เชฟในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก “คิด” เพื่อลดขยะอาหาร

รวมถึงการปรับเปลี่ยนอาหารบุฟเฟ่ต์ให้เหมาะสม อีกทั้งคิดการโปรโมทแคมเปญการนำอาหารเหลือห่อกลับบ้าน

สิ่งเหล่านี้เป็นแผนการที่นำโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อม WWF โดย The Asian arm of the Hotel Kitchen Programme ได้รับการระดมทุนโดยมูลนิธิ Rokefeller ที่มีกำหนดเปิดตัวในงานประชุมนานาชาติและภูมิภาคด้านเชนโรงแรมที่จะเกิดขึ้นในประเทศสิงคโปร์

“นี่เป็นการเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และให้คนคิดต่างเรื่องอาหาร” Pete Pearson ผู้อำนวยการด้านขยะอาหารแห่ง WWF ประจำสำนักงานวอชิงตัน กล่าว

1ใน 3 ของอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลกไม่ได้ถูกบริโภค เนื่องจากมีสภาพเน่าเสียหลังการเก็บเกี่ยว และระหว่างการขนส่ง หรืออาจจะถูกทิ้งไปโดยร้านค้าและผู้บริโภคเสียเอง โดยรายงานของ U.N. Food and Agriculture Organization ระบุว่าเกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากกรณีดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 940 พันล้านดอลลาร์ต่อปี แม้ว่า 815 ล้านคนทั่วโลกต้องเข้านอนด้วยความหิวโหยทุกคืนก็ตาม

นอกจากนี้ การทิ้งขว้างอาหารจะเป็นตัวทำลายน้ำ พลังงานและเชื้อเพลิงที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต รวมถึงการเก็บรักษาและการแจกจ่ายอาหาร ขณะที่เศษอาหารจะจบลงด้วยวิธีการนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบซึ่งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทน

Joao Campari หัวหน้าฝึกการประกอบอาหารที่ทำงานร่วมกับ WWF International กล่าวว่า กลุ่มสนทนาที่เป็นที่รู้จักจากการทำงานกับสัตว์ป่าเริ่มโฟกัสไปยังอาหาร เนื่องจากกระบวนการผลิต ถือเป็นความรับผิดชอบต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของโลกกว่าร้อยละ70 เขากล่าวกับมูลนิธิ Thomson Reuters ว่า

“โลกเราไม่สามารถชดเชยทรัพยากรให้เพียงพอกับการบริโภคในปัจจุบันนี้ได้”

Hotel Kitchen ที่เริ่มนำร่องในสหรัฐฯร่วมกับแบรนด์โรงแรมต่างๆ เช่น Hilton, Hyatt และ Marriott International เป็นส่วนหนึ่งที่คอยผลักดันการลดขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 โดย WWF ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการพัฒนาโลก โดยกลุ่มโรงแรมดังกล่าวนี้ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเข้าร่วมในการขยายการริเริ่มออกไปในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก

ในการประชุมที่ให้การสนับสนุนโดย Waste and Resources Action Programme แห่งอังกฤษและสมาคมท่องเที่ยวแห่งภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก จะร่วมกับพนักงานด้านงานบริการคิดวิธีจำแนก จัดการ และลดปริมาณขยะอาหาร นอกจากนี้ เชฟโรงแรมในสหรัฐฯได้คิดเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า รายการอาหารสำหรับจัดบุฟเฟ่ต์ และงานอีเว้นท์ขนาดใหญ่ สามารถจะนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ อาหารที่มากเกินไปจะยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แทนที่จะนำชีสและเนื้อสำหรับบุฟเฟ่ต์จำนวนมากออกมาวางข้างนอก แต่ควรเก็บรักษาความสดไว้หลังเคาน์เตอร์และนำออกมาเมื่อลูกค้าถามหาเท่านั้นเป็นอีกวิธีที่ดีในการลดขยะอาหาร

แผนการของสหรัฐฯได้จัดอบรมพนักงาน พัฒนาสูตรอาหารโดยใช้ส่วนผสมที่เหลือใช้ แยกขยะอาหารจากถังขยะทั่วไป ตรวจสอบและสร้างการรับรู้ของลูกค้า เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น การบริจาคอาหารที่ไม่ได้ใช้งานและการให้ลูกค้านำอาหารที่เหลือกลับบ้านจะเป็นประเด็นที่นำมาถกกันด้วย

“การกินอาหารสุรุ่ยสุร่ายก็คือการใช้ทุกอย่างอย่างสิ้นเปลือง และเราก็ใกล้หมดเวลาแล้ว” 

Pearson กล่าวต่อว่า โปรแกรมของ WWF มีกำหนดเปิดตัวในยุโรปภายใน 3 เดือนข้างหน้านี้ โดยโรงแรมสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 7 ดอลลาร์ต่อทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่มีการลดขยะอาหารลงตามรายงานฉบับใหม่ที่จัดทำขึ้นโดย Champions 12.3 Coalition ที่วิเคราะห์โรงแรมจำนวน 42 แห่งใน 15 ประเทศ อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ยังระบุว่า กว่าร้อยละ 70 ของโรงแรมที่ได้รับการวิเคราะห์สามารถคืนทุนได้ภายในปีแรกที่มีการนำโปรแกรมการลดขยะอาหารนี้มาใช้

ที่มา

ข่าวเกี่ยวข้อง

 

Stay Connected
Latest News