เบื้องหลัง​การเดินทาง 24 ปี ของ​ ‘ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก’ พร้อมขยายผล จาก ‘ผู้รับ สู่ ‘ผู้ให้’ ร่วมสานต่อปณิธานแห่งการให้ที่ยั่งยืน

ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 24 แล้ว สำหรับคาราวาน ‘ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก(Eco Friendly Blanket) ภายใต้โครงการ ‘ไทยเบฟรวมใจ…ต้านภัยหนาว’ ที่สานต่อปณิธานแห่งการให้อย่างยั่งยืน เพื่อร่วมส่งมอบรอยยิ้มและไออุ่นไปยังพี่น้องคนไทยผู้ประสบภัยหนาวทั่วประเทศ ซึ่งในปีนี้มีเป้าหมายส่งมอบผ้าห่มครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัด 242 อำเภอ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

สำหรับโครงการไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสานต่อปณิธานแห่งการ ‘ให้’ ของท่านประธานเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่เชื่อมั่น​ว่า “คนไทยให้กันได้” พร้อม​ส่งมอบผ้าห่มเขียวปีละ 2 แสน​ผืน เพื่อ​ส่งมอบให้พื้นที่ห่างไกลและประสบภัยหนาวในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องถึง 24 ปี ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน

ขับเคลื่อนคาราวานต่อเนื่อง 24 ปี  

ซึ่งนอกจากผ้าห่มแล้ว ในทุกๆ ปี คาราวานแห่งการให้ของไทยเบฟยังเข้าไปพร้อมกับการมอบโอกาส และความช่วยเหลือให้ผู้คนในพื้นที่ ทั้งด้านการศึกษา กีฬา สาธารณสุข รวมถึงการมอบทุนให้โรงเรียนในพื้นที่ และการจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์จากพันธมิตรหลากหลายหน่วยงานที่ร่วมพลังสร้างสรรค์รอยยิ้ม และแบ่งปันความสุขให้​ทุกๆ คน

โดยหนึ่งในพื้นที่ที่คาราวานแห่งการให้ของไทยเบฟได้ไปเยือนในปีนี้ คือ หมู่บ้านโละโคะ จ.กำแพงเพชร ซึ่งเป็นที่ตั้งของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเขาเผ่าม้ง และเผ่ากระเหรี่ยง และเป็นพื้นที่​ห่างไกลสุดขอบเขตแดนประเทศไทย ยังไม่มีไฟฟ้า และสัญญาณโทรศัพท์ ​​และเดินทางเข้าไปได้ค่อนข้างยาก ​ผ่านหุบเขา ขอบเหว และผาสูงชันตลอด​สองข้างทาง ขณะที่สภาพภูมิอากาศ​ช่วงกลางคืนจะหนาวเย็นตลอดทั้งปี และยิ่งหนาวเย็นมากขึ้นในฤดูหนาวช่วงปลายปี ทำให้การเข้ามาของ​​คาราวานผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลกในครั้งนี้ สร้างความประทับใจและรอยยิ้มให้กับคนในพื้นที่อย่างมาก

คุณธารทิพย์ ศิรินุพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไทยเบฟฯ ขับเคลื่อนโครงการ ‘ไทยเบฟรวมใจ…ต้านภัยหนาว’ พร้อมส่งมอบคาราวานแห่งการให้ เพื่อเติมเต็มโอกาสและส่งมอบความห่วงใยให้พี่น้องคนไทยทุกปีอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับพันธมิตรในแต่ละพื้นที่เพื่อร่วมส่งต่อสิ่งดีๆ ไปสู่ผู้คน รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย

เนื่องจาก ผ้าห่มผืนเขียวทั้ง 2 แสนผืนนั้น เป็นผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก ที่ผลิตขึ้นมาจากบรรจุภัณฑ์พลาสติขวด PET ที่นำมารีไซเคิล โดยผ้าห่ม 1 ผืน ผลิตขึ้นมาจากขวด PET 38 ขวด รวมท้ังยังนำไปผลิตเป็นเสื้อสำหรับพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรมในคาราวานด้วย ซึ่งเสื้อ 1 ตัว จะผลิตมาจากขวด PET 22 ขวด ทำให้ในแต่ละปีโครงการไทยเบฟรวมใจ ต้านภัยหนาว จะสามารถลดขยะพลาสติกจากจวด PET ลงได้เกือบ 8 ล้านขวดเลยทีเดียว

