ครั้งแรกของอาเซียน! AIS พัฒนา E-Waste+ นำเทคโนโลยีบล็อกเชน แก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งเป้า Hub of E-Waste ของไทย

ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและผู้ให้บริการดิจิทัล AIS จึงให้ความสำคัญกับการยกระดับ​ Digital Infrastructure ของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อพิชิตเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้คนไทยด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มและโครงข่ายเทคโนโลยีอัจฉริยะที่แข็งแกร่ง​ ​

โดยนำขีดความสามารถของโครงข่ายอัจฉริยะมาขับเคลื่อนเพื่อสร้างให้เกิดการเติบโตร่วมกัน และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนของสังคมสามารถเข้าถึงบริการดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความสมดุลและแข็งแกร่งได้ทั้งระบบนิเวศ ทั้งในมิติของธุรกิจ สังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม​ ตามแนวทางการสร้างการเติบโตอย่างยืน หรือ ESG

โดยเฉพาะในมิติของสิ่งแวดล้อม ซึ่ง AIS ได้วางนโยบายเพื่อรับมือต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของ​สภาพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อ​ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกกระบวนการในการดำเนินงานได้ตลอดทั้งห่วงโซ่​ ทั้งการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และชวนลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมผ่านการเปลี่ยนมาใช้ e-bill ได้แล้วกว่า 8.4 ล้านราย​​ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความรับผิดชอบหลักในฐานะผู้อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ผู้นำสร้าง​การตระหนักรู้ปัญหา E-Waste

ทั้งนี้ AIS ถือเป็นผู้ประกอบการรายแรกของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ที่มีการขับเคลื่อนเรื่องของ E-Waste มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2019 ผ่านโครงการ คนไทยไร้ E-Waste ซึ่งบทบาทของ AIS มีทั้งการสร้างความตระหนักรู้เพื่อให้ผู้คนเห็นความสำคัญของปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งช่วยขับเคลื่อนให้มีการกำจัดอย่างถูกต้อง ผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตร Green Network จากทุกอุตสาหกรรม เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม

จนถึงปัจจุบันมีพันธมิตรเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 142 องค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งมีการขยายจุดรับขยะ (Drop Points) ได้เกือบ 2,500 จุดไปทั่วทั้งประเทศ พร้อมทั้งสามารถรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้วเกือบ 4 แสนชิ้น ซึ่งเมื่อขยะเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ถูกต้องตามมาตรฐาน จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ใหญ่ได้ถึง 414,380 ต้นเลยทีเดียว

และจากการมีส่วนขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี 2019 ทำให้ AIS ทราบถึงปัญหาและข้อจำกัดในการดำเนินงานและพยายามจัดการ Pain points​ ต่างๆ ตั้งแต่การขาดความตระหนักรู้ รวมถึงความไม่สะดวกในการส่ง E-Waste เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล พร้อมทั้งได้เดินหน้าปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ เพื่อเพิ่มปริมาณการจัดเก็บ E-Waste ให้ได้ปริมาณมากขึ้น ​ทั้งการเร่งรณรงค์โครงการอย่างต่อเนื่องและขยายวงว้างขึ้น รวมทั้งเพิ่มพันธมิตรและจำนวน Drop Points ต่อเนื่องเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รวมไปถึงการส่งผ่านบุรุษไปรษณีย์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม หากสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมใน E-waste Journey ​ของผู้บริโภคที่นำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาฝากทิ้ง พร้อมทั้งติดตามข้อมูลได้ตั้งแต่จุดดร็อปพ้อยท์ไปจนถึงโรงงานรีไซเคิลได้แบบเรียลไทม์ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้นำขยะมาทิ้งได้ว่า ขยะต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิลตามมาตรฐานตามที่ตั้งใจไว้ และเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นให้มีผู้นำ E-waste มาเข้าสู่ระบบการรีไซเคิลได้เพิ่มมากขึ้น

ตั้งเป้า Hub of  E-Waste Thailand

นำมาสู่การพัฒนาระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเฟสใหม่ของ AIS บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในกระบวนการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการรวมทั้งเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้นำขยะมาฝากทิ้ง ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณ E-Waste ให้เข้าสู่ระบบรีไซเคิลได้มากยิ่งขึ้น และถือเป็นครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้​ ที่มีการนำบล็อกเชนมาใช้ประโยชน์ด้าน Waste Management

คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในทุกมิติของการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ส่งผลให้ปริมาณ E-Waste เพิ่มจำนวนขึ้นต่อเนื่อง AIS จึงต้องการขยายผลและเพิ่มการมีส่วนรวมในการจัดการ E-Waste ในวงกว้างมากขึ้น ​นำมาสู่การ Redesign Ecosystem เพื่อให้ทุกภาคส่วน​สามารถบริหารจัดการ E-Waste ของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน

แพลตฟอร์ม E-Waste+ (อีเวสต์พลัส) คือแพลตฟอร์มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บนเทคโนโลยี Blockchain ที่ทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้สามารถตรวจสอบสถานะขยะ E-waste ทุกชิ้นได้ทั้งกระบวนการได้แบบ Realtime ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่ผู้ทิ้งขยะ (Customers) ผู้รับขยะ (Drop Point Agents) การขนส่ง ไปจนถึงปลายทางโรงงานจัดการขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ตามมาตรฐานแบบ Zero Landfill ทำให้ไม่มีขยะที่เหลือไปสู่หลุ่มฝังกลบ

จุดแข็งและความแตกต่างของแพลตฟอร์มนี้ นอกจากการเก็บข้อมูลได้แบบเรียลไทม์แล้ว ยังสามารถคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในการทิ้งขยะแต่ละชิ้น และแสดงเป็นคาร์บอนสกอร์ (Carbon Score) ออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ที่นำ E-Waste มาทิ้งทราบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง จากข้อมูลที่บันทึกไว้ตั้งแต่ต้นทาง หลังจากนำ E-Waste มาทิ้งและบันทึกข้อมูลไว้ หลังจากนั้นจะสามารถตรวจสอบ Journey ของการนำขยะไปรีไซเคิลได้แบบเรียลไทม์ว่าถึงกระบวนการขั้นตอนใดแล้ว จนกระทั่งไปถึงโรงงานเพื่อจัดการอย่างถูกวิธีตามมาตรฐาน​ พร้อมแสดงผลลัพธ์ให้ผู้ทิ้งทราบว่ามีการส่งขยะไปรีไซเคิลอย่างสมบูรณ์แล้ว พร้อมทั้งบอกปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถช่วยลดผลกระทบได้ เพิ่มความภาคภูมิใจและการมีส่วนร่วมในการดูแลโลกเพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อว่าหลังมีการนำแพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้ามาใช้ จะเพิ่มปริมาณการจัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ในสิ้นปี 2566 ได้เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 5 แสนชิ้น พร้อมทั้งผลักดันให้ AIS เป็นผู้นำในฐานะ Hub of E-Waste ของประเทศไทย

“ในเบื้องต้น เราได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กรที่จะเดินหน้าสร้างมาตรฐานการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถสร้างการมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใสผ่าน Blockchain ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคมในวงกว้างต่อไป”

เพิ่มการมีส่วนร่วม สร้างแนวร่วมความยั่งยืน

การพัฒนาแพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในการนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดย ​คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริมว่า ในฐานะที่ AIS เป็นผู้นำด้านบริการดิจิทัลที่มุ่งสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมอัจฉริยะ หรือ Cognitive Tech-Co จึงมองโอกาสและเห็นขีดความสามารถของ Blockchain ในการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในทางธุรกิจ ​โดยเฉพาะการเป็นโซลูชั่นที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจและโปร่งใสในกระบวนการ Waste Management ที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดกระบวนการ ​ขณะที่ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็สามารถแชร์และแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้ โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้องนี้ สามารถเปลี่ยน​ Coin เพื่อใช้ประโยชน์ได้ ​และช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการ และช่วยเติมเต็มความแข็งแกร่งให้ Ecosystem อีกทางหนึ่งด้วย

แพลตฟอร์มนี้ยังมีความ User Friendly เพราะรองรับทุกเครือข่าย​ทั้งระบบ Android และ IOS เพียงค้นหาคำว่า “E-Waste+”​ ก็สามารถดาวน์โหลดและลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกผู้รักษ์โลกได้ทันที ขณะที่การทำงานทั้งระบบจะใช้เพียง Application เดียว และยังเป็นแพลตฟอร์มที่รอง​รับ E-Waste ได้หลากหลาย ทั้งโทรศัพท์มือถือ ​แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น​ หูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์ รวมถึง​ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น แต่ยังไม่รวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ พาวเวอร์แบงค์ และถ่านไฟฉายทุกประเภท

เห็นได้ว่ามาตรฐานที่ AIS ได้วางไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานรวมถึงการวางนโยบายขับเคลื่อนธุรกิจ​ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงความตั้งใจและไม่หยุดนิ่ง เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการมองนอกกรอบพร้อมทั้งก้าวข้ามแนวทางเดิมๆ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพและปลดล็อกข้อจำกัดต่างๆ ของการพัฒนา​ ผ่านศักยภาพของโครงข่ายอัจฉริยะมาสร้างประโยชน์และต่อยอดผลักดันไปสู่ทั้งองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เพื่อขยายโอกาสในการทำงานร่วมกันได้กว้างมากขึ้น และเพิ่มแนวทางในการนำดิจิทัลเทคโนโลยีไปขยายผลและสร้างจุดแข็งรวมทั้งความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศต่อไปในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

Stay Connected
Latest News