ถอดบทเรียน เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ’60 สร้าง Sustainability ต้นน้ำ

ดีแทค ร่วมมือเหนียวแน่นกับ กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด บนเวทีประกวด “เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด”

นับเป็นความร่วมมือติดต่อกัน 9 ปี กลายเป็นเวทีที่ทุกภาคส่วนติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุคนี้เป็นเทรนด์ “คนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านไปเป็นเกษตรกร” ซึ่งไม่ใช่เกษตรกรแบบดั้งเดิมอีกต่อไป เพราะบนเวทีประกวดดังกล่าวนี้ มองเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เมื่อประกาศผลออกมา 3 รางวัลสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ล้วนตอบโจทย์ “เกษตรเชิงข้อมูล – พลังงานหมุนเวียน – ชีววิธี”

-จิราวรรณ คำซาว เกษตรกรผู้เพาะเห็ดถั่งเช่าจากปุ๋ยชีวภาพ จากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้ชนะเลิศ ชูจุดเด่นด้าน “นวัตกรรม” พัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันและมีแนวโน้มเติบโตในอนาคต โดยนำความรู้ที่เรียนในระดับปริญญาเอกภาค วิชาจุลชีววิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เห็นตลอดซัพพลายเชน เพราะช่วยพ่อแม่ขายของ เคยเป็นพ่อค้าคนกลาง เคยไปส่งเสริมชาวบ้าน เพราะฉะนั้นจะรู้ทุกกระบวนการจนถึงผู้บริโภค

เธอจึงนำประสบการณ์มาต่อยอดพัฒนาปุ๋ยชีวภาพทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี สร้างผลิตภัณฑ์และสร้างแบรนด์ของตัวเอง ทั้งยังใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด ทำให้ผู้บริโภคตรวจสอบที่มาของสินค้าได้ นอกจากนี้ ยังรวมกลุ่มกับวิสาหกิจชุมชนกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นที่อยู่ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เห็ดถั่งเช่าอินทรีย์สูตรเจคุณภาพสูง ตรา ALFAMA Alfama และ Organic Cordyceps & Herb แล้วยังเปิดพื้นที่สำหรับการฝึกงาน เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ชื่อทุ่งกับดอย Learning Space และ ถิ่นนิยม Working Space

-พิเชษฐ์ กันทะวงศ์ เกษตรกรผู้เพาะปลูกเมล่อน ภายใต้แบรนด์โอโซนฟาร์ม จากจังหวัดเชียงราย ยึดหลักเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชโดยไม่พึ่งสารเคมี เป็นทางเลือกใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีกว่าของผู้บริโภค ภายใต้การบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพผลผลิตที่ยึดมั่นตามมาตรฐานหลักการทำเกษตรที่ดีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (GAP) พร้อมสร้างแบรนด์ด้วยการตลาดออนไลน์ผ่านเฟสบุกแฟนเพจ โดยมีผู้ติดตามกว่า 42,000 คน และพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใหม่ๆ ที่ต่อยอดจากเมล่อนอีกหลายรายการ

ปัจจุบันมีเครือข่ายที่เป็นพาร์ทเนอร์ทั่วประเทศ 30 จังหวัดทั้งฟาร์มผลิตและพาร์ทเนอร์ที่เป็นฟาร์ท่องเที่ยว โดยฟาร์มผลิตขายเข้าฟาร์มท่องเที่ยวได้หากอยู่ใกล้กันได้เลย นอกจากนี้สามารถแลกของกัน โดยมีมาตรฐานเดียวที่ยึดถือเหมือนกันคือ เกรดพรีเมี่ยม จึงซื้อที่ไหนก็ได้ในเครือข่าย เป็นโมเดลตลาดที่ช่วยกันผลิต ช่วยกันทำตลาด ไม่กดราคากัน

-สิริพร เที่ยงสันเที้ยะ เกษตรกรยุคดิจิทัล ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่จากไร่พวงทรัพย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำนาในอดีตที่ใช้สารเคมีอย่างหนักในการกำจัดศัตรูพืช และเห็นกับตาว่าคนกำลังทำนาแล้วล้มลงกลางนา เพราะสารเคมี จึงต้องการ “เปลี่ยนทั้งหมด” เป็นการทำนาแบบอินทรีย์ เริ่มที่นา 7 ไร่ทำไปน้ำตาตกในตั้งแต่แรกด้วยความไม่เข้าใจของพ่อแม่

ใช้เวลาพิสูจน์ 8 ปี ! จากนา 7 ไร่ขยายเป็น 100 ไร่ ซึ่งเป็นของตัวเอง และของลูกไร่อีก 100 ไร่ พร้อมทั้งส่งขอมาตรฐานข้าวออกานิคส์ตั้งแต่ 4 เดือนที่แล้ว ตอนนี้ใครมี Brand ต้องการขายข้าวออกานิกส์ด้วยมาตรฐาน GAP แบบที่เราทำก็สามารถสั่งได้ทางช่องทางเพจเฟสบุก

บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ ภาณี บุณยเกื้อกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร แสดงความเห็นคล้ายกันว่า

เกษตรกรมีส่วนในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-based economy) โดยเกษตรกรต้องมีรายได้มากขึ้นและเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการด้านการเกษตร (Entrepreneur) มากขึ้น เพื่อไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูงต่อไป เกษตรสมัยใหม่ รู้จักการวางแผนธุรกิจ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างการตลาดนำการผลิต พร้อมแบ่งปันบทเรียนและถ่ายทอดประสบการณ์แก่เกษตรกรทั่วไป

ทั้งนี้ อีก 2-3 ปีข้างหน้า ภาคการเกษตรไทยจะเปลี่ยนโฉมหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารอย่าง 5G และ Internet of Things ทำให้เกษตรกรต้องเตรียมพร้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่น ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร สภาวะโลกร้อน ปัญหาความยากจน ซึ่งทำให้เกิดทั้งความท้าทายและโอกาสเชิงเศรษฐกิจและสังคม ด้วย 3 เทรนด์ เกษตรเชิงข้อมูล (Data-driven farming) พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) และควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี (Bio-pesticides) (อ่านเพิ่มเติมที่ เผย 3 เทรนด์แรงเกษตรไทย “เกษตรเชิงข้อมูล – พลังงานหมุนเวียน – ชีววิธี”

บุญชัยย้ำในตอนท้ายว่า จากเวทีดังกล่าว ไม่ได้เพียงเกษตรกรต้นแบบทั้ง 10 คน ที่เป็นคนเก่ง ยังได้เกษตรกรที่มีความภูมิใจในการเป็นเกษตรกรอย่างยิ่ง พร้อมคำนึงถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ข่าวเกี่ยวข้อง

เผย 3 เทรนด์แรงเกษตรไทย “เกษตรเชิงข้อมูล – พลังงานหมุนเวียน – ชีววิธี”

Stay Connected
Latest News