TCP Spirit ปี 2 พาศึกษา ‘ดอยตุงโมเดล’ ขยายเครือข่าย​ ‘ตามรอยวิถีไร้ขยะ’ ต่อยอด​เศรษฐกิจหมุนเวียนครบวงจร ตั้งแต่จัดการขยะ ถึงฟื้นฟูทรัพยากร

นำทีมคณะอาสาเข้ามาเรียนรู้ Circular Economy จากพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนและครบวงจรผ่าน ดอยตุงโมเดลในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย ที่มีการบริหารจัดการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบครบลูป และสามารถบริหารจัดการขยะในพื้นที่ให้เป็น Zero Waste to Landfill ได้เป็นผลสำเร็จ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่ในแต่ละปีต้องต้อนรับคนจากทั่วประเทศจำนวนมากก็ตาม

TCP Spirit คณะเศรษฐสร้าง ปีที่ 2 “แอ่วเหนือขึ้นดอย ตามรอยวิถีไร้ขยะ” จึงได้ต่อยอดองค์ความรู้จากปีแรก ที่มุ่งเน้น​ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ เพื่อยกระดับสู่การ​เจาะลึกโมเดลขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนจากโครงการดอยตุง ที่เมื่อหลายสิบปีก่อนเคยเป็นพื้นที่เขาหัวโล้น ดำรงชีพด้วยการปลูกฝิ่น ผู้คนในพื้นที่ขาดการศึกษาและยากจน แต่ปัจจุบันภาพต่างๆ เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพื้นที่ที่มีความอุดสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ผู้คนมีการศึกษาและมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าระดับความยากจนของประเทศ

ดังนั้น เพื่อเข้าใจกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้าน Circular Economy ที่ทำครบวงจรตั้งแต่การกำจัดและคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งในพื้นที่มีการแยกขยะไว้มากถึง 44 ประเภท เพื่อนำไปเข้าสู่กระบวนการของแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งในมิติของการพัฒนาและฟื้นฟูทั้งคุณภาพชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้ทีมอาสาที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสู่การลงมือทำจริงในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างเหมาะสม

จากวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็ง  สู่เครือข่ายที่แข็งแกร่ง

การขับเคลื่อน TCP Spirit คณะเศรษฐสร้าง ในปีแรก ได้นำทีมอาสาลงพื้นที่ชุมชนบ้านหาดทรายดำ จ.ระนอง เพื่อเรียนรู้การจัดการ คัดแยกขยะ เก็บกลับ และแปลงเป็นรายได้ให้ชุมชน และยังเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายอาสาที่ช่วยปลุกพลังคนในชุมชนในการตระหนักต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ​โดยในปัจจุบันสามารถเก็บกลับวัสดุรีไซเคิลได้แล้วกว่า 43 ตัน เพิ่มขึ้นถึง 200% นำมาสู่การต่อยอดเพื่อขยายทั้งเครือข่ายและพื้นที่ เพื่อลงลึกสู่วิถีไร้ขยะอย่างเข้มข้นมากขึ้น

คุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP กล่าวถึงความตั้งใจในการสร้าง​ TCP Spirit ให้เป็นเครือข่ายอาสาที่รวบรวมองค์ความรู้ในการพัฒนาทั้งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หลังจากขับเคลื่อนมิติการพัฒนามาในหลายมิติตั้งแต่ปี 2018 จนมาสู่ก่อตั้ง ‘คณะเศรษฐสร้าง’ ที่มีการขยายเครือข่ายไปในหลากหลายกลุ่มมากขึ้น ทำให้ในปีล่าสุดนี้ มีกลุ่มอาสาจากหลากหลายวัย และในสาขาอาชีพที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งแพทย์ อาจารย์ นักศึกษา ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่น หรือกลุ่มคนที่สนใจงานด้านการพัฒนา เพื่อสามารถนำองค์ความรู้ หรือโมเดลการพัฒนาที่ได้จากกิจกรรมครั้งนี้ ไปปรับใช้อย่างเหมาะสมกับปัญหาที่พบในพื้นที่ หรือองค์กรของตัวเอ​ง โดยมีเครือข่ายที่มี Passion ในเรื่องเดียวกัน หรือมีประสบการณ์ในเรื่องที่แตกต่างกันไป คอยให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน และสามารถนำไปต่อยอดสู่การลงมือปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ในเชิงบวกอ​ย่างแท้จริงได้

“ในส่วนการต่อยอดของ TCP ก็สามารถเรียนรู้แนวทางการพัฒนาของดอยตุงโมเดล ไปปรับใช้ทั้งในมิติของการขับเคลื่อน Circular Economy ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนหลักสำคัญที่เราต้องขับเคลื่อน เพื่อสามารถเข้าใจได้ครบทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือนำไปต่อยอดสู่เป้าหมายใหม่ๆ ที่ท้าทายมากขึ้นในองค์กร เช่น การตั้งเป้าสู่องค์กร Zero Waste ซึ่งต้องมีการขับเคลื่อนในอนาคตเพิ่มเติม หรือการขับเคลื่อนนโยบายเพิ่มเติมในต่างประเทศ โดยได้นำทีมจากทางเวียดนามมาเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ด้วย เพื่อร่วมศึกษาแนวทางในการนำไปต่อยอดเพื่อขับเคลื่อนนโยบายในเรื่องของความยั่งยืนเพิ่มเติมทั้งในจีนและเวียดนามซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไปที่ต้องมีการขับเคลื่อนเพิ่มเติมในอนาคต”​

ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน​ ควบคู่การฟื้นฟู

ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ในฐานะ ‘ครูใหญ่คณะเศรษฐสร้าง’ กล่าวถึงกิจกรรมที่เตรียมไว้เพื่อให้คณะอาสาได้เรียนรู้ ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’ อย่างเจาะลึก ผ่านชุดความรู้ต่างๆ ตามหลักสูตรดอยตุงโมเดล ทั้งการศึกษาการคัดแยกขยะที่ศูนย์จัดการขยะของดอยตุง ซึ่งสามารถแยกย่อยได้ถึง 44 ประเภท เพื่อประสิทธิภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำเข้าระบบรีไซเคิลได้ดีขึ้น การสร้างมูลค่าให้วัสดุประเภทต่างๆ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชน พร้อมเวิร์กช็อปเพื่อเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างตัวเราและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อเนื่องกันผ่าน The Butterfly Diagram : Visualizing the Circular Economy

“การขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนมี 3 มิติที่สำคัญ ตั้งแต่ Eliminate หรือการบริหารจัดการหรือกำจัดขยะตั้งแต่ต้นทางอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อสามารถ Circulate หรือนำกลับมาหมุนเวียนเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ได้ในหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขณะเดียวกันยังต้องให้ความสำคัญกับการ Regenerative หรือการเข้ามาฟื้นฟูเพื่อช่วยเพิ่มต้นทุนให้ธรรมชาติกลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง รวมทั้งรักษาความหลากหลายทางชีวภาพทางธรรมชาติให้ยังคงความสมดุลไว้ได้ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญทุกครบมิติจึงจะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง”

นอกจากนี้ การขับเคลื่อนจากภาครัฐหรือผู้กำกับนโยบายต่างๆ มีความสำคัญอย่างมากต่อการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนในระดับประเทศอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมจากภาคเอกชนทั้งความตระหนักรู้ รวมทั้งการลงมือทำอย่างเป็นรูปธรรม เพียงแต่ยังไม่ทั่วถึงและเท่าเทียม หากมี Regulator เข้ามาช่วยวางกฎระเบียบ เพื่อให้มี​เงื่อนไขและกติกาในการปฏิบัติภายใต้มาตรฐานเดียวกัน หรือการพิจารณาเพื่อให้การสนับสนุนธุรกิจที่มีการดำเนินงานด้านความยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะอาชีพที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะ จะทำให้สามารถมีเครื่องมือที่ช่วยเพิ่ม​อัตราการรีไซเคิล หรือการดูแลสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆ ได้อย่างมีป​ระสิทธิภาพและจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ด้าน คุณไพศาล คำกาศ ผู้ดูแลโครงการด้านสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาดอยตุง กล่าวเพิ่มเติมว่า ดอยตุงมีชุดความรู้ที่ตอบโจทย์ผู้เข้ามาศึกษาอย่างหลากหลาย ทั้งการเรียนรู้เฉพาะองค์ความรู้บางเรื่อง รวมทั้งการศึกษาภาพรวมการขับเคลื่อนโครงการแบบครบวงจร เพื่อสามารถนำไปปรับใช้สำหรับปัญหาของแต่ละพื้นที่ หรือเป้าหมายของแต่ละองค์กรได้อย่างเหมาะสม ทั้งการบริหารจัดการขยะ การต่อยอดมูลค่าเพิ่มให้วัสดุประเภทต่างๆ หรือในเรื่องของพลังงานทดแทน ที่มีต้นทางจากความเข้าใจประเภทของขยะแต่ละชนิดได้อย่างแท้จริง เป็นเหตุผลให้ดอยตุงมีการ​แยกขยะมากถึง 44 ประเภท เพื่อช่วย Educated ความแตกต่างและความสามารถในการนำไปต่อยอด​เพื่อลดปริมาณการฝังกลบเป็นศูนย์ได้อย่างแท้จริง

“สิ่งสำคัญสำหรับการบริหารจัดการในพื้นที่ คือการทำให้ทุกคนในชุมชนมีความตระหนักและร่วมมือกัน โดยเฉพาะการฝึกให้ชาวบ้านแยกขยะของตัวเองมาตั้งแต่ต้นทาง ทั้งขยะที่สามารถขายต่อได้ หรือขยะที่ต้องการนำมาทิ้ง ​ก็จะมีการกำหนดวันทิ้งที่แตกต่างกันไป โดยขยะบางประเภททางส่วนกลางจะไม่บริการจัดเก็บ เช่น ขยะเศษอาหาร ซึ่งชาวบ้านสามารถต่อยอดเป็นอาหารสัตว์ หรือทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อการเกษตรได้ หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ชาวบ้านในชุมชน เช่น การจัดประกวดหมู่บ้าน ซึ่งใช้มาตรฐานด้าน Zero Waste ระดับประเทศ หรือการจัด Big Cleaning Day รวมทั้งการมีศูนย์การเรียนรู้ด้านการจัดการขยะเพื่อสร้างองค์ความรู้ในคนในชุมชน เป็นต้น”​

Stay Connected
Latest News