Eco-friendly Furniture โตต่อเนื่อง คาดมูลค่าแตะ 2 ล้านล้าน ใน 5 ปี ด้านผู้บริโภคยอมจ่ายแพงกว่า 5-10% หากช่วยลดมลพิษ

ตลาดเฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก (Green Furniture หรือ Eco-Friendly Furniture) เป็นเทรนด์ของเฟอร์นิเจอร์ ที่กำลังมาแรงและได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

แม้ปัจจุบันตลาดนี้จะมีสัดส่วนเพียง 10.3% ของมูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์รวมทุกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก ที่มีมูลค่ากว่า 4.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่ Research and Markets ระบุว่า ในปี 2570 ตลาดจะขยายมูลค่าแตะระดับ 6.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านบาท ในปี 2570 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 7% เพิ่มข้ึนกว่า 1.4 เท่า ในปี 2565

ด้านศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจกรุงไทย คอมพาส (Krungthai Compass) ระบุ 2 ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของ Green Furniture ได้แก่

1) พฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากข้ึน

– การสำรวจ Green Home Furnishings Consumer Survey ในปี 2564 ของ Sustainable Furnishings Council พบว่า ผู้บริโภค 87% เต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มข้ึนเพื่อซื้อสินค้าในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, 86% ให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุและกระบวนการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ 3 ใน 4 หรือ 39% ​ เต็มใจจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 10% จากราคา สินค้าปกติ

สอดคล้องกับ Statista ที่ระบุว่า ผู้บริโภค 76% ยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านที่ได้รับการรับรองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดย 60% เต็มใจจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 5-10% จาก ราคาสินค้าปกติ

2) การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอาคารรักษ์โลก (Green Building)    

– การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอาคารรักษ์โลก (Green Building) จะส่งผลให้ ความต้องการใช้ Green Furniture ขยายตัวตาม โดยในปี 2565 คาดว่าจะมีจำนวน Green Building ทั่วโลกที่ได้มาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) ทั้งสิ้น 93,000 โครงการ เพิ่มขึ้นกว่า 62% จาก 57,340 โครงการในปี 2560 และมีโอกาสที่จะขึ้นไปแตะระดับ 108,000 โครงการในปี 2567 ตามเทรนด์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญมากขึ้น

เช่นเดียวกับจำนวน Green Building ในไทยที่ได้มาตรการ LEED ก็คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกันจาก 132 โครงการ ในปี 2560 ขึ้นมาอยู่ที่ 254 โครงการในปี 2565 ก่อนที่จะขึ้นไปแตะระดับเกิน 300 โครงการได้ในปี 2567

ที่ผ่านมา อุตสาหกรรรมเฟอร์นิเจอร์เป็นหนึ่ง อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนจากกระบวนการผลิต และการกำจัดทิ้งหลังจากไม่ใช้งานแล้ว​โดยข้อมูลจาก European Environmental Bureau (EEB) ระบุว่า แต่ละปี มีเฟอร์นิเจอร์ในประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป ถูกเผาหรือฝังกลบไม่ต่ากว่า 10 ล้านตัน ขณะที่  My Tool Shed (UK) ระบุว่า เฉลี่ยการผลิตเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศประมาณ 47 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบได้กับการเผาไหม้ของน้ำมัน 20 ลิตร ทำให้เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก หรือ Green Furniture เริ่มมีบทบาทสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

สำหรับ เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก หรือ Green Furniture คือ เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตขึ้นโดยคำนึงถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ซึ่งการผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทนี้ จะให้ความสำคัญตั้งแต่การออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานหลักๆ ได้ อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังต้องออกแบบให้ดูดีมีสไตล์ และสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์และการใช้งานได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีการเลือกวัสดุและวิธีการผลิตที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการผลิตต้องใช้สารเคมีน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้าง รวมท้ังการคำรึงถึงวิธีการกำจัดหลังไม่ได้ใช้งานแล้ว ซึ่งอาจนำไปรีไซเคิลต่อได้ รวมทั้งผลิตจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่ายเพื่อส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมให้น้อยที่สุด

Stay Connected
Latest News