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำและบริเวณลุ่มน้ำ ป่าไม้ ฟาร์มปศุสัตว์และระบบเกษตรกรรมที่ส่งเสริมการกักเก็บน้ำ การเก็บรักษาน้ำและการบำบัดน้ำ ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดน้ำท่วม และเพิ่มความยืดหยุ่นของสภาวะแห้งแล้ง Green Bonds เหล่านี้ จะแบ่งสรรให้กับโครงการที่ใช้ป่าไม้เป็นเครื่องมือในการกรองน้ำที่สำคัญ หรือการมีส่วนร่วมกับโรงบำบัดน้ำโรงใหม่เพื่อดึงดูดนักลงทุน และที่สำคัญก็คือ ตราสารหนี้ของ CBI ได้รับการรับรอง หมายความว่า พวกเขาอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดด้านการลดอัตราการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และความรุนแรงของผลกระทบของสภาพอากาศ พร้อมทั้งผ่านการประเมินจากบุคคลที่สาม ฯลฯ

เกณฑ์ข้างต้น เป็นการให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนว่า พวกเขากำลังลงทุนกับโครงการสีเขียวอย่างแท้จริง ไม่ใช่โครงการสีเขียวย้อมแมว และยังเป็นการสร้างผลตอบแทนจากการพัฒนาโครงการด้านน้ำแบบ Pro-Ecosystem ดังนั้น นักลงทุนจึงอยากทราบว่า เงินทุนของพวกเขานั้นเป็นการลงทุนที่น่าเชื่อถือด้านความยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์น้ำของโลกที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความต้องการการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ชัดเจน ซึ่งการลงทุนนั้น ควรเป็นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานน้ำของอนาคตมากกว่าการทำผิดพลาดซ้ำๆ เหมือนในอดีต โครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานทางธรรมชาตินั้น จะคงอยู่ได้นานกว่า และสามารถเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ที่มา

ภาพ

  • Herbert Aust, CC0 1.0

Stay Connected
Latest News