10 สะพานอุโมงค์มหัศจรรย์สร้างให้สัตว์ป่าข้าม สวยงามตามธรรมชาติ

ภาพของสัตว์ป่าที่ถูกรถยนต์ที่แล่นมาด้วยความเร็วสูงชนเข้าอย่างจังจนนอนจมกองเลือดอยู่ข้างทาง กลายเป็นภาพที่สร้างความสะเทือนในแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก จึงเป็นสาเหตุให้นักอนุรักษ์ทั่วโลกต่างใช้ทุกวิถีทางเพื่อที่จะอำนวยความปลอดภัยแก่ชีวิตน้องๆสัตว์ป่าให้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัยและไม่กลายเป็นเหยื่อของความเร็วบนท้องถนน ดังนั้นหลาย ๆ ประเทศจึงเริ่มหันมาสร้างสะพานหรืออุโมงค์เพื่อให้สัตว์เดินลอดข้ามไปอย่างปลอดภัย และเพื่อสานการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ให้คงอยู่ต่อไป

 

เดอะ ทรานส์ แคนาดา ไฮเวย์ ที่ Banff National Park เป็นถนนที่มีความยาว 82 กิโลเมตร

 

ล่าสุดเมืองไทยก็กำลังสร้างสะพานคู่และอุโมงค์ทางลอดให้สัตว์เดินลอดข้ามครั้งแรก ซึ่งเป็นโครงการในพื้นที่รอยต่อระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน ใน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี และเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ที่ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติเมื่อปี 2548 ทั้งนี้เพราะบริเวณพื้นที่เขาใหญ่มักจะมีข่าวเรื่องรถชนสัตว์ป่าอยู่เป็นประจำ

 

สะพานอุโมงที่ Belgium เป็นถนนวงแหวนที่ใช้เป็นทางสัญจรของสัตว์ป่า เปิดใช้เมื่อปี 2017

 

สะพานอุโมงค์ข้ามทางหลวง I-78 ด้านเหนือของนิวเจอร์ซี่ กลายเป็นเส้นทางเดินสำหรับสุนัขจิ้งจอก แรคคูน กวางและหมี

 

ต้องยอมรับว่าปัจจุบันการจราจรมีส่วนสร้างผลกระทบต่อนิเวศวิทยาเป็นอย่างมาก อาทิ ระบบจราจรในประเทศสหรัฐฯเพียงประเทศเดียวส่งผลกระทบต่อนิเวศวิทยาถึง 1 ใน 9 ของพื้นที่ในประเทศและความเสียหายที่เกิดจากการชนกันระหว่างรถยนต์กับสัตว์มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ทั้งนี้ การที่นักอนุรักษ์ได้หาวิธีแก้ไขด้วยการทำสะพานข้ามหรือทางลอดบนถนนเส้นที่มีการจราจรหนาแน่นและขับขี่ด้วยความเร็วสูงจึงมีส่วนช่วยให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตของสัตว์ป่าเป็นอย่างมาก

 

สะพานอุโมงค์ข้ามในประเทศเนเธอร์แลนด์ ถือเป็นสะพานสำหรับให้สัตว์ป่าข้ามเป็นแห่งแรกในยุโรป

 

สะพานอุโมงแห่งนี้อยู่บนทางหลวง B 38 ประเทศเยอรมันนี

 

ยุโรปนับเป็นผู้นำที่ได้ประยุกต์แนวคิดการสร้างทางเชื่อมป่ามาใช้ โดยสะพานอุโมงค์ข้ามสำหรับสัตว์ (animal bridge) แห่งแรกสร้างขึ้นในประเทศฝรั่งเศสในปี 1950 ยิ่งไปกว่านั้น ในประเทศเนเธอร์แลนด์เพียงแห่งเดียวมีสะพานข้ามสำหรับสัตว์ป่าและทางเชื่อมผืนป่าถึง 66 แห่งที่จะคอยปกป้องประชากรสัตว์ เช่น แบดเจอร์ หมูป่า และกวาง ให้พ้นจากอันตรายบนท้องถนน และทางข้าม Natuurbrug Zanderij Crailoo ยังนับเป็นทางข้ามที่มีความยาวที่สุดอีกด้วยซึ่งยาวถึงครึ่งไมล์โดยได้สร้างผ่านทางรถไฟ แม่น้ำ เขตธุรกิจ และสปอร์ต คอมเพล็กซ์

 

สะพานอุโมงค์ลอดผ่านสวนสาธารณะ Banff บนทางหลวงของเมือง Alberta ประเทศแคนาดา

 

สะพานนี้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของมอนตาน่า สหรัฐอเมริกา

 

สะพานอุโมงแห่งนี้อยู่ที่แคนาดา ถูกออกแบบให้ทำลายพื้นที่ป่าน้อยที่สุด

 

สะพานอุโมงค์อีกแห่งหนึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์

 

ในช่วง 30 ปีก่อน แคนาดาและสหรัฐฯได้ใช้สะพานทางเชื่อมเพื่อปกป้องชีวิตสัตว์ป่าในประเทศเพิ่มมากขึ้น เช่น the Banff National Park ในเมือง Alberta ที่ถูกก่อสร้างขึ้นมาเมื่อ 25 ปีที่แล้วได้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างทางลอดและสะพานข้ามทำให้สัตว์ป่าสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

 

สะพานข้ามบนถนน Christmas Island ในประเทศออสเตรเลีย ที่ได้ช่วยให้ปูแดง (red crab) กว่า 50 ล้านชีวิตได้เดินทางข้ามไปมาจากฟากฝั่งถนนได้อย่างปลอดภัย

 

 

อย่างไรก็ตาม จากตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นทั้งสะพานข้ามหรือสะพานเชื่อมผืนป่าได้รับการออกแบบเพื่อรองรับสัตว์ขนาดใหญ่ แต่ไอเดียการสร้างสะพานข้ามนี้มองว่าทุกชีวิตน้อยใหญ่ก็ล้วนมีความสำคัญเท่าๆกันจึงเกิดไอเดียที่เจ๋งๆขึ้นตามมาเ ช่น สะพานข้ามบนถนน Christmas Island ในประเทศออสเตรเลีย ที่ได้ช่วยให้ปูแดง (red crab) กว่า 50 ล้านชีวิตได้เดินทางข้ามไปมาจากฟากฝั่งถนนได้อย่างปลอดภัย และในวอชิงตันที่ได้นำเชือกมาร้อยเป็นสะพานชื่อว่า “Nutty Narrows Bridge” เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกระรอกได้ปลีกตัวจากอันตรายบนถนนในเมืองที่แสนจะวุ่นวาย

Credit : https://mymodernmet.com/wildlife-crossings/

Stay Connected
Latest News