KBank กล่าว “เราบอกน้องๆ ว่า เรารับคนแบบคุณนะ !”

ไปเดินสยามพารากอน ต่อแถวซื้อโคเตะ ชานมไข่มุกที่ชอบ รอคิวนานมากกก แต่ก็รอ พอได้ของแล้วก็ไปไม่คิดอะไร แต่มีคนคิดว่านี่คือ Pain Point ! และเวลาต่อมากลายเป็นแอพฯ JustYip -เพียงแค่ หยิบ-หนึ่งใน Talent ที่ KBank ค้นหา และบอกน้องๆ ว่า “เรารับคนแบบคุณนะ !”

มีโอกาสตามงานธนาคารกสิกรไทยเริ่มสร้าง “คน” เพื่อเตรียมรับกับโลกแห่งอนาคตที่กำลังจะมาถึง ด้วยการตั้งแผนก Strategic People Solutions ขึ้นมาเพื่อสร้างคนสายพันธุ์ใหม่มารองรับงานธนาคารในอนาคต ในโปรเจค K Capstone ครั้งแรก เป็นโปรแกรมฝึกงานแบบเข้มข้น โดยรับสมัครนักศึกษาทั่วประเทศ 500 คน แล้วคัดเหลือเพียง 55 คน

แล้วก็มาถึงวันสำคัญของธนาคารเอง และนักศึกษาทั้ง 55 คนในวัน K Capstone Pitching ที่หน้าห้องประชุมสมานฉันท์ ชั้น 3 ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ

นึกว่ากำลังมางานของ StartUpที่กำลังจะ Pitching เพื่อหา Funding !!

เพราะสิ่งที่เจอคือ บูธต่างๆ มีน้องๆ คอยอธิบายถึงจุดเด่นๆ ของแอพพลิเคชั่น

“สวัสดีค่ะ/สวัสดีครับ”  หลังเริ่มทักทาย ทีม Full.stop ; Application เริ่มอธิบาย สำหรับคนชอบเที่ยว ที่มาพร้อม Function วางแผน จองการเดินทาง ที่พัก และควบคุมงบประมาณ ทั้งหมดจบที่เดียว

มาถึงทีม F2L (Fund 2 Loan) เห็น Pain Point โอกาสการได้รับสินเชื่อของธุรกิจขนาด SME ยากมาก Platform นี้เกิดขึ้นมาเพื่อระดมทุนสำหรับร้านค้าออนไลน์ขนาดเล็ก (SE) ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจ และช่องทางลงทุนใหม่ สำหรับผู้อยากลงทุนที่ต้องการดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากเงินทั่วไป

ส่วนทีม All we ; Application ที่จะทำให้ ชีวิตของเราจะง่ายขึ้น ลดความยุ่งยากกับการใช้ E-Wallet หลายใบ ทั้งเติมเงิน จ่ายบิล และซื้อของ ผ่าน Wallet ที่เดียว

ทีมถัดมา Cozy+ ; Application ที่จะแก้ปัญหาการลืมบัตรสมาชิก และไม่พลาดทุก Promotion เด็ดๆ ของร้านค้าต่างๆ ผ่าน Application นี้ที่เดียว

สุดท้ายทีม JustYip

“ผมไปเดินสยามพารากอน ต่อแถวซื้อโคเตะ ชานมไข่มุกนานมากตั้งแต่ก่อนได้ใบคิวมา พอได้ใบคิวมาก็รอต่อไปหน้าร้านกว่าจะได้ของ เราเห็น Pain Point ทันที จริงอยู่เรื่องคิว มีบางแอพทำแล้ว แต่ไม่มีคนแก้ปัญหาตรงที่จองแล้ว ก็ต้องมารออาหาร ทำยังไงพอมาถึงตามเวลาของคิวก็รับอาหารไปได้เลย”

เจตวัฒน์ ภัทรรังรอง หรือรถไฟ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในทีม JustYip เล่าถึง Pain Point ที่เกิดกับตัวเอง ซึ่ง ณภาภัช ประชาอนุวงศ์ หรือเชอร์รี่ นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ช่วยเสริมว่า

“จาก Pain Point เรามาปรับตามที่พี่ๆ ในแบงก์แนะนำ แต่สุดท้ายตอนตัดสินใจก็ขึ้นอยู่กับเรา ทางทีมเลือกการลงพื้นที่เลย ถามคนเลยว่าเกิดปัญหาจริงไหม จะแก้ไขจะทำอย่างไร  ร้านค้าต้องการเพิ่มออเดอร์ใน ช่วงเวลาท่ีที่นั่งภายในร้านมีจํากัด ในขณะท่ีร้านค้าสามารถรับออเดอร์ได้เพิ่มขึ้นอีก  ข้อมูลเหล่านี้เราก็นำมาแก้แอพฯเราด้วย”

