AIS ผนึก Singtel Group แชร์ไอเดียขับเคลื่อน ‘ความยั่งยืน’ ผ่านเวที ‘Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023’

ด้วย​เป้าหมายที่ชัดเจนของ AIS ที่ต้องการ​​​​ก้าวสู่การเป็นองค์กรเทคโนโลยีโทรคมนาคมอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co เพื่อนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็น Sustainable Nation โดยมุ่ง​สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและ​คำนึงถึงผลกระทบต่อ​ทุกภาคส่วนของ ECOSYSTEM ECONOMY ไม่ว่าจะเป็นผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ขยายผล Vision to Action

พร้อมการตอกย้ำที่ชัดเจนมากกว่าแค่การวาง Vision ผ่านวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนที่สวยหรู แต่ AIS ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนสู่ Action ที่สามารถจับต้องและปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเติมเต็ม Cyber Wellness Ecosystem เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเกิดการใช้งานที่สร้างสรรค์และปลอดภัยผ่านการพัฒนา หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ และ Thailand Cyber Wellness Index เพื่อยกระดับคนไทยสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่าน Green Network ทั้งการใช้ AI มาช่วยบริหารจัดการพลังงานหรือ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมด้านการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Waste อย่างถูกวิธีแบบ Zero to Landfill ได้ในที่สุด

​และอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า นับจากนี้แนวคิดเรื่อง ความยั่งยืน จะถูกนำมา​เชื่อมโยงเข้ากับทุกมิติในการขับเคลื่อนของ AIS คือ การจัดประชุมประจำปีของกลุ่ม Singtel ครั้งล่าสุดในปี 2023 นี้ ซึ่งประเทศไทย โดย AIS เป็นเจ้าภาพจัดประชุมภายใต้ชื่อ ‘Singtel Group People and Sustainability Symposium 2023’ โดย​มีบริษัทในเครือ Singtel อีก 5 ประเทศเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย Airtel จากอินเดีย, Globe จากฟิลิปปินส์, Optus จากออสเตรเลีย Telkomsel จากอินโดนีเซีย และ Singtel จากสิงคโปร์

งาน Regional Forum ครั้งนี้ ได้ผนวกแนวคิดเรื่องความยั่งยืนเข้าไปทุกมิติแบบ End to End อย่างแท้จริง โดย คุณสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS ให้ข้อมูลว่า การขับเคลื่อนความยั่งยืนของ AIS เป็นมากกว่าแค่การสร้างภาพลักษณ์ แต่ขับเคลื่อนจริงผ่านการทำงานทุกมิติ รวมทั้งทุกกิจกรรมต้องเชื่อมโยงเป้าหมายเดียวกัน  เช่นเดียวกับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมระดับภูมิภาคของ Singtel Group ที่ได้ยกระดับสู่ Regional Symposium พร้อมผนวกรวม 2 วาระ ทั้งเรื่อง​ ‘People’ และ ‘Sustainability’ เข้าไว้ด้วยกัน จากที่ก่อนหน้าจะจัดประชุมแยกกัน รวมทั้งคำนึงถึง Carbon Emission ที่จะเกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ทุกมิติ ตั้งแต่การเดินทางเข้ามาของสมาชิกแต่ละประเทศ การเลือกโรงแรมที่พัก การเดินทางในระหว่างการประชุมตลอด 3 วันในประเทศไทย รวมทั้งการส่งต่อ Positive Impact จากการประชุมครั้งนี้ให้แก่ผู้คนและสังคมได้อย่างยั่งยืน

“การจัดงานประชุมระดับนานาชาติแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ประกอบกับมิติเรื่องของการพัฒนาคน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนอยู่แล้ว AIS จึงนำเสนอสมาชิกเพื่อยกระดับการจัดประชุมทั้งวาระในเรื่องของ ‘คน’ และ ‘ความยั่งยืน’ ไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมทั้งเป็นประโยชน์ในการแชร์องค์ความรู้ ประสบการณ์ มุมมอง และ Best Practice ต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งสามารถแยกกันประชุมได้เมื่อต้องลงรายละเอียดในการขับเคลื่อนของแต่ละภาคส่วน รวมทั้งเน้นการขับเคลื่อนแบบคาร์บอนต่ำ ตั้งแต่การเดินทางระหว่างประเทศที่แนะนำสมาชิกให้เดินทางด้วย Green Airline การเลือกโรงแรมที่พักที่ได้รับมาตรฐานการดำเนินงานอย่างยั่งยืน หรือการทำกิจกรรมในระหว่างการประชุม เมนูอาหารรับรองที่เน้น​ ​Low Carbon รวมทั้งมีการบันทึกคาร์บอนฟุตพรินท์ตลอดกิจกรรมซึ่งจะนำไปชดเชยคาร์บอนส่วนเกิน เพื่อให้งานประชุมครั้ง​​นี้เป็น Carbon Neutral Event ได้อย่างแท้จริง”​

แชร์ Best Practice ขับเคลื่อนอย่างยั่งยืน

สำหรับรูปแบบ Symposium ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Content หรือการนำเสนอเนื้อหาในที่ประชุม ซึ่ง AIS ได้นำเสนอบทบาทของ​เทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้าไปผลักดันให้เกิดความยั่งยืนทั้งในมิติของการสร้าง Cyber Wellness Ecosystem และการขยาย Green Network เพื่อร่วมบริหารจัดการ E-Waste ตลอดทั้ง Supply Chain ซึ่งได้รับความสนใจจากประเทศสมาชิกอย่างมาก โดยเฉพาะไอเดียการพัฒนาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยไซเบอร์ให้แก่ประชาชน ขณะเดียวกัน AIS เองก็ได้รับแรงบันดาลใจในการต่อยอด Thailand Cyber Wellness Index มาสู่​มิติในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้กลายเป็นดัชนีที่สามารถชี้วัดการขับเคลื่อนเรื่องของความยั่งยืนได้อย่างรอบด้านทั้งในเรื่องของ Environment , Social และ Governance ได้ครบทุกมิติ

อีกส่วนหนึ่งคือ แนวทางในการจัด Activity ซึ่ง AIS ได้จัดกิจกรรมที่สามารถ​ส่งมอบผลกระทบเชิงบวกให้ผู้คนและสังคมอย่างรอบด้านและยั่งยืน ทั้งการจัด ‘GalileOsis Night Eco Vision To Action’ เพื่อต้อนรับสมาชิกจากแต่ละประเทศ ซึ่งทุกมิติของงานเลี้ยงครั้งนี้เป็นหนึ่ง Best Practice ในการขับเคลื่อนเพื่อสร้าง Positive Impact ให้เกิดขึ้นกับผู้คนในชุมชนบ้านครัว​ ตั้งแต่การเลือกสถานที่จัดงานอย่าง GalileOsis ที่ผู้ก่อตั้งมีแนวคิดและเป้าหมายในการพัฒนา Art Space ขึ้นภายในพื้นที่ เพื่อมีส่วนช่วยลดปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้ลดน้อยลง รวมทั้งการตกแต่งสถานที่แบบ Cart Installation ด้วยสิ่งของและวัสดุในชุมชน เช่น การนำรถเข็นที่อยู่ในชุมชนมาทำ Food Station พร้อมการจัดเตรียมอาหารจาก เชฟแบล็ก- ภานุภณ บุลสุวรรณ ด้วยการนำเสนอ Sustainable Dinner จากวัตถุดิบในท้องถิ่นได้อย่างคุ้มค่า รวมทั้ง​ใช้ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแยกขยะภายในงานอย่างเป็นระบบ ส่วนการแสดงต้อนรับก็ใช้นักแสดงภายในชุมชน ที่มาพร้อมเครื่องแต่งกายด้วยวัสดุที่ทำมาจากเศษผ้ารีไซเคิล เพื่อให้สมาชิกสัมผัสได้ถึงความเป็นไทยในอีกรูปแบบหนึ่ง ขณะเดียวกันยังช่วยสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนไปพร้อมกันด้วย

รวมทั้งยังมี Activity ที่เชื่อมโยงจากการประชุม ซึ่ง AIS เลือกทำกิจกรรมที่เข้าไปสนับสนุนการทำงานของกลุ่ม สภาเมืองคนรุ่นใหม่ หรือ BKK เรนเจอร์ โดยคัดเลือกเยาวชน 6 กลุ่มที่มีแนวคิดในการแก้ปัญหาเมืองในแต่ละมิติ มา Matching กับสมาชิกแต่ละประเทศ เพื่อรับฟังแนวคิดการขับเคลื่อนของเด็กแต่ละกลุ่ม พร้อมให้คำแนะนำ มุมมองในการพัฒนาและต่อยอดจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเป็นการ Coaching ต่อเนื่อง 4-6 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทั้ง 6 ทีมมาพรีเซ็นต์การขับเคลื่อนโครงการในวัน Activity day ที่สมาชิกทั้ง 6 ประเทศ มาประชุมในประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้จะช่วยสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยมีมุมมองในการพัฒนา Business Model ใหม่ๆ ซึ่งสามารถเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่เข้ามาช่วยลดช่องว่างหรือปัญหาต่างๆ ในสังคมไทยในอนาคตได้ด้วย

