Dole ญี่ปุ่นนำร่องขาย ‘กล้วยดิบ’ พร้อม Educated ​ตลาด​ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน หวังลด food loss เป็นศูนย์ ​

ราวสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ทางบริษัท Dole ในประเทศญี่ปุ่น​​ จะเริ่มจำหน่ายกล้วยดิบ Dole Green Banana” ซึ่งปกติแล้วจะยังไม่ได้มาตรฐานสำหรับการนำไปจำหน่าย เพื่อขับเคลื่อน​โครงการ “Mottainai Banana” (เสียดายกล้วย) โดยเปลี่ยนมุมมองและรูปแบบการรับประทานกล้วยดิบให้เป็นผักประเภทหนึ่ง และแนะนำวิธีรับประทานในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อช่วยลด Food Loos ​ร่วมขับเคลื่อนการบริโภคอย่างยั่งยืน

 Yosuke Watanabe ประธานบริษัท Dole ในญี่ปุ่น ได้​ประกาศ Brand Message ใหม่ในวันเปิดตัว  Dole Green Banana ว่า “ภารกิจที่สำคัญของบริษัท คือ การผลิตและจำหน่ายผลไม้ได้อย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต และจะให้ความสำคัญกับสุขภาพและความงาม รวมถึงความสุขของผู้บริโภค นอกจากนี้ จะมุ่งเน้นความสำคัญด้าน SDGs มากยิ่งขึ้น”

โดยทาง Dole ​ญี่ปุ่น จะจำหน่ายกล้วย “Dole Green Banana” ซึ่งเป็นกล้วยดิบสีเขียวที่ยังไม่ผ่านการอบความร้อน โดยจะเริ่มจำหน่ายในฤดูร้อนนี้ ตามแผนภายใต้โครงการ “Mottainai Banana” ที่ส่งเสริมการบริโภคอย่างมีจริยธรรม และการลดการสูญเสียอาหาร ซึ่งทุกปี​บริษัทต้องกำจัดกล้วยที่ไม่ได้มาตรฐานถึง 20,000 ตันต่อปี แม้กล้วยเหล่านี้จะยังสามารถรับประทานได้  และมีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งรสชาติอร่อย แต่ต้องถูกกำจัดทิ้งระหว่างทางเพราะไม่ตรงกับมาตรฐานในการจำหน่าย

เป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการ Mottainai Banana เพื่อต้องการลดความสูญเสียเป็น 0 โดย​ริเริ่มโครงการขึ้นในเดือนกันยายน ปี 2564 และจนถึงกลางปีนี้ มีบริษัทมากกว่า 30 แห่งแล้วที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งมีการใช้ประโยชนจาก​กล้วยที่ไม่ได้ตามมาตรฐานสำหรับจำหน่ายไปมากกว่า 4.5 ล้านลูก สำหรับนำไปแปรรูปเป็นเมนูต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ เป็นต้น

สำหรับสินค้าใหม่อย่าง “Dole Green Banana” นั้น ไม่ใช่ผลไม้รับประทานสด แต่สามารถนำไปอุ่นด้วยไมโครเวฟราว 2-3 นาที ก่อนนำไปปลอกเปลือกรับประทาน ซึ่งเนื้อกล้วยจะนุ่มฟูมากขึ้นคล้ายๆ มันสำปะหลังและเกาลัด รวมทั้งนำไปประกอบการทำอาหารได้มากมาย เช่น ใส่ในแกงกะหรี่ หรือผักสลัด ฯลฯ เป็นต้น

โดยในช่วงเปิดตัวนี้ ทาง Dole ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้เพิ่มเติมไปยังผู้บริโภค​ถึงเสน่ห์ของผลไม้ และการใช้ประโยชน์ต่อยอดจากผลไม้ที่อาจไม่ได้มาตรฐานสำหรับการจำหน่าย มาครีเอทเป็นเมนูอื่นๆ เช่น การ Collaborate กับร้านไอศกรีมชื่อดังเพื่อนำกล้วยมาทำเป็นวัตถุดิบในการผลิตไอศกรีม เป็นต้น

​​ข้อมูลเพิ่มเติมจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่าญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีการบริโภคกล้วยหอมเป็นจำนวนมาก โดยมีการนำเข้ากล้วยหอมถึงปีละกว่า 1 ล้านตัน ​โดยประเทศฟิลิปปินส์เป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญที่สุดถึง 76% ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 9

ข้อมูล : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

Stay Connected
Latest News