ดีแทคจับมือยารา เปิดตัว Kaset Go สร้างเครือข่ายดิจิทัลชุมชนขับเคลื่อนเกษตรกรสู่ Digital Farming

ดีแทคและยาราประเทศไทย เปิดตัว Kaset Go แอปพลิเคชันบนมือถือที่เชื่อมต่อเกษตรกรเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่เชื่อถือได้และเรียลไทม์ที่ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร เปิดแอปฯ 4 เดือนมียอดดาวน์โหลด 1.7 แสนราย ลงทะเบียน 1 แสนราย ตั้งเป้าแอปฯศูนย์รวมความรู้เกษตรครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของภาคการเกษตรของประเทศไทย

นับตั้งแต่การเปิดตัวในเดือนกรกฎาคม 2563 Kaset Go เริ่มทดลองใช้กับเกษตรกร 9 จังหวัด กับพืช 8 ชนิดซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจส่งออก อาทิ ข้าว ข้าวโพด ผัก ทุเรียน มังคุด ลำใย ส้ม มะม่วง ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 170,000 ครั้งและมีเกษตรกรลงทะเบียนในแอปพลิเคชั่นนี้ 1 แสนราย มีข้อมูลพืชผลเพิ่มขึ้นเป็น 52 ชนิด จาก 71 จังหวัดทั่วประเทศ  ด้านเนื้อหามีความเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะของเกษตรกรในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และจะมีเนื้อหาเฉพาะเพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจเฉพาะทาง เช่น การให้คำแนะนำเรื่องมาตรฐานและใบรับรองทางการเกษตร การขนส่ง และการตลาด เนื้อหาในแอปพลิเคชันนี้ได้รับการสนับสนุนโดยผู้เชี่ยวชาญจากกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด และ ยารา ประเทศไทย

ส่วนแผนการพัฒนาขั้นต่อไปของ Kaset จะเพิ่มฟีเจอร์หลักที่สำคัญในการเพาะปลูก เช่น คำเตือนสภาพอากาศ การแจ้งเตือนโรค มาร์เก็ตเพลส นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายไปสู่บริการเสริมอื่น ๆ เช่นอุปกรณ์ฟาร์มประกันภัยและการเงิน

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า“ ดีแทคมีความมุ่งมั่นมาอย่างยาวนาน ในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกรไทยด้วยการเชื่อมต่อการสื่อสารจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าจะผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลหรืออินเทอร์เน็ตออฟธิงส์โซลูชัน ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำในอุตสาหกรรมเช่น กรมส่งเสริมการเกษตร มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อสนับสนุนและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเกษตรกร Kaset Go เป็นตัวแทนของแพลตฟอร์มที่ทันสมัยที่สุดของเราซึ่งร่วมมือกับ ยารา เนื่องจากการทำการเกษตรเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานในประเทศไทย และยังมีการใช้งานของสมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลายสูงที่สุดในภูมิภาค Kaset Go อาจเป็นตัวเปลี่ยนวิถีในการทำเกษตรแบบดิจิทัลของประเทศไทย”

ด้าน เมดิ เซนท์-อังเดร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานกลุ่มธุรกิจประเทศไทย และประเทศเมียร์มา ผู้นำผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารพืชของโลก กล่าวว่า “ตั้งแต่ยาราเริ่มก่อตั้งในปี 2448 เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าความรู้เป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนผลผลิตของเกษตรกร และด้วยเครือข่ายนักปฐพีวิทยาในพื้นที่ทั่วประเทศของยารา เราได้ให้บริการโซลูชั่นที่ยั่งยืนแก่เกษตรกรไทยมาตลอดเวลา 47 ปี ตั้งแต่ปี 2560 ยารา ได้เร่งดำเนินกลยุทธ์ดิจิทัลฟาร์มมิ่ง (Digital Farming) เพื่อเป็นเครื่องมือในการทำการเกษตรที่แม่นยำแก่เกษตรกรทั่วโลก และการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์ม Kaset Go ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย เนื่องจากแพลตฟอร์มนี้ เชื่อมโยงเกษตรกรกับข้อมูลที่เชื่อถือได้ซึ่งตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญและชุมชนการเกษตร คาดว่า Kaset Go จะกลายเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยสำหรับเกษตรกรและเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศไทย”

