‘เอส แอนด์ พี’ ขับเคลื่อน Responsible Sourcing ลงพื้นที่สวนส้มอินทรีย์สีทอง จ.น่าน เดินหน้านโนบายรับซื้อผลผลิตโดยตรงจาก ‘เกษตรกร-ชุมชน’ ทั่วประเทศต่อเนื่องทุกปี

S&P ฉลองก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ครอบคลุม 3P (People, Planet, Profit) เพื่อให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตามคำมั่นสัญญาของบริษัท  “Healthier Family, Happier World” เพื่อให้ผู้บริโภค คู่ค้า พันธมิตรได้มาซึ่งสุขภาพดีและมีความสุข

ขับเคลื่อน Responsible Sourcing ดูแลตั้งแต่ต้นน้ำ

คุณมณีสุดา ศิลาอ่อน ประธานเจ้าหน้าที่สำนักพัฒนาความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) หรือ S&P กล่าวว่า S&P ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยแต่ละมิติของธุรกิจจะสอดแทรกแนวคิด​เรื่องความยั่งยืนทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อม สังคม และ​การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล (ESG) เพื่อสามารถสร้าง Positive Impact ให้ทุกมิติได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ

โดยเฉพาะ​การเข้าไปมีส่วนยกระดับคุณภาพชีวิตให้กลุ่มเกษตรกร ผ่านการดำเนินนโยบาย Responsible Sourcing หรือการจัดหาวัตถุดิบอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะการเข้าไปรับซื้อผลิตภัณฑ์โดยตรงจากกลุ่มเกษตรกรหรือชมุชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย ทั้งในกลุ่ม Food และ Non-food เพื่อสามารถ​คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดี พร้อมช่วยกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมให้เข้าถึงมือผู้ประกอบการรายย่อยจากต้นทางได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะนำมาสู่การส่งเสริมสุขภาพผู้ผลิตและผู้บริโภค  และสร้างความยั่งยืนได้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า​

ล่าสุด ได้ลงพื้นที่รับซื้อ ‘ส้มอินทรีย์สีทอง’ ซึ่งเป็นผลผลิตบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของ จ.น่าน จากเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดน่าน เพื่อเข้ามาสนับสนุนส้มอินทรีย์จากเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (SDGsPGS) จากสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนน่านร่วมกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์น่านในระยะปรับเปลี่ยน เพื่อนำส่งผลผลิตสด สะอาด ปลอดสารเคมี สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับ 3 เมนูพิเศษ ได้แก่ น้ำส้มอินทรีย์สีทองคั้นสด, น้ำส้มอินทรีย์สีทองปั่น และกาแฟโคลด์บรูว์น้ำส้มอินทรีย์สีทอง ซึ่งจะจำหน่ายในร้าน S&P เป็นระยะเวลา​ 3 เดือน ​ช่วงเดือนธันวาคม 2566 – กุมภาพันธ์ 2567 ของทุกปี

“S&P ได้ให้การสนับสนุนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ จังหวัดน่าน มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ต้ังแต่ปี 2563-2566 โดยมียอดสนับสนุน​แล้วกว่า 2.6 ล้านบาท และเมนูพิเศษจากส้มสีทองยังได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างดีและเป็นเมนูที่ลูกค้ารอคอย ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการซื้อในปีนี้มากขึ้น ซึ่งในทุกๆ ปี S&P จะมีทีมจัดซื้อลงพื้นที่เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรหรือชุมชนต่างๆ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบหรือสินค้าต่างๆ ภายในร้านเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกมิติอย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้วัตถุดิบคุณภาพมาใช้ในธุรกิจ ยังช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนหรือผู้ประกอบการรายย่อยต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน ขณะเดียวกัน ยังนำช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือการเข้าไปร่วมลงทุนในพื้นที่ เพื่อมีส่วนชวยพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ขยายตัวและเติบโต สามารถขยายสเกลธุรกิจให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงมากขึ้น”

นอกจากส้มสีทองแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทาง S&P เข้าไปสนับสนุนเกษตรกรโดยตรง เช่น ทุเรียน จาก จ.นราธิวาส ซึ่งได้มีการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานทุเรียนกวนในพื้นที่ พร้อมปรับปรุงพันธุ์ให้ได้ตามมาตรฐานเพื่อตอบโจทย์ในการนำมาเป็นไส้ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งสามารถขายได้ตลอดทั้งปี รวมไปถึงการรับซื้อเผือกหอม จาก จ.สระบุรี เพื่อนำมาผลิตบัวลอยเผือก หรือรับซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้ทอง จาก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นต้น รวมไปถึงการรับซื้อกระเป๋าสานกระจูด หรือผ้าขาวม้า เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าต่างๆ ซึ่งบริษัทมีนโยบายในการขับเคลื่อนนโยบาย responsible Sourcing อย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถส่งต่อความช่วยเหลือให้กระจายไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ได้ทั่วประเทศ

