OMG ! หนังเทียมจากเห็ด พร้อมวางตลาด

เส้นใยจากเห็ดเป็นวัสดุเหมือนหนัง จะนำไปผลิตเป็นกระเป๋าถือสู่ตลาดในเดือนมิถุนายนนี้ โดย Bolt Threads สตาร์ทอัพที่มีความชำนาญเส้นใยแห่งอนาคต ซึ่งปิดรอบการระดมทุนในเดือนมกราคมด้วยยอดเงิน 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


ปกติแล้วเห็ดตามป่า จะแตกแขนงซับซ้อนไปตามขอนไม้ผุอย่างช้าๆ โดยเส้นใยที่มีทั้งความแข็งแรง และทนทานเติบโตได้โดยการดูดซึมสารอาหารจากสิ่งแวดล้อม

เมื่อดึง เส้นใยจากเห็ดที่จับตัวเป็นผืนออกมาจากขอนไม้แล้วจะให้ความรู้สึกเหมือนโฟมหนาๆ ที่มีเนื้อค่อนข้างแข็ง แต่สำหรับ Dan Widmaier ผู้ก่อตั้งและ CEO ของบริษัท Bolt Threads ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีความชำนาญในการก่อกำเนิดเส้นใยแห่งอนาคตที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ มองว่าเส้นใยจากเห็ด มีลักษณะค่อนข้างคล้ายกับหนัง

ทั้งนี้ Bolt Threads ที่เปิดตัวได้เมื่อ 9 ปีที่แล้ว เป็นที่รู้จักกันดีในนามของผู้ที่สร้างสรรค์ Microsilk ซึ่งเป็นโพลิเมอร์สังเคราะห์ทางชีววิศวกรรมเพื่อเลียนแบบผ้าไหมแมงมุมโดยผ่านธุรกิจสตาร์ทอัพ

“เราได้สร้างสรรค์หลายสิ่ง หนึ่งในนั้นได้แก่ Mylo ซึ่งเป็นวัสดุเหมือนหนังผลิตขึ้นจากเส้นใยเห็ด จะนำไปผลิตเป็นกระเป๋าถือออกสู่ตลาดในเดือนมิถุนายนนี้”  Widmaier กล่าว

นอกจากนี้ Stella McCartney นักออกแบบแฟชั่นที่เคยใช้ Microsilk ของ Bolt ในหลายงานดีไซน์ก่อนหน้านี้ ได้ประดิษฐ์ตัวอย่างกระเป๋าที่ผลิตขึ้นจาก Mylo ซึ่งถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ the Victoria & Albert ในลอนดอน

Bolt ได้นำเซลของเส้นใยเห็ด ไปทดลองในห้องแล๊บเพื่อคิดค้นและประดิษฐ์วัสดุ เซลของเส้นใยเห็ดแตกแขนงออกไปเรียกว่า Hyphae ที่อุดมไปด้วยเซลลูโลส (Bolt เลี้ยงเซลด้วยการให้ซังข้าวโพด)

“หากสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงเซลได้รับการควบคุม เช่น การควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เซลก็จะแตกแขนงเป็นเส้นใยได้หนาแน่นมากขึ้น ทั้งนี้แขนงของเส้นใยมีลักษณะเหมือนผ้าใยสังเคราะห์และมีลักษณะคล้ายหนัง”  Widmaier เสริม

เมื่อเส้นใยโตได้ที่แล้ว จะถูกตัดออกเป็นชิ้นบางๆ และนำไปสู่กระบวนการซึ่งไม่แตกต่างจากกระบวนการผลิตของหนังสัตว์ แต่กระบวนการนี้จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า ซึ่งกระบวนการนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของ Bolt โดยเฉพาะ  ซึ่งกระบวนการนี้จะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า และเนื่องจากเส้นใยไม่ได้เน่าเสียเหมือนปศุสัตว์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้เกลือ และสารเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายในการผลิตหนัง

หนังเทียมที่ผลิตขึ้นจากเส้นใย จะมีความยั่งยืนกว่าหนังสัตว์มาก และเป็นหนังที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย Widmaier ชี้แจงว่า แม้ว่า กระเป๋าที่ผลิตจาก Mylo จะถูกแยกออกจากกระเป๋าอื่นๆ เพื่อให้เป็นไปตามการย่อยสลายตามธรรมชาติ และเมื่อเทียบกับการจัดหาหนังจากโคซึ่งต้องใช้ความต่อเนื่องของการทำฟาร์มของโรงงาน การปลูกเชื้อราในห้องปฏิบัติการเป็นกระบวนการทดแทนที่ค่อนข้างง่ายและมีผลกระทบต่ำ

อย่างไรก็ตาม Mylo มีความคล้ายกับหนังชีวภาพอื่นๆที่เป็นทางเลือกในตลาดเครื่องหนังในปัจจุบัน โดย Modern Meadow บริษัทสตาร์ทอัพที่ตั้งอยู่ในรัฐนิวเจอร์ซี ได้พัฒนา Zoa ซึ่งเป็นสารเหลวคล้ายหนังผลิตขึ้นจากคอลลาเจนที่สามารถจัดให้เป็นรูปทรงไหนก็ได้เช่นเดียวกับ Mylo ที่ถูกฟอกเหมือนหนัง ขณะที่กระบวนการผลิตหนังบางขั้นตอนที่ส่งผลอันตรายถูกลดทอนไป

Suzanne Lee หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายครีเอทีฟแห่ง Modern Meadow กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ Zoa จะจัดจำหน่ายในช่วงต้นปี 2019 นอกจากนี้ Mylo มีความแตกต่างจาก Zoa ในแง่ที่ Mylo ผลิตขึ้นเป็นผืนใหญ่และตัดเพื่อประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ขณะที่ Zoa ต้องเทลงในแม่พิมพ์และ Mycelium ก็จะเติบโตในแม่พิมพ์ตามรูปทรงที่ต้องการ

ขณะที่หนังชีวภาพยังคงเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของตลาดเครื่องหนัง แต่เป็นตลาดกำลังเติบโตขึ้นจากการสนับสนุนของนักลงทุนเครื่องหนังทั้งหลาย

ทั้งนี้ Bolt Threads ปิดรอบการระดมทุนในเดือนมกราคมด้วยยอดเงิน 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม Widmaier ไม่ได้มีความกังวลเรื่องการแข่งขันของสตาร์ทอัพอื่นๆ ที่ทำธุรกิจเหมือนกัน
“ความท้าทายครั้งนี้คือ การเป็นหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนในระดับโลก” 

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มผลิตออกมาราว 8 หมื่น ถึง 1 แสนล้านชิ้นต่อปี เขาเสริมในท้ายที่สุดว่า

“เราควรทำอะไรสักอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะด้วยตลาดที่ใหญ่ และหากมีสิ่งที่ผมต้องการทำ ก็จะมีอีกหลายบริษัทที่ทำงานในส่วนนี้มากขึ้น”

ที่มา เรื่อง/ภาพ

Stay Connected
Latest News