Top StoriesTrending

‘เต็ดตรา แพ้ค’ เปิด ‘Trendipedia Consumer Trends 2025’ เข้าใจ 6 เทรนด์ผู้บริโภค ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ผลวิจัย Trendipedia Consumer Trends 2025 สะท้อนพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

เต็ดตรา แพ้ค ผู้พัฒนาโซลูชันการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อาหารชั้นนำของโลก เปิดเผยรายงาน ‘เทรนด์ดิพีเดีย ประจำปี 2568’ (Trendipedia Consumer Trends 2025) สะท้อนพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

คุณ​สุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การจัดทำ ‘เทรนด์ดิพีเดีย’ เพื่อทำ​ความเข้าใจถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบ​ธุรกิจ​ ให้สอดคล้องไปกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น  เพื่อ​ยังสามารถสร้าง​การเติบโตให้ธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

โดยในปีนี้เห็นได้ชัดเจนถึงความลึกซึ้งแและเข้มข้นมากขึ้นของผู้บริโภค เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า พร้อม​สรุป​ ​ 6 เทรนด์ผู้บริโภค ที่น่าจับตาในปี 2568 และส่งผลต่อการขับเคลื่อนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ในช่วง 5 ปีจากนี้

โดยเฉพาะ 2 เทรนด์สำคัญ ที่เชื่อว่าจะเข้ามามีบทบาทหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในปีนี้อย่างเห็นได้ชัด ได้แก่

1. Green by Default  : เมื่อผู้บริโภคมองว่า เรื่องของความยั่งยืน หรือ Sustainability กลายเป็นเรื่องจำเป็นพื้นฐานที่ต้องให้ความสำคัญ และต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แต่มีความคาดหวังว่าแบรนด์จะทำหน้าที่เป็นต้นทางในการส่งมอบความยั่งยืนผ่านสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้าเป็นผู้เข้าไปให้การสนับสนุนแบรนด์หรือธุรกิจที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แนวทางปรับตัวของธุรกิจGreen Value Chain ​แบรนด์หรือผู้ประกอบการต้อง​เชื่อมโยงเรื่องความยั่งยืนเข้ากับธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้​ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงความยั่งยืนได้มากขึ้น และไม่ใช่แค่การรักษ์โลกในส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ต้องเป็นการขับเคลื่อนได้ตลอดทั้ง Suply Chain  ตั้งแต่ต้นทางของการได้วัตถุดิบ กระบวนการผลิตและขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ไปจนถึง​​ความรับผิดชอบหลังการบริโภค ​โดยมีการดำเนินการอย่างโปร่งใสและจับต้องได้ เพื่อป้องกันการถูกกล่าวหาว่าฟอกเขียว

“ผู้บริโภค 80% ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อน และต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โดยยินดีที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่ดีต่อโลกและยอมจ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งบางส่วนจะมองหาสินค้าจากแบรนด์ที่จะทำให้การรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ผู้ประกอบการเองจึงจำเป็นต้องสื่อสารกับผู้บริโภคอย่างตรงไปตรงมาถึง​แนวทางการดูแลสิ่งแวดล้อมของแบรนด์ รวมถึงผู้บริโภคจะได้อะไรจากแบรนด์บ้าง เช่น บรรจุภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ วัตถุดิบใหม่ที่ช่วยประหยัดพลังงานในการผลิต เป็นต้น “

​2. Hyper Convenience : ผู้บริโภคยังให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะดวกสบาย แต่ต้องมีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น​มากขึ้นกว่าเดิม  ทั้งต้องเร็วได้มากขึ้น หรือหลากหลายขึ้นกว่าเดิม  เนื่องจากความเร่งรีบในการใช้ชีวิต เวลาที่จำกัด ภาระหน้าที่ในชีวิตที่มากขึ้น หรือเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มมากขึ้น

แนวทางการปรับตัวของธุรกิจ =  Convenience Unlocked การพัฒนาสินค้าหรือบริการที่สะดวกมากยิ่งขึ้น ​โดยพบว่า 75% จะม​องหาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความสะดวกสูงสุดได้แบบทันที ทำให้การเติบโตของกลุ่มผลิตภัณฑ์ Ready Meals หรือ Ready to drink เนื่องจากพบอินไซต์ถึงข้อจำกัดในการทำอาหารเอง ท้ังการจัดการขยะที่ยุ่งยาก และเสียเวลาในการทำมากเกินไป ​โดยอาหารพร้อมทานไม่เพียงแค่ทำให้อิ่มท้อง แต่ยังต้องสามารถตอบโจทย์เรื่องของประโยชน์และรสชาติที่อร่อยไปพร้อมกันได้ด้วย รวมไปถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ต้องตอบโจทย์ในเรื่องของการพกพาได้ง่าย สามารถเปิดและปิดได้อย่างสะดวก โดยไม่ทำให้หกเลอะเทอะ

นอกจากนี้ ยังมีเทรนด์ในมิติอื่นๆ ที่น่าสนใจเช่นกัน ประกอบด้วย

3. Mindful Wellness : ผู้บริโภคยังใส่ใจเรื่องของสุขภาพ แต่มีความลึกซึ้งมาก​ขึ้น โด​ยผู้บริโภคจะเริ่มให้ความสำคัญจนถึงส่วนผสมหรือวัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย​​ รวมทั้งสามารถสร้างสมดุลในการดูแลได้ทั้งร่างกายรวมทั้งจิตใจ

แนวทางการปรับตัวของธุรกิจWellness Wave เพื่อตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพที่เติบโต ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์​หรือเลือกวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติดูแลสุขภาพได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น การดูแลเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะบุคคลมากขึ้น  รวมทั้งการเลือกใช้วัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ​ ​รวมทั้งให้ความสำคัญต่อการดูสุขภาพทางใจ หรือ Mental ​Health ควบคู่ไปด้วย

4. Amplified Experiences : การให้ความ​สำคัญกับประสบการณ์ในการบริโภคมากขึ้น สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงการมีประสบการณ์ร่วม  หรือการสร้างความสุขในรูปแบบใหม่ๆ ​ไปจนถึงการ​ตอบโจทย์ Multi Sensory ของผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้น

แนวทางการปรับตัวของธุรกิจ =  Experiences More ​การพัฒนารสชาติใหม่ วิธีการรับประทานใหม่ๆ ที่เพิ่มความแปลกใหม่ สนุกสนาน หรือเชื่อมโยงประสบการณ์ที่มีคุณค่าต่างๆ ให้ผู้บริโภคได้ หรือแม้แต่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ สร้างความแตกต่าง หรือทำให้เป็นได้มากกว่าแค่สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุสินค้า แต่สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์รูปแบบดิจิทัล เพื่อสร้าง Engagement ระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้น

5. Authentic Connections : ผู้บริโภคเริ่มมองหาความเป็นตัวตนแบบดั้งเดิม สไตล์ Local หรือเป็น Original มากขึ้น  เพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งกับสังคมรอบข้างหรือแบรนด์ พร้อมทั้งเป็นความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมที่มีอยู่

แนวทางการปรับตัวของธุรกิจ =  Rooted Origin  แสดงถึงแหล่งที่มาของแหล่งผลิตหรือวัตถุดิบอย่างโปร่งใส ​พร้อมให้ความสำคัญของเรื่องราวและตัวตนเพื่อสะท้อนคุณค่าที่แท้จริง รวมทั้งการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นหรือชุมชน เพื่อมีส่วนช่วยสนับสนุนความยั่งยืนในแต่ละพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย

6. Savvy & Conscious : ผู้บริโภคเริ่มมีความเข้าใจ​ในการเลือกใช้จ่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคา ความคุ้มค่าประกอบกับประโยชน์ของสินค้า​ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลหรือมีความรู้เพิ่มมากขึ้น อาจจะไม่ได้เน้นแค่ความประหยัด แต่มองหาความคุ้มค่า แม้ว่าจะมีราคาแพงกว่าก็ตาม

แนวทางการปรับตัวของธุรกิจ =  Pursuit of Value การส่งมอบคุณค่าของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ผู้บรอโภคได้เพิ่มมากขึ้น อาจไม่จำเป็นต้องมีราคาถูก แต่สามารถทำให้ผู้บริโภครู้สึกได้ถึงความคุ้มค่า หรือสามารถเติมเต็ม ตอบโจทย์ในสิ่งที่ต้องการได้ ​​ทั้งในเรื่องของคุณภาพ หรือเป็นสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ ​​ดีต่อสิ่งแวดล้อม มีส่วนช่วยขับเคลื่อนความยั่งยืนให้โลกได้ หรือตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคแต่ละคนได้มากกว่า เป็นต้น