JustYip ; Application จะทำให้การซื้อของ Take Home ของเราง่ายขึ้น เพียงแค่กดจอง แล้วหยิบกลับบ้านได้เลย และก็เป็นทีมชนะเลิศของ K Capstone Pitching

เจตวัฒน์ เล่าต่อเนื่องที่มาการคิดชื่อ คิดมาเยอะมาก จนกระทั่งเป็น JustYip เราก็ว่าตรงนะ ควรสื่อความเป็นไทยด้วย เพราะแอพเราฐานลูกค้าอยู่ที่เมืองไทย ซึ่งที่สังเกต แอพดังๆ ต่างประเทศก็ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาประเทศตัวเองยังดังได้

คณะกรรมการตัดสิน (จากขวา) พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการบริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด และ กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ผู้ก่อตั้ง 500 TUK TUK
“ทีมที่ชนะเนียนหลายเรื่อง แค่ชื่อก็ Wow, Target-Segment ก็ Wow เอาเทคโนโลยีมาใช้ก็ Wow ถามว่าจะทำจริงเป็นสเกลใหญ่ได้ไหม ต้องเป็นความพร้อมของคนหลายกลุ่มในอุตสาหกรรม …นี่เป็นไอเดีย ซึ่งผมว่าใกล้มาก สามารถนำไปใช้ได้จริง คนที่ Disruption มักเกิดจากคนเล็กๆ ที่มองเห็น Pain Point แล้วเข้าแก้ไข ก่อนขยายใหญ่ นี่คือเกมส์โลกใหม่ เราต้องพร้อมเปิดรับคนเล็กๆ เหล่านั้น โดยขอให้เริ่มจุดโฟกัส Segment โฟกัส Pain Point ที่ Unique ไม่เหมือนใครจริงๆ สร้างนวัตกรรมให้มนุษยชาติ เป็นสิ่งทีดีมาก”

พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินอธิบายต่อเนื่องว่า เดิมเป็นเกมส์คนใหญ่ แต่คนเล็กมองว่ายังมีโอกาสแก้ปัญหาได้อีก อย่ามองว่า Disruption แต่เป็นการ Improve พัฒนาให้ดีขึ้น

นี่คือ Sustainability ที่ใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีมาช่วย แต่ถ้าไม่มีความเป็นมนุษย์ที่อยากเข้าใจ และแก้ปัญหามนุษย์ สิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิด

คนรุ่นใหม่ จะต้องเข้าใจทั้งสังคมศาสตร์ และเข้าใจเทคโนโลยี ปัญหาธุรกิจ

“ผมเชื่อว่าวันนี้พวกเราเห็นกันแล้ว ถึงแม้ว่าเป็นโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับแบงก์ แต่เด็กๆ ตีโจทย์ข้ามจากแบงก์เยอะมากจนกระทั่งแบงก์เหลือนิดเดียว เช่น การเดินทางเป็นครอบครัวที่ใช้เทคโนโลยี ทำให้เป็นปัจเจกบุคคล เด็กๆ ไม่ได้เริ่มจากแบงก์นะว่า Payment หรืออะไร แต่เริ่มจากการเดินทางกับครอบครัว และอีกหลายเรื่อง แล้วเอา Uniqueness แต่ละจุด และเอา Power ของคนที่ให้ข้อมูลไปใช้กับคนมากมาย โดยไม่ได้พูเรื่องแบงก์เลย วันนี้เป็นเรื่อง Financial Inclusion เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นเรื่องของ Sustainability ขององค์กร เป็น Requirements ที่จะต้องไป”

พิพิธกล่าวในท้ายที่สุดว่า เราบอกน้องๆว่า เรารับคนแบบคุณนะ เราบอกมหาวิทยาลัยว่า เรายินดีครีเอทไปกับมหาวิทยาลัยในระบบการศึกษา เพื่อพัฒนาประเทศผ่านทาง New Talent, New Generation ซึ่งไม่ได้สร้างให้เฉพาะธนาคารกสิกรไทย หรือธุรกิจธนาคารเท่านั้น แต่เป็นการสร้างให้ประเทศ

ข่าวเกี่ยวข้อง

 

Stay Connected
Latest News

มูลนิธิ เมเจอร์ แคร์ จับมือ เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง หนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียน สอนปลูกผักปลอดสารพิษ พร้อมมอบโรงเรือนปลูกผัก “โครงการปลูกผัก สร้างสุข สร้างรายได้” ให้กับน้อง ๆ โรงเรียนบ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา