ปี 2021 เดินทางแบบ new normal มนุษย์ต้องพก “พาสปอร์ตวัคซีน”

ในที่สุดความหวังของมวลมนุษย์ที่กำลังวิตกกังวลกับโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ก็เริ่มมีความหวังขึ้น เมื่อเริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรคโควิด-19 เกิดขึ้นแล้วในบางประเทศ โดยเน้นไปที่กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดเชื้อมากที่สุด เช่น กลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มคนทำงานด้านสาธารณสุข ก่อนที่จะเริ่มฉีดประชาชนในประเทศ


ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นความหวังของมนุษยชาติที่จะต่อสู้กับเชื้อโควิด-19 เพราะเชื่อว่าหลายคนกำลังคิดถึงการกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติที่สามารถเดินทางไปที่ไหนได้โดยไม่ต้องกังวล ดังนั้นเพื่อให้การใช้ชีวิตหลังการฉีดวัคซีนง่ายขึ้น จึงได้มีไอเดียการสร้างแอปพลิเคชัน “พาสปอร์ตวัคซีน” เกิดขึ้นมา

ขณะนี้หลายบริษัทโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีได้เริ่มพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนหรือระบบสำหรับอัปโหลดข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบโควิด-19 และการฉีดวัคซีนส่วนบุคคลเข้าไปเพื่อสร้างหลักฐานอ้างอิงดิจิทัลที่สามารถนำมาใช้แสดงเป็นหลักฐานในการเข้าสถานที่ต่างๆ เช่น การเข้าชมคอนเสิร์ต การชมกีฬา การเข้าโรงหนัง หรือ แม้กระทั่งการเข้าออกประเทศ เป็นต้น

The CommonPass เป็นแอปฯที่พัฒนาขึ้นโดย The Common Trust Network ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ตั้งอยู่ในเจนีวา ได้ร่วมมือกับหลายสายการบิน เช่น Cathay Pacific , JetBlue,Lufthansa, Swiss Airlines ,United Airlines และ Virgin Atlantic รวมไปถึงระบบด้านสุขภาพอีกนับร้อยทั่วทั้งสหรัฐฯและรัฐบาลประเทศอารูบา โดยผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดข้อมูลสุขภาพของตัวเองลงไป เช่น ผลการตรวจโควิด-19 หรือ หลักฐานการฉีดวัคซีน

ทั้งนี้แอปฯจะทำหน้าที่สร้างหลักฐานยืนยันในรูปแบบ QR Code ซึ่งสามารถนำไปแสดงแก่เจ้าหน้าที่ได้โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ สำหรับการเดินทาง แอปฯนี้จะแสดงข้อกำหนดของใบรับรองสุขภาพ ณ จุดบินขาออก และขาเข้า ตามแผนการเดินทาง

“คุณสามารถได้รับการตรวจหาเชื้อทุกครั้งที่ข้ามพรมแดน แต่คุณไม่สามารถได้รับการฉีดวัคซีนทุกครั้งที่ข้ามพรมแดน” Thomas Crampton ประธานเจ้าหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสารแห่ง The Commons Project กล่าวกับ CNN Business โดยที่เขาเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้หนังสือรับรองที่เรียบง่าย หรือที่เรียกว่า “ใบเหลืองดิจิทัล” ซึ่งอ้างอิงว่าเป็นเอกสารที่ออกให้โดยทั่วไปเพื่อเป็นหลักฐานการฉีดวัคซีน

แอป Digital Health Pass ของ IBM สร้างหนังสือรับรองวัคซีนออนไลน์ที่สามารถเก็บไว้ในกระเป๋าเงินมือถือ (mobile walletX

ขณะที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง IBM ก็ได้พัฒนาแอปฯขึ้นมาด้วยเช่นกัน ชื่อว่า “Digital Health Pass” ที่อนุญาตให้บริษัทหรือสถานที่กำหนดตัวบ่งชี้ได้ตามที่ต้องการสำหรับการเข้าไปยังสถานที่นั้นๆ เช่น ผลการตรวจหาเชื้อโควิด การวัดอุณหภูมิ และประวัติการฉีดวัคซีน โดยหลักฐานที่สอดคล้องกับตัวบ่งชี้เหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ในวอลเลตบนมือถือ
ในช่วงเริ่มต้นของการแพร่เชื้อโควิด-19 ทาง Apple และ Google ได้หยุดการแข่งขันด้านสมาร์ทโฟนเพื่อร่วมกันพัฒนาระบบบลูทูธเพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้หากพวกเขาสัมผัสกับผู้ที่มีเชื่อโควิด-19 ขณะเดียวกัน หลายประเทศและรัฐบาลของหลายรัฐก็ได้พัฒนาแอปฯของตัวเองขึ้นมาเพื่อใช้งานด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือที่ดีขึ้น ทาง The Linux Foundation ได้จับมือกับ The Covid-19 Credentials Initiatives ซึ่งเป็นการร่วมมือของคนกว่า 300 คน จากหลายองค์กรใน 5 ทวีป และยังได้ร่วมทำงานกับ IBM และ CommonPass ในการช่วยพัฒนาชุดมาตรฐานสากลสำหรับแอปฯหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนดังกล่าว

ด้าน Brian Behlendorf กรรมการบริหาร แห่ง Linux Foundation ให้ความเห็นว่า “หากเราประสบความสำเร็จ คุณจะสามารถพูดได้เลยว่าฉันมีหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนอยู่บนโทรศัพท์ของฉันที่ฉันได้มาเมื่อฉันได้รับการฉีดวัคซีนในประเทศหนึ่ง และฉันใช้แสดงเวลาฉันขึ้นเครื่องบิน หรือเข้าชมคอนเสิร์ตที่จัดในที่ปิด”

ขณะเดียวกัน บริษัทบางแห่งในโครงการ Covid-19 Credential กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาสมาร์ทการ์ด(Smart card) ที่ง่ายต่อการจัดเก็บและผลิตซ้ำ เพื่อรองรับคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้และเพื่อให้พาสปอร์ตวัคซีนครอบคลุมคนทั้งโลก

เมื่อพาสฟอร์ตวัคซีนถูกสร้างขึ้นมาแล้ว ทางบริษัทผู้ผลิตก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนที่ใช้งานรู้สึกสบายใจกับการใช้งานแอปฯดังกล่าว เพราะนั่นหมายถึงว่าผู้ใช้งานอาจจะมีข้อกังวลเรื่องการจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวทางการแพทย์ ทาง CommonPass IBM และ the Linux Foundation ต่างให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดย IBM ได้กล่าวว่า ทางบริษัทอนุญาตให้ผู้ใช้งานควบคุมและยินยอมการใช้ข้อมูลสุขภาพของพวกเขา และผู้ใช้งานยังสามารถเลือกระดับของรายละเอียดที่จะให้แก่เจ้าหน้าที่อีกด้วย

CommonPass ร่วมมือกับสายการบินหลายแห่ง เพื่อเริ่มเปิดตัวแอปข้อมูลรับรองด้านสุขภาพในเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เลือก

ในส่วนของการผลิตวัคซีนที่มีหลากหลายนั้น ทำให้มีหลายตัวแปรที่ผู้สร้างพาสปอร์ตวัคซีนจำเป็นต้องอธิบายได้ โดยคุณ Crampton ได้กล่าวว่า “สำหรับการเข้าไปในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการข้ามพรมแดน หรือการเข้าชมคอนเสิร์ต บางที่อาจจะอยากทราบข้อมูลว่าวัคซีนที่ฉีดเข้าไปเป็นยี่ห้อ Pfizer หรือ วัคซีนรัสเซีย หรือวัคซีนจากจีน เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจ เนื่องจากวัคซีนแต่ละยี่ห้อมีประสิทธิภาพที่ต่างกัน ในมุมของ Dr. Julie Parsonnet ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มองว่า ยังไม่มีความชัดเจนถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในการหยุดการแพร่เชื้อไวรัส ดังนั้น แอปฯพาสปอร์ตวัคซีนที่แสดงว่าคุณได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว อาจจะไม่ใช่การยืนยันว่าคุณปลอดภัยที่จะเข้าไปในงานหรือเข้าไปยังเครื่องบินได้

อย่างไรก็ดี ด้านคุณ Behlendorf คาดหวังว่า การเปิดตัวและการนำพาสปอร์ตวัคซีนมาใช้งานนั้นจะเกิดขึ้นในเร็ววันเมื่อทุกอย่างเข้าร่องเข้ารอย และคาดว่าแอปฯต่างๆที่สามารถทำงานร่วมกันจะ “พร้อมใช้งานอย่างแพร่หลาย” ภายในครึ่งปีแรกของปี 2021

Credit : https://edition.cnn.com/2020/12/27/tech/coronavirus-vaccine-passport-apps/index.html

Stay Connected
Latest News

สิงห์ เอสเตท สานต่อโครงการ “ปลูกป่าด้วยปลายนิ้ว” ปีที่ 3 เดินหน้าปลูกป่า 1 ล้าน ตร.ม. สร้างพื้นที่สีเขียว มุ่งสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนครบวงจร ตามปรัชญา “Go Beyond Dreams”