Update 5 เทรนด์อาหารแห่งปี 2019 แนวอาหารเพื่อความยั่งยืนมาแรง

ในงาน “Trend Watch Expo 2019” จัดโดย ยูนิลีเวอร์ ฟู้ดโซลูชั่นส์ ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของค่ายยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร ได้นำเอา 5 เทรนด์อาหารหลักของโลก ที่ได้จากการศึกษาและเจาะลึกพฤติกรรมลูกค้า สู่การพัฒนาเทรนด์เมนูต่างๆ เพื่อผู้ประกอบการนำใช้งานได้จริง รวมถึงบริหารร้านอาหารอย่างไรถึงอินเทรนด์ตลอดกาล 

TREND 1

Food Bowl เสน่ห์ในชาม

เทรนด์อาหารที่ตอบโจทย์ ความฉับไว และลดทอนพิธีรีตองในร้านอาหาร ที่คุ้นเคยกับการใช้จานสำหรับอาหารหลัก ซึ่งเทรนด์นี้ชูความโดดเด่นของอาหารตะวันออก อาทิ ก๋วยเตี๋ยว เฝอ โซบะ ราเมน Pork Bowl bibimbab Salad Bowl

กระแส Food Bowl แทรกซึมอยู่ในทุกพื้นที่ของโซเชียลมาตั้งแต่ปี 2016 หากลองค้นหาผ่านแฮชแท็ก #bowl ในอินสตาแกรมจะพบภาพเมนูนี้ถึง2.4 ล้านภาพ ล่าสุดเทรนด์ Food Bowl ถูกกระเพื่อมอีกครั้งในช่วงต้นปี 2018 เมื่อ Canape Bowl ถูกบรรจุและเสิร์ฟเป็นเมนูในพระราชพิธีเสกสมรสของเจ้าชายแฮร์รี่แห่งราชงวงศ์อังกฤษและเมแกน มาร์เคิล ถือเป็นการยกระดับ Food Bowlอย่างก้าวกระโดด

 

TREND 2

Local Table เรื่องเล่าท้องถิ่นบนโต๊ะอาหาร

 

การนำเอาวัตถุดิบจากท้องถิ่นมาประกอบอาหาร ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าได้ด้วยการใส่เรื่องราว หรือเอกลักษณ์ของวัตถุดิบเหล่านั้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตชุมชน และวัฒนธรรมของไทย

การใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมีจุดแข็งด้านอาหารจานสุขภาพและความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชน วัตถุดิบจากท้องถิ่นจะสดใหม่ มีสารอาหารที่ครบถ้วน เพราะปลูกตามฤดูกาล เหมือนได้ชิมอาหารดั่งของขวัญจากธรรมชาติในทุกช่วงเวลา และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการบอกว่าเรื่องราว ( Storytelling) ของจานอาหารได้เป็นอย่างดี

สำหรับ Local Table หรืออาหารท้องถิ่น แบ่งเป็น 4 รูปแบบที่น่าจับตามอง

1 Locally Grown Produced คือร้านอาหารที่เลือกใช้วัตถุดิบที่เลี้ยง ปลูก หรือผลิตในท้องถิ่น อาจเลือกซื้อจากฟาร์มที่มีการจัดการอย่างยั่งยืนทำให้ได้วัตถุดิบสดใหม่และยังสนับสนุนเษรษฐกิจท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนและกินดีอยู่ดีของเกษตรกรอีกด้วย

2 Hyper – Local Foods “ผักสวนครัว รั้วกินได้” คือแนวคิดหลักของร้านอาหารในลักษณะนี้ วัตถุดิบล้วนหาได้รอบ ๆ ตัว เช่น เลือกปลูกบนดาดฟ้า ปลูกในฟาร์มของร้าน หรือแม้กต่การตกแต่งร้านด้วยพืชที่สามารถหยิบไปปรุงอาหารได้ ซึ่งแนวนี้จะมาคู่กับ Low Waste คือการเหลือทิ้งวัตถุดิบให้น้อยที่สุด

 

3 Artisan Food อาหารทำด้วยสองมือ เป็นการผลิตจำนวนจำกัด ใช้วัตถุดิบเครื่องปรุงคุณภาพสูง เมนูยอดฮิตที่นิยมผลิตในรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารตะวันตก เช่น ไอศกรีม ชีส และเบคอน ส่วนร้านอาหารในเมืองไทยหลาย ๆ ร้านก็เริ่มหมักน้ำปลาจากเศษปลาทะเล เป็นต้น

4 Homemade Dessert เป็นการเลือกใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น แต่หากพวข้อจำกัดด้านวัตถุดิบ ผู้ประกอบการสามารถเลือกซื้อขนมโฮมเมดจากผู้ผลิตภายในท้องถิ่นได้เช่นกัน

เช่นร้าน Khagee ร้านเบเกอรี่ขนาดเล็กริมแม่น้ำปิงในเชียงใหม่ จัดหน้าร้านด้วยกระจกใสปะสติ๊กเกอร์บอกชื่อร้าน วางข้อความข้างใต้ว่า “ natural yeast bread cafe” บ่งชัดว่าใช้ยัสต์ธรรมชาติทำด้วยมือในการอบขนมปังสูตรที่ทางร้านทำขึ้นเอง

 

TREND 3

Multisensory Experience สัมผัสความอร่อยในหลากหลายมิติ

 

 

หากมองดูเผิน ๆ อาหารรสชาติเยี่ยมจะขึ้นอยู่กับฝีมือเชฟ แต่แท้จริงแล้วความอร่อยล้ำเลิศเกิดจากการสอดประสานของมิติหลากหลาย ทั้งบรรยากาศ รูป รสกิล่น และเสียง ที่ผ่านการออกแบบมาอย่างดีเยี่ยม การผสมผสานทุกศาสตร์ได้เติมความสมบูรณ์แบบของทุกสัมผัสลงในมื้ออาหารจานโปรด

โลกเปิดกว้างทำให้ไอเดียและคอนเซ็ปต์ของร้านอาหารประเภทนี้โด่งดังขึ้นในวงการอาหาร การทอดลองผสานประสาทสัมผัสชูเอกลักษณ์แปลกใหม่ด้วยลูกเล่นทางธรรมชาติ หรือฉีกความจำเจ นำเสนอผ่านกิมมิกของผัสสะที่เหลือทั้ง 5 อาทิ การเสิร์ฟเม็ดยาเปลี่ยนรสจากเปรี้ยวเป็นหวาน มื้อดินเนอร์ในความมืด หรือการนวดบะหมี่สด ๆ ข้าวโต๊ะพร้อมกับการลวดใหม่สดเสิร์ฟให้กับลูกค้า

TREND 4

Plant-Based Protein วัตถุดิบ Eco ที่ดีต่อใจ กาย และงบประมาณ

 

 

 

เทรนด์นี้เพื่อตอบรับกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภค ด้วยการนำโปรตีนจากพืช Plant-Base Protein มาเป็นตัวชูโรงในเมนูอาหาร ที่แม้ว่าจะไม่มีเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ทำให้ขาดสารอาหารและได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

นอกจากจะเป็นผู้หันมารักษาสุขภาพแล้ว ผู้บริโภคหลักอีกส่วนมักชอบลิ้มชิมรสนวัตกรรมใหม่ด้านอาหาร เช่นโปรตีนเกษตรจากวัตถุดิบธรรมชาติอย่างควินัวหรือถั่วต่าง ๆ ข้อดีขงอการเลือกบริโภคโปรตีนจากพืช นอกเหนือจากเรื่องสุขภาพแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้ว เนื่องจากมีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์จริง

 

TREND 5

The Tea Party จิบชาเล่าเรื่องราว

กระแสและวิธีการดื่มชาเปลี่ยนไปตามยุคสมัย วิถีชีวิตแลเทคโนโลยี ที่หมุนเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ทำให้การดื่มชามีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง และสะท้อนสภาพสังคมและวัฒนธรรมของยุคสมัยได้เป็นอย่างดี อาทิ การจิบชายามบ่ายในสมัยก่อนใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง แต่ปัจจุบันอาจเหลือเพียงแก้วชาใบเดียวอยู่หน้าโต๊ะทำงาน หรือจะเติมลูกเล่นเข้าไปในแก้วชา อย่างชานมไข่มุกที่กำลังฮิตอยู่

สำหรับกระแสการดื่มชาที่น่าจับตามองในขณะนี้ ยังคงยึดวิธีดื่มชาแบบดั้งเดิมผ่านกาน้ำชาร้อน เติบโตเท่าทันโลกที่หมุนอย่างรวดเร็วด้วยความนิยมของชาพร้อมดื่มบรรจุขวด และการสร้างสรรค์นวัตกรรมชาเพื่อสุขภาพ

Stay Connected
Latest News