ยิ่ง ‘ลักชู’ ยิ่งต้อง ‘ยั่งยืน’ ส่องกลยุทธ์ ‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า’ จากท่าเรือปลอดคาร์บอนหนึ่งเดียวของเอเชียสู่​ฮับ ‘Sustainable Living Lifestyle’

‘รอยัล ภูเก็ต มารีน่า‘ (RPM : Royal Phuket Marina) ผู้ให้บริการท่าจอดเรือยอชท์ชั้นนำในภูเก็ต ซึ่งได้รับการรับรองว่าเป็นท่าเรือปลอดคาร์บอนแห่งแรกและแห่งเดียวในเอเชีย รวมทั้งยังเป็นโครงการ ​Mixed-use เพียงแห่งเดียวของภูเก็ตที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนอีกด้วย

นอกจากนี้ RPM ยังเป็นท่าเรือแห่งเดียวของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น Gold Anchor Certification ระดับ 5 จาก สมาคมท่าเรือยอชท์ และรางวัล International Clean Marina Award จาก MIA ในฐานะผู้บุกเบิกแนวทางปฏิบัติการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังคงเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมเพื่อลด CO2 Emission เพื่อรักษา Biodiversity ในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสะท้อน​ความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน​ ภายใต้แนวคิด​ ‘Sustainability is Our Key Priority‘ ​

จากท่าจอดเรือยอทช์ สู่ Lifestyle Destination

ตลอดการขับเคลื่อนมากว่า 20 ปี RPM ได้ขยับเป้าหมายเพื่อ​พัฒนาให้โครงการเป็นมากกว่า​ Marina ​หรือจากผู้ให้บริการจอดเรือยอชท์ มาสู่ Lifestyle Destination และแน่นอนว่าต้องเป็นไลฟ์สไตล์ในตลาดระดับ Luxury อย่างแน่นอน เพราะกลุ่มเป้าหมายโครงการก็คือ บรรดา Billionaire หรือกลุ่มมหาเศรษฐีเจ้าของเรือยอทช์จากทั่วโลก

RPM  ​ตั้งอยู่ใน Prime Location ​ที่เปรียบเสมือนประตูสู่อ่าวพังงาและทะเลอันดามัน เชื่อมสู่เกาะต่างๆ ได้ถึง 32 เกาะ จึงถือเป็น Hub ของจังหวัด มีพื้นที่โครงการ 185 ไร่ ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาไปแล้วราว 35% ทั้งการให้บริการท่าจอดเรือยอทช์ราว 250 ลำ ​​รวมทั้งการพัฒนาที่พักอาศัยระดับ 5 ดาว ทั้งอพาร์ทเมนต์ เพนท์เฮ้าส์ รวมทั้งวิลล่าและอความิเนียม (ที่พักพร้อมท่าจอดเรือส่วนตัว​) เพื่อสร้างความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ให้โครงการ  ทำให้ปัจจุบัน RPM เป็นหนึ่งในฮับของท่าจอดเรือยอทช์ที่รองรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ชื่นชอบการเดินทางล่องเรือจากทั่วโลก

นอกเหนือจากเสน่ห์ในการอยู่อาศัยแล้ว RPM ยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจ ด้วยทำเลทองที่ตั้งใจกลางเกาะภูเก็ต จึงเหมาะอย่างยิ่งกับการเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับธุรกิจ พื้นที่เช่าสำหรับร้านอาหารหรือสำนักงาน และพื้นที่ในการจัดกิจกรรม อีเว้น ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางของกลุ่มนักล่องเรือยอทช์ เพราะเป็นพื้นที่ในการจัดงาน International Boat Show ที่จะมาจัดในโครงการเป็นประจำทุกปี

คุณกูลู ลัลวานี ประธานบริษัท และผู้ก่อตั้งโครงการรอยัล ภูเก็ต มารีน่า (​RPM) กล่าวถึงแผนการพัฒนาเพื่อยกระดับ RPM จากกภาพของการเป็นท่าจอดเรือมาสู่จุดหมายของ​ Luxyry Lifestyle จากทั่วโลก ด้วยการลงทุนเพิ่ม​อีกกว่า 1,500 ล้านบาท เพื่อเติมแม็กเน็ตในโครงการมากขึ้น ​ทั้งการสร้างโรงแรมหรู 5 ดาว ขนาด 300 ห้อง เซอร์วิสอพาร์ทหรู พร้อมบริการระดับ 5 ดาว รวมทั้งขยายพูลวิลล่า 42 หลัง ซึ่งมาพร้อมออพชั่นท่าจอดเรือยอทช์แบบเอ็กคลูซีฟ เพื่อเพิ่ม Capacity ในการรองรับการเติบโตในอนาคต ​โดยขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งคาดว่าจะเริ่มประกาศโครงการได้ราวเดือนตุลาคมปีนี้ และใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี

นอกจากนี้ ยังมีแผนรีโนเวทพื้นที่เพื่อเพิ่ม Facility ให้รองรับการเป็น Lifestyle Destination มากขึ้น ด้วยการเพิ่มเอ้าท์เล็ตภายในโครงการจาก 2-3 ร้าน ให้มีเพิ่มขึ้นเป็น 29-30 ร้าน ​เน้น​กลุ่ม F&B โดยเฉพาะร้านดังระดับมิชลินสตาร์ หรือร้านชื่อดังจากต่างประเทศ เพื่อสร้างบรรยากาศเป็น Board Walk ในโครงการ และกลายเป็นอีกหนึ่งจุด New Check Point ของภูเก็ต ​รวมทั้งเพิ่มบริการ Evening Boat Trip เพื่อเพิ่มกิจกรรมในช่วงเย็นและกลางคืน เช่น ทริปชมพระอาทิตย์ตกดิน และกิจกรรม Night Life ต่างๆ ซึ่ง​คาดว่าจะเพิ่มจำนวนผู้เข้ามาในโครงการได้มากขึ้น จากปัจจุบันมีผู้เข้ามาในโครงการราว 1,800 คนต่อวัน ​และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับแหล่งท่องเที่​ยวในระดับภูมิภาคอย่างบาหลีได้มากขึ้น

“ศักยภาพของภูเก็ตมาจากหลายจุดแข็ง ทั้งการเป็น​ Global Destination โดยรองรับนักท่องเที่ยวเฉลี่ยในแต่ละปีที่กว่า 10 ล้านคน จากการเดินทางเข้ามาทั้งทางรถ เรือ และเครื่องบิน โดยมีไฟลท์บินจากท่าอากาศยานภูเก็ตทั้งขาออกและขาเข้ามากกว่า 300 เที่ยวต่อวัน ​ขณะที่นักท่องเที่ยวประมาณ 50% ของพื้นที่ทั่วโลก สามารถเดินทางมาด้วยเครื่องบินได้ภายในไม่เกิน 6 ชั่วโมง ​และกำลังซื้อระดับสูงของนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 6 พันบาทต่อวัน ภูเก็ตจึงเป็นหมุดหมายยอดนิยมแห่งหนึ่งของโลกทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยว รวทั้งนักธุรกิจที่มองหาโอกาสในการลงทุนต่อยอดธุรกิจใหม่ หรือกลุ่มนักธุรกิจที่ต้องการมาเกษียณในประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งเป็นโอกาสของ RPM ในฐานะทางเลือกที่ตอบโจทย์​ ซึ่งไม่เพียงสร้างการเติบโตของธุรกิจ แต่ยังส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในจังหวัดภูเก็ตรวมทั้งของประเทศไทยอีกด้วย”​

Sustainability is Key ในตลาดลักช์ชัวรี่

อีกหนึ่งจุดแข็ง​​ที่ทาง RPM นำมาใช้สร้างความแตกต่างและ Unique ให้โครงการคือ การขับเคลื่อนโครงการตามแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำให้เป็นโครงการที่มีความผสมผสานและตอบโจทย์ได้ทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยว​ ที่ชื่นชอบทะเล การเดินทาง และผจญภัย ภายใต้ไลฟ์สไตล์ที่มีความหรูหรา แต่ยังสามารถบาลานซ์เรื่องของความยั่งยืนไว้ได้อย่างสมดุล ​

คุณกูลู ลัลวานี แชร์อินไซต์นักท่องเที่ยวในตลาดระดับบนให้ฟังว่า เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมของบรรดาธุรกิจต่างๆ อย่างมาก และยอมที่จะลดความสะดวกสบายบางอย่างลง หากเป็นสิ่งที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลจาก Thailand Tourism Forum 2023 ที่ระบุว่า ​ 95% ของนักท่องเที่ยวเลือกสถานที่ที่มีแนวทางการดำเนินงานพร้อมหลักการปฏิบัติงานเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือเป็นหนึ่งในปัจจัยอันดับที่ 4 ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว และ 40% ของนักท่องเที่ยวชาวเอเชียใช้แนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวเลือก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญในการดูแลระบบนิเวศทางทะเล ที่ถือเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนสำคัญของโลก และมีความสำคัญต่อทุกชีวิตบนโลก การสร้างความยั่งยืนในท้องทะเลจึงเป็นการสร้างความยั่งยืนของมนุษยชาติด้วยเช่นกัน

ขณะที่การขับเคลื่อนของ RPM ในฐานะผู้บุกเบิกการวางกลยุทธ์เพื่อสร้างความยั่งยืนในธุรกิจท่าจอดเรือ โดยมีเป้าหมายในการเป็น ‘Cleaner & Greener Marina’  ​​โดยมุ่งขับเคลื่อนตามโรดแมป Carbon Neutrality ภายในปี 2025 เพื่อมุ่งสู่ Net Zero เป็นเป้าหมายต่อไป

ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนตามโรดแมป ได้ทำการประเมิน Carbon Emission เพื่อใช้เป็นฐาน​คำนวณเพื่อ​ลดการปลดปล่อยให้เป็นศูนย์  ทั้งการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธภาพ การเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ การขับเคลื่อน Waste Management ในองค์กร รวมทั้งดำเนินการชดเชยคาร์บอนในส่วนที่เกิน ทำให้ RPM สามารถเป็น ท่าจอดเรือแห่งแรกของเอเชียที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน​ ซึ่งในปัจจุบันทางโครงการมีการปลดปล่อยคาร์บอนที่ 640 ตันต่อปี และสามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ได้ราว 40% ซึ่งในอนาคตเตรียมลงทุนติดตั้งเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถใช้พลังงานสะอาดได้ทั้ง 100%

​นอกจากการขับเคลื่อนภายในแล้ว RPM ยังมุ่งสร้างความร่วมมือภายใน Stakeholder ทั้งผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมทั้งลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ เช่น การรณรงค์ลดการใช้พลาสติก Single-use เพื่อลดความเสี่ยงในการสร้างขยะทะเล โดยรณรงค์การใช้กระบอกน้ำแทนขวดพลาสติก พร้อมเร่งติดตั้งตู้เติมน้ำภายในรอบโครงการ รวมทั้งส่งเสริมการแยกขยะจากถังขยะแต่ละประเภท ซึ่งในปีนี้จะทำงานร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเพื่อส่งเสริมการแยกขยะอย่างจริงจังและเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น ​รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาช่วยดูแลจัดการขยะในทะเล เช่น เรือเก็บขยะพลังงานแสงอาทิตย์ Sea-bin หรือร่วมมือกับมูลนิธิ Ocean for All เพื่อสนับสนุนการจัดการขยะพลาสติกในทะเล ​​การศึกษาร่วมกับทางผู้ประกอบการในการนำเรือไฟฟ้ามาให้บริการนักท่องเที่ยว รวมทั้งการให้ความสำคัญกับสภาพอากาศ ด้วยการติดตั้งเครื่องเพื่อมอนิเตอร์และประเมินสภาพอากาศภายในโครงการ พร้อมทั้งขยายผลการขับเคลื่อนไปสู่เกาะต่างๆ โดยรอบ ทั้งในมิติการดูแลสิ่งแวดล้อม และการดูแลคุณภาพชีวิตชุมชนต่างๆ ที่อยู่ภายในเกาะ เป็นต้น

“น่าเสียดายที่ ประเทศไทย เป็นหมุดหมายสำคัญด้านการท่องเที่ยวของโลก ถึงระดับ Top3 ขณะที่การพัฒนาด้านความยั่งยืนกลับอยู่ในระดับรั้งท้ายถึงอันดับที่ 85 ของโลก หนึ่งในความตั้งใจของเราคือ การมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาที่ยั่งยืนในกลุ่ม Top Tier ได้ในทิศทางเดียวกับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่ โดย​เราจะมุ่ง​ขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วน การพัฒนานวัตกรรม ​หรือเพิ่มกิจกรรมที่ส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางธรรมชาติ เพื่อยกระดับการจากการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนที่สามารถบรรลุได้แล้ว ไปสู่เป้าหมายใหม่ในการสร้าง Sustainability Living เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถเป็น​ Global Best Practice เพื่อเป็นหนึ่งตัวอย่างที่สามารถสื่อสารถึงการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนไปสู่ทั่วโลกได้อีกทางหนึ่ง”

Stay Connected
Latest News