อนาคต ”ความยั่งยืนยุคใหม่” มีมูลค่า 12 ล้านล้านเหรียญ

จากรายงานล่าสุดของ The Innovation Group ซึ่งทำการสำรวจกระแสความต้องการในเรื่อง “ ความยั่งยืน” ที่เพิ่มขึ้น พบว่า “ความยั่งยืนใหม่คือการปฏิรูป” โดยอนาคตของความยั่งยืนคือการสร้างการปฏิรูป ด้วย 3 R คือ Regeneration (การฟื้นฟู) , Replenishing (การเสริมสร้าง)และ Restoring (การเรียกคืน) ในสิ่งที่เราสูญเสียไปและต้องเสริมสร้างเศรษฐกิจและชุมชนให้เจริญเติบโต ในขณะเดียวกันก็ต้องประคับประคองให้โลกเจริญก้าวหน้าไปอีกด้วย

 

ที่มา : _ecover_house

ปี ค.ศ. 2018 ใน 4 ทวีปได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน ก่อให้เกิดไฟป่าในอาร์คติด เซอร์เคิล , การขาดแคลนน้ำในแอฟริกาใต้ ออสเตรเลียและอินเดีย และประเด็นร้อนที่เหล่านักวิทยาศาสตร์กำลังถกเถียงกันคือ “sixth mass extinction” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ป่า,นก ,แมลงและสัตว์ในทะเล ที่เริ่มจะมีน้อยลงไปเรื่อย ๆ โดยผลกระทบเหล่านี้ล้วนเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น

 

แม้ว่า 195 ประเทศได้ลงนามในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อปี ค.ศ. 2015 ในเรื่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีการใช้ทรัพยากรเกินขีดจำกัดอยู่ ขณะที่ทางฝั่งรัฐบาลพยายามที่จะรักษาข้อตกลงปารีสที่เปราะบางนี้ไว้ ส่วนภาคธุรกิจและแบรนด์สินค้ากลับเพิกเฉยกับอนาคตที่ยั่งยืน

 

Peter Diamandis ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิ XPrize กล่าวว่า “ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของโลกล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ของโลก” นั่นหมายถึงว่าสิ่งที่บางครั้งดูเหมือนจะเป็นภาระ แต่อาจกลายมาป็นโอกาสในสำคัญในการสร้างนวัตกรรมและรายได้

 

Lonali Rodrigo ดีไซเนอร์ตกแต่งภายใน ที่ทำแบรนด์เพื่อนความยั่งยืนประสบความสำเร็จ ที่มา : house-of-lonali-sustainable-fashion-in-sri-lanka

 

มีการประมาณการว่า เศรษฐกิจที่ยั่งยืนยุคใหม่นี้จะมีมูลค่ามากถึง 12 ล้านล้านเหรียญ และมีส่วนสร้างงานกว่า 380 ล้านตำแหน่ง ไม่แน่ว่าจะมีมูลค่ามากกว่าสินค้าด้วย และเศรษฐกิจที่ยั่งยืนใหม่นี้ยังสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยง ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย คือพนักงานไปจนถึงผู้บริโภค

 

โดยผู้บริโภคพร้อมที่จะเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดในเรื่องความยั่งยืน พวกเขาจะลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสร้างแรงกดดันให้กับสินค้าเพื่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น และผลักดันให้เกิดตัวเลือกที่มีความยั่งยืนมากขึ้น

 

OFO ธุรกิจบริการจักรยานสาธารณะ

 

เพื่อทำความเข้าใจกับทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละประเทศ คณะกรรมการ The Innovation Group ได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่กว่า 2,000 คนในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและจีน การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการโดย SONAR ™ ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ J. Walter Thompson

 

สรุปผลสำรวจสาระสำคัญดังนี้

• 92 % ของผู้บริโภคพยายามที่จะมีชีวิตอย่างยั่งยืนมากขึ้น แต่ 54% กลับคิดว่าพวกเขาน่าจะมีชีวิตอย่างยั่งยืนมากขึ้นกว่านี้ได้
• 92 % ของผู้บริโภคกล่าวว่าธุรกิจที่ยั่งยืนควรอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน
• 90 % ของผู้บริโภคกล่าวว่าองค์กรและสินค้า ควรมีความรับผิดชอบในการดูแลพนักงานและประชาชนมากขึ้น
• ร้อยละ 91 ของผู้บริโภคคิดว่าบริษัทและสินค้าที่ก่อมลพิษควรถูกปรับหรือลงโทษ
• ร้อยละ 86 ของผู้บริโภคเห็นพ้องกันว่าบริษัทและสินค้าที่ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดหมดไปกำลังขโมยอนาคตของมนุษย์

 

พรมผืนนี้ทอจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่มา : WEB_Composure_-_Pewter_Isolation__Composure_Edge

 

รายงานฉบับนี้ครอบคลุม 7 ภาคส่วนที่สำคัญ ได้แก่

Natural Wellbeing คือ ประโยชน์ของการอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ดีต่อสุขภาพร่างกาย อารมณ์ สภาพจิตใจที่ดีขึ้น สิ่งเหล่านี้ได้รับการยอมรับมากขึ้น การเชื่อมต่อกับธรรมชาติจะช่วยให้เรามีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้นและมีความสุขขึ้นหรือไม่
Climate-Positive Commerce คือ ร้านค้าปลีกที่มอบช่องทางที่สะดวกสบายสำหรับผู้บริโภคที่ตระหนักถึงการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
Good Business คือ เป็นโอกาสสำหรับสินค้าในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และขับเคลื่อนกระบวนการสร้างผลตอบแทน
Fashion CleansUp นับวันผู้บริโภคต้องการทราบในข้อเท็จจริงที่อยู่เบื้องหลังป้ายสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมแฟชันกำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและจรรยาบรรณ
Vegan Evangelism กลุ่มวีแกนเริ่มขยายวงกว้างมากขึ้น จากกลุ่มเล็กๆสู่กระแสหลัก นี่เราอยู่ในสมัยการปฏิวัติวีแกนใช่หรือไม่

 

ที่มา : https://www.jwtintelligence.com/2018/09/new-trend-report-the-new-sustainability-regeneration/

Stay Connected
Latest News