ส่วน ประพันธ์ จิวะพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงรายละเอียดของแอปพลิเคชั่นนี้ ซึ่งเริ่มต้นจากปัญหาของเกษตรกรไทยคือปัญหาภัยและการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการเกษตร การนำแพลตฟอร์ม Kaset Go เป็นการติดอาวุธให้เกษตรกรไทยเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้านการเกษตร หน้าที่หลักคือ 1.เป็นดิจิคอล คอมมูนิตี้ เชื่อมโยงเกษตรกรทั้งประเทศติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ 2. เป็นศูนย์รวมข้อมูลความรู้ขนาดใหญ่ที่น่าเชื่อถือที่เปิดให้เกษตรกรเข้าถึงและนำไปปฏิบัตได้จริง 3.ศูนย์บริการแบบครบวงจร

ชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวถึงยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร 20 ปี เริ่มตั้งแต่ 2560-2579 เพื่อสร้างจุดแข็งและแก้ปัญหาจุดอ่อนของเกษตรกร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายมีการขับเคลื่อนด้านการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรให้มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้น พัฒนาด้านการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรเป็นเกษตรยุคใหม่ที่เป็นผู้ประกอบการ ส่งเสริมเกษตรกรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer รวมถึงวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรกรจาก4.0 เพื่อรองรับ Thailand 4.0 ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ศูนย์สารสนเทศด้านการเกษตร รวมถึงงานวิจัยที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ไปสู่สากล

“แอปนี้สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมฯเช่นกัน ซึ่งมีองค์ความรู้มากมายที่สามารถตอบโจทย์แก้ปัญหาตรงจุดให้เกษตรกรได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

 

 

4 ฟีเจอร์เด่นแอป Kaset Go ที่สนับสนุนเกษตรกรไทยให้ก้าวไกล

1. คำถามและคำตอบที่ได้รับการรับรอง : ให้คำตอบที่เป็นประโยชน์ และให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรในแพลตฟอร์ม ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ของเกษตรกรในชุมชน โดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้รับรองความถูกต้อง

2. เชื่อมต่อและแบ่งปันความรู้: ชุมชนที่เกษตรกรสามารถเชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่และเพื่อนเกษตรกรได้อย่างเปิดเผย เพื่อแบ่งปันความรู้เชิงปฏิบัติจากประสบการณ์จริงของตนเอง ส่งเสริมการสร้างชุมชนตามพืชผล หัวข้อ และพื้นที่ของเกษตรกร เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้นในชุมชนจะได้รับการรวบรวม และแบ่งปันกลับไปยังเกษตรกรในแพลตฟอร์ม รวมถึงประสบการณ์จริงจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และข้อมูลราคา

3. ข้อมูลเชิงลึกที่ตรงความต้องการ และสามารถนำไปใช้ได้ทันที: เนื่องจากข้อมูลการเกษตรมีความหลากหลาย Kaset Go จึงช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการ จัดลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดแบบเรียลไทม์ และสามารถให้ข้อมูลสำคัญกลับไปยังเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที ช่วยให้เกษตรกรติดตามแนวโน้มการเพาะปลูกและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้ในท้องถิ่นเพียงปลายนิ้วสัมผัส เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีขึ้นสำหรับการเกษตรของตน

4. บริการด้านการเกษตรแบบดิจิทัล: ฟีเจอร์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มการทำงานของแพลตฟอร์ม Kaset Go ได้แก่ เทคโนโลยีล้ำสมัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรได้ดีขึ้นตามสถานที่ เช่น ราคาพืชผล การพยากรณ์อากาศ คำเตือนสภาพอากาศ และ การแจ้งเตือนศัตรูพืช

Stay Connected
Latest News

มูลนิธิ เมเจอร์ แคร์ จับมือ เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง หนุนการเรียนรู้นอกห้องเรียน สอนปลูกผักปลอดสารพิษ พร้อมมอบโรงเรือนปลูกผัก “โครงการปลูกผัก สร้างสุข สร้างรายได้” ให้กับน้อง ๆ โรงเรียนบ้านด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา