ญี่ปุ่นอาจตัดสินใจปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะสู่ทะเลแปซิฟิก

หลายคนอาจจะยังจำภาพเหตุการณ์ที่ผู้คนกำลังวิ่งขึ้นที่สูงเพื่อเอาตัวรอดจากคลื่นยักษ์สึนามิที่กำลังเข้าฝั่งที่เกาะฟูกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2011 มหันตภัยครั้งนั้นได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นวงกว้าง รวมถึงโรงไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์ก็เป็นหนึ่งสถานที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักในเวลานั้น

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้นำมาสู่การถกเกียงครั้งสำคัญต่อเรื่องการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีสู่ท้องทะเลแปซิฟิก โดยกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประมงต่างต่อต้านความคิดดังกล่าว แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนต่างลงความเห็นว่าปฏิบัติการดังกล่าวมีความเสี่ยงในระดับที่ต่ำเนื่องจากความกว้างใหญ่ของมหาสมุทรจะทำให้ไอโซโทปเจือจางลงซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์น้อยมาก ขณะที่ในฟากของรัฐบาลยังคงไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด

การปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีกว่า 1 ล้านตัน ที่ผ่านการกรองเพื่อลดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีอาจจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2022 จากการรายงานของสำนักข่าว Yomiuri Shimbun กล่าวว่า ความเข้มข้นของสารกัมมันตรังสีจะถูกเจือจางลง 40 เท่า ก่อนจะปล่อยลงมหาสมุทรแปซิฟิก โดยกระบวนการเจือจางจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 30 ปี

ทั้งนี้การนำอนุภาคกัมมันตรังสีออกจากน้ำสามารถนำออกได้เกือบหมด ยกเว้น “ทริเทียม” ซึ่งเป็นไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจน ซึ่งยากต่อการแยกเอาอนุภาคนี้ออกมา และอาจเป็นอันตราย แต่ปัญหาที่สำคัญขณะนี้คือพื้นที่ในแท้งก์เก็บขนาดใหญ่กำลังจะเต็มในปี 2022

อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าวนับเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทางการญี่ปุ่นจะต้องตัดสินใจเนื่องจากพื้นที่กักเก็บน้ำในโรงไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์มีไม่เพียงพอต่อปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น

 

credit: www.bbc.com/news/world-asia-54566978

Stay Connected
Latest News

มูลนิธิ เมเจอร์ แคร์ จับมือ เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง หนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียน สอนปลูกผักปลอดสารพิษ พร้อมมอบโรงเรือนปลูกผัก “โครงการปลูกผัก สร้างสุข สร้างรายได้” ให้กับน้อง ๆ โรงเรียนบ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา