มองโลกปี 2593 คนล้นโลก ขยะล้นเมือง จะอยู่กันอย่างไร??

ลองหลับตาจินตนาการเมืองไทยอีก 32 ปี จะเป็นอย่างไร เทคโนโลยีล่าสุด IH2 นำขยะมาแปรรูปเป็นน้ำมัน มนุษย์จะไปหาพลังงานสะอาด ปั๊มน้ำมันจะกลายเป็นปั๊มชาร์จไฟ บ้านเหลือแค่คอนเทนเนอร์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

บริษัท เชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด จัด เทศกาล Make the Future Thailand เพื่อจุดประกายให้เกิดการพูดคุยและการรับรู้เกี่ยวกับประเด็นความท้าทายมิติต่างๆ ที่จะมีผลต่ออนาคต ทั้งด้านพลังงาน การวางผังเมือง การขนส่ง และเทคโนโลยีทันสมัย รวมถึงกระตุ้นให้คนไทยตระหนักว่าเราทุกคนมีบทบาทสำคัญและควรร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้


ไฮไลต์ของงานคือการสัมมนา Powering Progress Together ที่รวมสุดยอดนักคิด นักปฏิบัติชื่อดังของเมืองไทยทั้ง 7 คนร่วมพูดคุยใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชีวิตประจำวัน นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อบ้านและเมือง และนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อพลังงานกับการขับเคลื่อนที่

ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน นินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด  เรืองโรจน์ พูนผล ผู้บุกเบิกสตาร์ทอัพเมืองไทย  ไมเคิล จิตติวาณิชย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดด้านธุรกิจ Google Thailand ผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง และดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

จากซ้าย…ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร .นินนาท ไชยธีรภิญโญ .เรืองโรจน์ พูนผล .ไมเคิล จิตติวาณิชย์และผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ

อัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ และกรรมการบริหารธุรกิจการตลาดค้าปลีก ภูมิภาคตะวันออก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า

“เชลล์เชื่อว่าทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิดถึงความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้น และร่วมมือกันหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย การจัดงานเทศกาล Make the Future Thailand เพื่อให้ทุกคนได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และมองเห็นทางออกที่น่าจะเป็นไปได้ในการรับมือกับโจทย์ความท้าทายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี นวัตกรรม ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย และพลังงาน เป็นการจุดประกายให้ทุกคนเริ่มคิด และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตกผลึกทางความคิด และหาแนวทางร่วมกันในรับมือกับความท้าทาย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย ตามนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับประเทศเราอย่างแท้จริง”

อัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ และกรรมการบริหารธุรกิจการตลาดค้าปลีก ภูมิภาคตะวันออก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย

พลังงานอนาคตมุ่งGo Green

ดร. ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ขยายความเพิ่มเติมถึงมุมมองของกระทรวงพลังงาน การเห็นทิศทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบสังคม เศรษฐกิจ และงานด้านพลังงาน โดยประเด็นที่ 1 ทุกประเทศทุกประเทศทั่วโลกมีความตั้งใจที่จะ  มากขึ้นโดยร่วมกันลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานที่มีไฮโดรคาร์บอน ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการที่ไม่เหมือนกัน การที่จะ Go Green นั้นจะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพราะจะต้องมีการจัดผังเมือง จัดระบบขนส่ง และจัดรูปแบบไลฟ์สไตล์ใหม่

ประเด็นที่ 2 คือการก้าวเข้าสู่ยุค Digitization จะเห็นว่า IT เข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเราในทุกมิติและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยไม่รู้ตัว รวมถึงด้านพลังงานด้วย เช่นการใช้ Machine Learning เข้ามาทำงานในการจัดสรรระบบการกระจายไฟฟ้า หรือการจัดเก็บไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน และนำมาใช้ในการกลางคืน เป็นต้น

“ผมมุ่งหวังให้สัมมนาในวันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะจุดประกายให้ทุกคนได้คิดต่อยอดใน 2 ประเด็นดังกล่าว ก่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างมิติใหม่ด้านพลังงานในอนาคต”