“การขับเคลื่อน​ Responsible Sourcing ของ​ S&P เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ต่อไปนี้ คือ เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน และเป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน  โดยลูกค้าสามารถลิ้มลองน้ำส้มอินทรีย์สีทองคั้นสดได้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2566 – 29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ร้านเอส แอนด์ พี ที่ร่วมรายการ”

มุ่งปรับปรุงกระบวนการผลิต เพิ่ม Renewable 

S&P ยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการหันมาใช้พลังงานสะอาดภายในกระบวนการผลิต ทั้งการติดตั้งแผงโซลาร์ทั้งในโรงงานทั้ง 4 แห่ง และสำนักงานใหญ่ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน (Renewable) ให้มากขึ้น โดยในปี  2565 ที่ผ่านมา โรงงานเบเกอรี่บางพลี (บางนา-ตราด กม.23.5) ​สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้แล้วกว่า 52% ​ขณะที่ในโรงงานเบเกอรีลำพูน โรงงานอาหารลาดกระบัง และศูนย์กระจายสินค้า ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้วเสร็จในช่วงปลายปี และคาดว่าจะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ภายในปีหน้า

นอกจากนี้ บริษัทยังสามารถบริหารการใช้พลังงานเพื่อการขนส่งกระจายสินค้า หลังมีการลงทุนกว่า  500 ล้านบาท เพื่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่เมื่อช่วง 3 -4 ปีที่ผ่านมา สำหรับเป็นศูนย์กลางในการวางแผนบริหารคลังสินค้าและการขนส่ง รวมทั้งจัดวางเส้นทางในการวิ่งได้อย่างเหมาะสม และลดเที่ยวเดินทางให้น้อยลง จึงช่วยลด​ต้นทุนการใช้น้ำมันลงได้กว่า 11% หรือประหยัดไปได้มากกว่า 9 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนคาร์บอนที่ลดลงไปกว่า 572 ตันคาร์บอนเทียบเท่า (CO2e) เทียบเท่าการปลูกต้นไม้มากกว่า 4.7 หมื่นต้น รวมทั้งช่วงปลายปีนี้ จะเริ่มนำรถขนส่งไฟฟ้า หรือ EV Truck มานำร่องในการกระจายสินค้าไปยังสาขาหน้าร้าน S&P ในเส้นทางกรุงเทพฯ และปริมมณฑลช่วงปลายปีนี้ เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในกระบวนการให้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“S&P มุ่งมั่นพัฒนากระบวนการผลิตให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง ทำให้ได้รับเครื่องหมายรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2566 ทั้งในมิติขององค์กร (CFO) จากทั้ง 4 โรงงานและสำนักงานใหญ่ และผลิตภัณฑ์ ทั้งการควบคุมการปลดปล่อยอย่างเหมาะสม (CFP) จากบัวลอยเผือก, บัวลอยมันม่วงมะพร้าวอ่อน และบัวลอยสามสี รวมทั้ง​การลดการปลดปล่อยหรือฉลากลดโลกร้อน (CFR) จากบัทเทอร์เค้กวานิลา ซึ่งในอนาคต​ยังมีแผนลดการปลดปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2593  และลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี 2608  ซึ่งการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายได้เริ่มทำการวัดการปลดปล่อยคาร์บอนภายในองค์กร จาก 4 โรงงานหลัก และสำนักงานใหญ่ อยู่ที่ราว 1.3 หมื่นตัน CO2e พร้อมวางเป้าหมายระยะสั้นภายในปี 2573 จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนลงในเบื้องต้นได้ 50% ​พร้อมทั้งเริ่มหาแนวทางในการประเมินการปลดปล่อยได้ครอบคลุมทั้ง Ecosystem เพื่อรองรับการขับเคลื่อนในขอบเขต 3 (Scope3) ที่รวมทั้งเครือข่ายร้านสาขาต่างๆ ที่รองรับการเข้ามาใช้บริการของลูกค้าทั่วทั้งประเทศ​กว่า 470 แห่งทั่วประเทศ”​

“ทั้งหมดนี้เปรียบเสมือนการต่อภาพจิ๊กซอว์แห่งความสำเร็จ เราใช้เวลาในการต่อจิ๊กซอว์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความมุ่งมั่นพยายามดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดนิ่ง สามารถก้าวข้ามสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างแข็งแกร่งเพื่อสานต่อความมุ่งมั่นและริเริ่มโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินโครงการต่างๆ เกิดประสิทธิผลสูงสุดและเป็นประโยชน์ต่อผู้รับอย่างแท้จริง”

Stay Connected
Latest News