”โครงการในปีนี้ยังได้ขยายผลมาสู่​การจัด​กิจกรรม จาก ‘ผู้รับ’ สู่ ‘ผู้ให้’ เป็นครั้งแรกอีกด้วย โดยกลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟฯ อย่างไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ในเครือเพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบรีไซเคิล ได้มา​ร่วมออกบูธเพื่อรณรงค์การคัดแยกขยะ และเก็บกลับบรรจุภัณฑ์จากในพื้นที่ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ได้เก็บรวบรวม​ขยะพลาสติก​ เพื่อนำมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และนำไปผลิตเป็นผ้าห่มเพื่อส่งต่อความช่วยเหลือและห่วงใยให้กับผู้คนในพื้นที่อื่นๆ ในปีอื่นๆ ต่อไป เพื่อส่งต่อจากการเป็นผู้รับในวันนี้สู่การเป็นผู้ให้ในอนาคตต่อไป” คุณธารทิพย์ กล่าว

ด้าน คุณ​วลงกรณ์ กาญจนาภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่ TBR เข้ามาร่วม​กิจกรรม จาก ‘ผู้รับ’ สู่ ‘ผู้ให้’ ด้วยการเข้ามาออกบูธเพื่อรับคืนขยะขวดพลาสติกหลังการาบริโภคในพื้นที่ เพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการคัดแยก และรีไซเคิลเป็นผ้าห่มผืนเขียวสำหรับส่งมอบให้ผู้ประสบภัยหนาวในปีต่อๆ ไป เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้ผู้คนในพื้นที่เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ​โดยมีผลลัพธ์จากการแยกขยะที่จับต้องได้ อย่างการนำไปผลิตเป็นผ้าห่มเพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านอยากมีส่วนร่วมในการแยกขยะ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งทั้งในการดูแลโลกรวมทั้งการส่งต่อความห่วงใยที่ตัวเองได้รับในวันนี้ไปยังผู้อื่นต่อไปได้ด้วย

สำหรับ TBR เป็นกลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟฯ มีภารกิจสำคัญในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ที่ทางเครือผลิตออกมาจำหน่าย โดยตั้งเป้าเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ทุกชนิดได้ทั้ง 100% ภายในปี 2030 โดยปัจจุบันมีศูนย์คัดแยกขยะบรรจุภัณฑ์ราว 45 สาขาทั่วประเทศ รวมทั้งการมีหน่วยเก็บกลับผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในเครือ เช่น ในงานอีเวนท์ คอนเสิร์ต หรือกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือกับทางโรงเรียน ชมุชน ตลาด หรือสถานประกอบการต่างๆ เพื่อสามารถจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ได้อย่างครอบคลุม ​ ควบคู่ไปกับการมุ่งมั่นส่งต่อองค์ความรู้สู่สังคมในวงกว้างเพื่อให้เห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณสู่หลุ่มฝังกลบ

โดยบรรจุภัณฑ์แต่ละชนิดที่เก็บกลับได้ จะนำไปต่อยอดประโยชน์ต่างๆ เช่น ขวด PET ใส จะนำไปผลิตเป็นผ้าห่ม PET สีจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เชือกรัดสินค้า ส่วนกระป๋องอะลูมิเนียม กระดาษ และขวดแก้ว สามารถนำไปรีไซเคิลเพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ซ้ำได้อีกครั้ง

“ในทุกๆ ปี TBR จะเข้าร่วมโครงการด้วยการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญเรื่องการคัดแยกขยะ พร้อมส่งมอบองค์ความรู้ให้กับโรงเรียน ชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ โดยในปีนี้ได้ขยายผลมาสู่การรับคืนบรรจุภัณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนในพื้นที่ได้มากขึ้น ซึ่งขวด PET ที่เก็บกลับจะถูกนำไปคัดแยก ทำความสะอาด เพื่อผลิตเป็นเม็ดพลาสติก rPET และนำไปผลิตเป็นเส้นใยสำหรับผลิตเป็นผ้าห่มในปีต่อๆ ไป รวมไปถึงการผลิตเป็นเสื้อสำหรับทีมงานใส่ในการทำกิจกรรม โดยในทุกๆ ปีจากนี้ ทาง TBR จะร่วมเดินทางไปกับคาราวานผ้าห่มผืนเขียว เพื่อเข้าไปรับคืนขวด PET จาก​​โรงเรียน ชุมชน หรือสถานประกอบการในพื้นที่ที่ทางคาราวานได้เดินทางเข้าไปถึง เพื่อร่วมรณรงค์ในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป” คุณวลงกรณ์ กล่าวปิดท้าย

Stay Connected
Latest News