ทำความรู้จัก ‘Sustainomy’ ​ภาคต่อระบบ​​ทุนนิยมใหม่ เมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิม ไม่สามารถเอื้อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้จริง

แม้ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันจะสร้างผลประโยชน์มากมายให้มนุษยชาติ แต่ผลประโยชน์เหล่านั้นไม่สามารถเทียบได้กับผลเสียที่ระบบเศรษฐกิจแบบเดิมๆ สร้างขึ้น อาทิ ความไม่เป็นธรรมในการกระจายความมั่งคั่ง สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ย่ำแย่ลง รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่ยั่งยืน

จากความ​ ‘ย้อนแย้ง‘ ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน แม้คนหนึ่งคน บริษัทหนึ่งบริษัท หรือประเทศหนึ่งประเทศจะพยายาม​ทำกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนมากเพียงไร แต่สุดท้ายธรรมชาติของความต้องการสร้างผลกำไรทำให้พวกเขาต้องกลับมาใช้ชีวิตในระบบ ‘ทุนนิยม’ ตามปกติเช่นเดิม

เป็นที่มา​ของแนวคิด​ “Sustainomy” ซึ่งมุ่งมั่นในการสร้าง ‘นิยามใหม่ของระบบทุนนิยม’ ที่ไม่เพียงให้ความสำคัญแค่เรื่องผลตอบแทนทางการเงิน แต่ต้องให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่นำมาซึ่ง​ความยั่งยืนของ​สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคมควบคู่ไปด้วย

คุณอาร์ม – ปิยะชาติ  อิศรภักดี CEO BRANDi and Companies หรือ แบรนดิ กล่าวถึงแนวคิด ‘Sustainomy’ ในปาฐกถาพิเศษ The New Global Economy: Making Capitalism Work for the Environment and Communities  จากงาน Economist Impact’s 3rd annual Sustainability Week Asia  เพื่อฉายโมเดลพัฒนาระบบเศรษฐกิจของโลกตามแนวทางใหม่ เนื่องจากแนวทางที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถเอื้อให้เกิดการเศรษฐกิจที่ยั่งยืนได้จริง ​

ประกอบกับความพยายามในการขับเคลื่อนความยั่งยืนที่เกิดขึ้นทั่วโลกโดยส่วนใหญ่ มีลักษณะของการ ‘ฝืน’ จากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันมากจนเกินไป ส่งผลให้ Scale ของ Unusual หรือความไม่เป็นปกติ ไม่สมดุลกับความพยายามในการสร้างให้เป็นปกติ หรือ ​Usual และถือว่าเป็นปัญหาที่แท้จริงของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ขับเคลื่อนกันอยู่ในปัจจุบัน

การขับเคลื่อนความยั่งยืนทั่วโลกในปัจจุบัน มีลักษณะเหมือนการปลูก ‘เมล็ดพันธุ์ที่ดี’ ลงใน ‘ดินที่แย่’ ทำให้ปลูกเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น ดังนั้น หากต้องการสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง เราต้องเปลี่ยนทั้งดินและกระถาง โดยกลับไปทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันเสียใหม่ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่มีอยู่ทั้งหมด เพื่อทำให้เกิด ‘สภาพแวดล้อม’ ที่​เอื้อต่อการเติบโต เพื่อเป็นพื้นที่สำคัญในการปลูกโครงสร้าง​แนวทางในการพัฒนาที่สามารถสร้างทั้งความมั่งคั่งไปพร้อมกับการยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์และการดูแลสิ่งแวดล้อมแบบควบคู่ไปพร้อมกันได้อย่างแท้จริง”

ดังนั้น แนวทาง​ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง​ ต้องสามารถสร้างการเติบโตใหม่​ไปพร้อมความจำเป็นในการรักษาของเก่าให้มั่นคง พร้อมทั้งการสร้างและต่อยอดของใหม่ที่เป็นมิตรต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมโดยไม่ฝืนธรรมชาติ และถือนับเป็นความท้าทายอย่างมากต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการต่อสู้ และเอาชนะกับความเคยชิน และความสบายแบบเดิมๆ เนื่องจาก ‘Sustainomy’ เปรียบเสมือนภาคต่อของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมแบบเดิม ซึ่งอาจไม่ใช่ระบบที่ไม่ดีหรือเป็นเรื่องผิด ​แต่อาจ​เพราะเป็นระบบที่อยู่มานานเกินไปและเริ่มไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้ตัวระบบเองเกิดปัญหา ​(Triple One Effects) มากกว่าที่จะสร้างให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด

ขณะที่ แนวคิด Sustainomy จะนำมามาซึ่งระบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนวิธีคิดจากการหา​ How เพื่อที่จะเดินไปสู่เป้าหมาย มาเป็นการตั้งโจทย์ที่ถูกต้องตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น แล้วจึงหา Way ที่เหมาะสมที่สุด โดยมองบริบทโดยรอบอย่างสอดคล้องเพื่อให้โซลูชันที่ได้มานั้น ไม่จำเป็นต้องแลกมาซึ่งผลลัพธ์ที่อาจสร้างความเสียหาย​ หรืออาจจะต้องแลกกับอะไรที่ไม่คุ้มค่า และสามารถ​​สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน เพื่อสร้างโมเดลการพัฒนาที่ขับเคลื่อนและสร้างผลลัพธ์ที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีได้อย่างแท้จริง

โดยมีประเด็นชี้วัดสำคัญของระบบเศรษฐกิจใหม่อย่าง ‘Sustainomy’ ภายใต้การขับเคลื่อนผ่าน 3 แนวทางสำคัญ ประกอบด้วย

1. แนวทางที่มุ่งสร้างการเติบโตให้ครอบคลุมมากกว่าแค่ผลกำไร : มุ่งขยายคำจำกัดความของการเติบโตให้ครอบคลุมทั้งการสร้างความ​มั่งคั่ง (Prosperity) ​​ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน (People) และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Planet) ด้วย

2. สร้างพอร์ตโฟลิโอที่สมดุล: ส่งเสริมองค์ประกอบของเศรษฐกิจที่มีความสมดุล โดยมีสัดส่วนของอุตสาหกรรมที่มีมายาวนานและมีความมั่นคง (เศรษฐกิจจริง — Real Sector) และอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมนวัตกรรม แต่มีความผันผวน (เศรษฐกิจเสมือน — Virtual Sector) ที่เหมาะสม

3. เสริมความแข็งแกร่งให้กับ ‘ตรงกลาง’ : ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และกลุ่มชนชั้นกลาง ในการขับเคลื่อนทางออกใหม่ที่ยั่งยืน

“การสร้างระบบ Sustainomy เป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และต้องอาศัย ‘ความร่วมมือ’ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อทำให้ทุกคนและทุกภาคส่วน ​ทั้ง​องค์กร และตลาด​ต้องร่วมมือกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลง​เศรษฐกิจภาพใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิด​เศรษฐกิจใหม่ที่แท้จริง และสามารถสร้างประโยชน์ที่ครอบคลุมให้กับทุกคนได้อย่างทั่วถึง ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ถ้าโลก ประเทศ สังคม บริษัท หรือแม้กระทั่งตัวเราเองสามารถปรับแนวทาง​ Sustainomy ไปใช้ในทางปฏิบัติ ได้จริง ​จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ตลอดจนสร้างผล​กระทบเชิงบวกได้แบบทวีคูณ” คุณอาร์ม กล่าวทิ้งท้าย

รายละเอียดเพิ่มเติมของแนวคิด Sustainomy คลิก  https://www.brandiandcompanies.com/sustainomy

Stay Connected
Latest News