ปี 2593 ขยะจะล้นโลก

ในปี 2593 ประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อความต้องการพื้นที่อยู่อาศัย ปัญหาการจัดการขยะหรือของเสียและความต้องการใช้พลังงานที่มากขึ้นการแสวงหาพลังงานทดแทนเป็นวาระที่หลายฝ่ายได้ตระหนักถึงและให้ความสำคัญ ถึงแม้รัฐบาลส่งเสริมการนำขยะหรือของเสียมาแปรรูปเป็นพลังงานแต่มีศักยภาพทำได้เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งในอนาคตพลังงานสะอาดจะกลายเป็นเรื่องสำคัญและเป็นที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งพลังงานทางเลือกแต่ละชนิดต่างมีข้อดีแตกต่างกัน

ทั้งนี้ เชลล์ได้พัฒนาและออกแบบแนวทางรับมือเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ไว้ 2 แนวทางคือ ด้านแรกสำหรับหาพลังงานทางเลือกเพิ่มมากขึ้น เชื้อเพลิงในการขนส่งมวลชนจะต้องพัฒนาพลังงานใหม่อย่างเชื้อเพลิงชีวมวลและไฮโดรเจนมาใช้เพื่อช่วยลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเชลล์มีการพัฒนาเทคโนโลยีSecond Generation Ethanol (2GE) เพื่อให้ได้พลังงานเพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยีล่าสุด IH2โดยนำขยะมาแปรรูปเป็นน้ำมัน เพื่อลดปริมาณขยะ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มปริมาณพลังงานทางเลือกอีกด้วย แนวทางที่ 2 คือการเพิ่มศักยภาพของพลังงานสะอาดให้มากขึ้น เช่น ก๊าซธรรมชาติและพลังงานแสงอาทิตย์

ปั๊มน้ำมันแห่งอนาคต

เมื่อมีทางเลือกในการใช้พลังงานที่หลากหลายมากขึ้น ความท้าทายของผู้ให้บริการเชื้อเพลิงในอนาคต คือจะต้องเตรียมพร้อมให้สามารถเป็นผู้ส่งต่อพลังงานทางเลือกรูปแบบต่างๆ ที่สะอาดมากขึ้นนำไปสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ

ปัจจุบันเชลล์ได้เริ่มต้นทดลองให้บริการพลังงานสะอาดเหล่านี้แล้วในยุโรป อาทิ พลังงานจากไฮโดรเจน ซึ่งมีข้อดีคือไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้เวลาในการเติมพลังงานพอๆ กับการเติมน้ำมัน และไฮโดรเจน 1 ถัง สามารถวิ่งได้ไกลกว่า 700 กม.และ Shell Charging Stationสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามีให้บริการแล้วที่ประเทศอังกฤษ และกำลังขยายสถานีบริการไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรป

แบบบ้านจำลองในอนาคต สร้างโดยทีมนักศึกษาประเทศสิงคโปร์ที่เข้าร่วมการแข่งขัน Imagine the Future 2017 โดยมีแนวคิดว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า

Container of Possibilities

Container of Possibilities คือแบบบ้านจำลองในอนาคต ซึ่งพัฒนาขึ้นจากแบบจำลองสถานการณ์ของทีมนักศึกษาประเทศสิงคโปร์ที่เข้าร่วมการแข่งขันImagine the Future 2017โดยมีแนวคิดว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นจนพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยมีจำกัด ภายในบ้านเต็มไปด้วยเทคโนโลยีต่างๆ โดยมีแดชบอร์ดมาช่วยประมวลผลการใช้พลังงานในบ้านให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากการก้าวเหยียบ(Electricity Generation by Footstep) ซึ่งเป็นแผ่นปูพื้นที่ใช้แรงกดทับจากการก้าวเดินไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในบ้าน ซึ่งในปัจจุบันมีการนำมาใช้สำหรับการให้แสงสว่างบ้างแล้ว

Stay Connected
Latest News