“สิ่งที่ AIS ทำ เราไม่ได้มองแค่สิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า แต่มองถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นตามมาและ​สามารถต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนได้ในอนาคต ซึ่งการ Matching สมาชิกเข้ากับเด็กไทย เราไม่ได้สนับสนุนด้วยเงิน แต่เราเติมวิธีคิด เติมมุมมองในการต่อยอดปัญหาต่างๆ เพื่อได้โซลูชั่นและนำมาสู่การเกิด Business Model ใหม่ๆ ซึ่งสามารถไปช่วยแก้ปัญหาให้คนอื่นๆ ในสังคมได้ต่อไป เช่น การเปลี่ยนขยะขวดพลาสติกในเมืองเป็นตั๋วรถเมลล์ การพัฒนาแพลตฟอร์มเติมทักษะภาษาอังกฤษให้กลุ่มคนขับแท็กซี่ หรือการแก้ปัญหา Mental Health ภายในโรงเรียน ด้วยการตั้ง Student Reflex Club ซึ่ง​เด็กๆ จะได้ฝึกทั้งทักษะภาษาอังกฤษจากการสื่อสารกับโค้ชหรือผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ​โดยตรง รวมทั้งฝึกวิธีคิดอย่างเป็นระบบและต่อยอดมาสู่การสร้างเป็นแพลตฟอร์มของการพัฒนาซึ่งสิ่งเหล่านี้จะติดตัวเด็กๆ ไปตลอด และสามารถต่อยอดให้เกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อ​​ไปในอนาคต”

โดยกรอบความร่วมมือจากการประชุม ที่จะถูกส่งต่อสู่การทำงานของแต่ละประเทศที่จะสร้าง Positive Impact ให้เกิดประโยชน์แก่ทุกกลุ่มเพื่อต่อยอดความยั่งยืน ประกอบด้วย

กลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนแบบมีเป้าหมาย (Purpose-led sustainability strategy)

1. E-Environment and Climate : การป้องกันและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีกระบวนการหรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดการใช้วัสดุหรือการใช้ทรัพยากรโดยคงประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Dematerialization) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติมุ่งสู่ Net Zero

2.S-Social Impact:  การหาแนวทางความเป็นไปได้ในการสร้างความปลอดภัยทางดิจิทัล สิทธิมนุษยชน ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

3. G-Governance : การจัดตั้งคณะกรรมการผู้บริหารด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน การปฏิบัติตามข้อกำหนด การให้ความรู้และการฝึกอบรมต่างๆ

4. V-Value Creation : การสร้างคุณค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างคุณค่าที่มุ่งเน้นไปยังความต้องการของลูกค้า เพื่อนำไปสู่การเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนความร่วมมือเพื่อวิเคราะห์หาโอกาสการพัฒนาแผนกลยุทธ์โครงการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Opportunity Framework) ภายในกลุ่ม Singtel  ได้มีการอัปเดทแลกเปลี่ยนความรู้และความสนใจร่วมกันทั้งด้านงาน Sustainability ในฐานะโครงการและกิจกรรมที่สำคัญเกี่ยวกับ ESG ที่ตนเองทำ และมองหาความสนใจร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการร่วมมือกัน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของการบริหารและการรวม ESG เข้ากับธุรกิจและเป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ

ขณะที่กรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability ในการ Empower Every Generation : การสร้างบุคลากรที่มีสามารถขับเคลื่อนวัฒนธรรมขององค์กรผ่านแนวทางปฏิบัติด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างผลลัพธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อองค์กร โดยกรอบความร่วมมือระหว่าง People และ Sustainability นั้นยังคำนึงถึงการปรับทิศทางของค่าตอบแทนหรือแรงจูงใจให้สอดคล้องกับแนวทางด้านความยั่งยืน

“การ Set New Standard ระดับภูมิภาคของ AIS ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดการเติบโตร่วมกันผ่านแนวคิด Partnership for Inclusive Growth เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แข็งแรงมากขึ้น พร้อมส่งต่อผลลัพธ์เชิงบวกให้ขยายผลออกไปในหลากหลายมิติมากขึ้น เพื่อให้แนวคิดด้าน ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นสารตั้งต้นและเข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อทุกการขับเคลื่อนทั้งการพัฒนามาตรฐานสินค้า บริการ หรือนวัตกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเดินหน้าของประเทศไทยสู่การเป็น Sustainable Nation ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างแท้จริง”

Stay Connected
Latest News