AISเตือนภัยเด็กในโลกไซเบอร์ แนะวัคซีน DQ ช่วงโควิดอยู่บ้านฉลาดใช้ดิจิทัล

ในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ทำให้ทุกคนต้อง social distancing หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม , Work from Home การต้องเปลี่ยนวิถีการทำงานมาอยู่บ้านเพื่อปกป้องตัวเองรวมไปถึง Learn from Home ที่ทำให้เด็กนักเรียนต้องเลื่อนปิดเทอมหรือเปลี่ยนมาเรียนทางออนไลน์จากที่บ้าน

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกคนในขณะนี้ต้องพึ่งพาโลกดิจิตอลเพื่อดำรงชีวิตเป็นหลัก ไม่ว่าเป็นเรื่องการทำงานจากที่บ้าน การสั่งอาหาร ชอปปิ้ง ทำธุรกรรมทางการเงิน จากสถิติการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่าย AIS ในช่วงการแพร่ระบาดโควิดนั้น เริ่มตั้งแต่ช่วงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีมาตรการกักตัวอยู่บ้านนั้น พบว่ามีการใช้งานอินเตอร์เน็ต ผ่านมือถือและเน็ตบ้านเพิ่มขึ้นถึง 20 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาปกติ

นับว่าการใช้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงไวรัสโควิดแพร่ระบาด แต่ในบางครั้งอาจจะมีภัยออนไลน์ที่เหมือนไวรัสที่แฝงตัวเข้ามาโดยที่เรามองไม่เห็น ซึ่งหากเยาวชนเหล่านั้นใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัลโดยไม่รู้เท่าทัน แล้วอาจจะนำมาซึ่งอันตรายในหลากหลายรูปแบบ

นัฐิยา พัวพงศกร หัวหน้าแผนกงานพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ได้เสนอทางป้องกันภัยร้ายในโลกออนไลน์ว่า “วันนี้อยากจะเชิญชวนให้ทุกคนมาสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตในออนไลน์ จึงเป็นที่มาของโครงการAIS อุ่นใจไซเบอร์ ในช่วงโควิดระบาดคือ “การอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติและฉลาดในการใช้ดิจิทัล”

 


“โครงการ AIS อุ่นใจไซเบอร์” เป็นหนึ่งในตัวอย่างโครงการของภาคเอกชน ที่มีเป้าประสงค์ในการสร้างภูมิคุ้มกัน รณรงค์ ปลูกจิตสำนึก ให้คนไทยเกิดการตระหนักรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะเพื่อให้ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย ซึ่งสอดรับกับสถานการณ์ที่สังคมไทยกำลังเผชิญในขณะนี้ ประกอบกับบรรยากาศในช่วงวันครอบครัว 14 เมษายน เอไอเอส จึงขอใช้โอกาสนี้ชวนเชิญทุกครอบครัวมาร่วมรณรงค์ปลูกจิตสำนึกในการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ในช่วงวันหยุดยาว ด้วยชุดการเรียนรู้ 8 ทักษะการเอาตัวรอดและรับมือภัยบนโลกออนไลน์ สนับสนุนมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ฉลาดใช้ดิจิทัล”

นัฐิยา พัวพงศกร กล่าวเสริมถึงโครงการฯนี้มีเป้าประสงค์เพื่อต้องการให้คนไทยใช้ดิจิตอลอย่างฉลาดภายใต้เงื่อนไข 3 ประการคือ

1. ให้ปลอดภัย : เข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้ ปลอดภัย ทั้งในชีวิต ทรัพย์สิน รู้จัก ปกป้องตนเองจากภัยไซเบอร์
2. เกิดประสิทธิภาพ : ทำให้เราเลือก แยกแยะ และรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ใช้เวลาอย่างเหมาะสม
3. สร้างประโยชน์ : สามารถใช้ดิจิตอลให้เกิดผลกระทบในทางบวก ที่เป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเอง ชุมชนและสังคม

 

เด็กไทยเสี่ยงอันตรายในโลกไซเบอร์


จากรายงานของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ระบุว่า ในปี 2562 เด็ก Generation Z( เกิดปี 2541 เป็นต้นไป) มีอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตในวันหยุดเฉลี่ยอยู่ที่ 12 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ว่าเยาวชนไทยใช้เวลาไปกับอินเตอร์เน็ตมากเกินไป และสิ่งที่น่าห่วงคือภัยบนโลกไซเบอร์

สอดคล้องกับผลสำรวจดัชนีชี้วัดความปลอดภัยบนสื่อออนไลน์สำหรับเด็ก (COSI ; Child Online Safety Index) ซึ่งจัดทำโดยสถาบันดีคิว (DQ Institution) ซึ่งเก็บข้อมูลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนจำนวน 145,426 คน ใน 30 ประเทศสมาชิก พบว่า 60% ของเด็กอายุ 8-12 ปี พบว่าเด็กทั่วโลก 60 % เผชิญกับอันตรายในโลกไซเบอร์ และ 45 % เคยถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ , 39 % เคยถูกกระทำทางออนไลน์ให้เสื่อมเสียชื่อเสียง , 29 % เคยเห็นเนื้อหาที่ยั่วยุทางเพศ หรือเคยถูกคุกคามทางอินเตอร์เน็ต

แสดงให้เห็นว่าเด็กในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความเสี่ยงในโลกไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามที่กระจายไปทั่วโลก รวมถึงผลสำรวจที่น่าเป็นห่วงของเด็กไทยในหลายๆ ประการ ตลอดจน ตัวเลขอัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

AIS DQ วัคซีนไซเบอร์

นัฐิยา พัวพงศกร กล่าวต่อว่า “เมี่อปีที่ผ่านมา เอไอเอสเชิญโรงเรียนกว่า 300 แห่ง เข้ามาเป็นเครือข่ายเพื่อนำทักษะทางด้านดิจิตอลไปสอนให้กับเด็ก สำหรับปีนี้จึงอยากเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่เข้ามาในโอกาสที่เด็กจะต้องเรียนจากที่บ้านและเป็นช่วงโควิดที่จะต้อใช้เวลาอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ เป็นโอกาสที่จะนำบทเรียนของ AIS DQ สอนลูก ๆ ทางออนไลน์”

AIS DQ เป็นแบบฝึกหัดบนออนไลน์ www.DQWorld.net ที่เน้นฝึกทักษะผ่านการเล่นเกม วันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-4 วัน สามารถเรียนจบคอร์สภายใน 2 สัปดาห์ ผู้ใช้งานสามารถทำแบบฝึกหัดด้วยตัวเองที่บ้าน โดยมีผู้ปกครองหรือคุณครูสามารถเข้าไปดูในระบบได้ว่าบุตรหลาน หรือนักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดแล้วหรือไม่

 

เอไอเอสได้เปิดตัวแบบฝึกหัด AIS DQ ไปเมื่อปลายปี 2562 โดยทำงานร่วมกับโรงเรียนระดับชั้นประถม3 – 5 ทั่วประเทศ 300 แห่ง และมีการทำ workshop กับครูตามโรงเรียนเหล่านี้ มีนักเรียนที่เข้ามาร่วมทำแบบฝึกหัดนี้แล้ว 2,000-3,000 คน

8 ทักษะด้านดิจิทัลที่ควรมี


การพัฒนาทักษะความฉลาดด้านดิจิตอลDQ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการใช้สื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ใน 8 ด้านหลัก ดังนี้

1 คิดก่อนโพสต์ ช้าลงสักนิด ใตร่ตรองก่อนโพสต์ ถึงลบแล้วก็อาจจะยัง อยู่บนโลกออนไลน์ ท าให้เราเดือดร้อนได้ในวันข้างหน้า
2 เช็กก่อนเชื่อ เช็กก่อนเชื่อ เช็กก่อนใช้ เช็กก่อนแชร์ ข่าวชัวร์ หรือมั่วนิ่ม หาแหล่งเชื่อถือได้เพื่อยืนยัน
3 ใจเขาใจเรา เห็นใจกันและกัน ใส่ใจคนรอบข้าง ไม่ส่งเสริมการ กลั่นแกล้งหรือความรุนแรง
4 สร้างกุญแจป้องกันการเข้าถึงข้อมูล พาสเวิร์ดก็เหมือนแปรงสีฟนั ไม่แชร์กับใคร และหมั่นเปลี่ยนบ่อยๆ เลี่ยงใช้ข้อมูลส่วนตัวเป็นพาสเวิร์ด
5 รับมือกับการแกล้งออนไลน์ STOP-BLOCK-TELL ไม่ตอบโต้นักเลงคีย์บอร์ด บล็อค และแจ้งผู้ปกครอง
6จัดเวลาอยู่หน้าจอ สร้างข้อตกลงร่วมกันในครอบครัว ไม่มัวอยู่บนหน้าจอ จัดชั่วโมงเรียน ชั่วโมงเล่นให้เหมาะสม
7 จริงใจไม่ปลอมตัวตน ท่องโลกไซเบอร์อย่างรับผิดชอบ จริงใจ ไม่สร้างภาพ ไม่สร้างตัวตนเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
8 ปกป้องข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลส่วนตัวมีค่ามากกว่ายอดไลก์ ภัยอาจใกล้กว่าที่เราคิด อย่าให้ข้อมูลรั่วไหลสู่คนแปลกหน้า

“ช่วงเวลานี้ควรจะใช้วิกฤติมาสร้างโอกาสในการสร้างทักษะและความฉลาดทางดิจิตอลให้เด็ก ๆ ไวรัสโควิดยังไม่มีวัคซีน แต่ไวรัสทางไซเบอร์เรามีDQ ซึ่งเป็นเมือนวัคซีนที่ป็นช่วยให้เด็ก เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์” นัฐิยา พัวพงศกร กล่าวสรุป

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม