สุดปัง! 6 นศ.เม็กซิกันผลิตโคมไฟSolar Cells จากเศษขยะและวัสดุธรรมชาติต้นทุนต่ำ

เมื่อพูดถึงขยะธรรมชาติ เช่น กาบมะพร้าว กะลามะพร้าว ที่คนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นสิ่งไร้ค่า ไร้ราคา แต่สำหรับนักศึกษา 6 คนชาวเม็กซิกันจาก The Instituto Tecnológico de Monterrey ประเทศเม็กซิโก กลับมองเห็นคุณค่าของขยะเหล่านี้ และเกิดปิ๊งไอเดียในการประดิษฐ์โคมไฟแสงอาทิตย์ต้นทุนต่ำที่ผลิตขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ซึ่งหาได้จากท้องถิ่น ที่มาพร้อมกับดีไซน์กิ๊บเก๋และน่าสนใจ


โครงการนี้นำโดย Moisés Hernández ที่เห็นความสามารถของนักศึกษา 6 คน พัฒนาโคมไฟ 6 แบบไม่ซ้ำกัน ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ เช่น หวาย กาบมะพร้าว และเศษขยะ เป็นต้น และที่ล้ำกว่านั้นคือการนำ Solar cells และ เทคโนโลยี LED เข้ามาใช้กับโคมไฟที่ผลิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของคนเม็กซิกันเกือบ 7 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนห่างไกลที่ยังไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้า เพื่อพวกเขาได้มีโอกาสเห็นแสงสว่างในเวลากลางคืน

Rafael Sánchez Brizuela ผลิตโคมไฟจากกะลามะพร้าว โดยด้านบนเป็นแผงโซล่า เซลล์

 

Luis Fernando Sánchez Barrios ผลิตจากดินเหนียว กระดาษรีไซเคิล และยางต้นกระบองเพชร

Hernández กล่าวว่า เป้าหมายของโครงการนี้เพื่อออกแบบโคมไฟให้มีโครงสร้างทั่วไปที่สามารถผลิตได้จากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น โดยสิ่งที่ต้องการคือชิ้นส่วนของอิเล็กทรอนิคส์อย่างง่ายและแผงโซล่าร์เซลล์ ส่วนตัวโครงสร้างโคมไฟนั้นสามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนได้โดยการใช้วัสดุที่หาได้จากธรรมชาตินั่นเอง

การออกแบบในครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากโคมไฟ Little Sun ซึ่งเป็นโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ ผลงานของ Olafur Eliasson ศิลปินชาวไอซ์แลนดิก โดย Hernández นอกจากนี้นักศึกษาทั้ง 6 คน ยังมีจุดประสงค์ที่จะสร้างสรรค์โคมไฟที่มีคาร์บอนฟุ้ตพริ้นท์ในปริมาณที่ต่ำที่สุดด้วยการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีต้นทุนต่ำ

Oscar Andrés Méndez Hernández ใช้ถั่วดำเป็นวัสดุหลัก
Naoto Ricardo Kobayashi Utsumoto ผลิตโดยใช้เศษกระดูกจากเศษอาหารทิ้งแล้ว

เขาอธิบายว่า “สิ่งที่เราตั้งใจสำหรับโครงการนี้คือการมองหาแนวทางใหม่ๆ สำหรับการผลิตให้กับท้องถิ่นหรือชุมชนที่ห่างไกลซึ่งไม่สามารถหาพลาสติกมาใช้ประกอบเป็นโครงสร้างของโคมไฟได้” เขายังเสริมอีกว่า “ด้วยไอเดียในการใช้วัสดุใหม่ๆที่มีแหล่งที่มาจากทั่วทุกสารทิศในเม็กซิโกที่มีสภาพอากาศและบริบทที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุให้นักศึกษาทั้ง 6 คน มองเห็นสถานการณ์ใหม่ที่อุปกรณ์เทคโนโลยีจะสามารถรวบรวมและแจกจ่ายไปยังคนท้องถิ่นเหล่านั้นได้”

ทั้งนี้ โคมไฟผลงานนักศึกษาทั้ง 6 แบบ ผลิตมาจากวัสดุที่ต่างกัน เช่น ผลงานของ Luis Fernando Sánchez Barrios ผลิตจากดินเหนียว กระดาษรีไซเคิล และยางต้นกระบองเพชร Oscar Andrés Méndez Hernández ใช้ถั่วดำเป็นวัสดุหลัก Naoto Ricardo Kobayashi Utsumoto ผลิตโดยใช้เศษกระดูกจากเศษอาหารทิ้งแล้ว Rafael Sánchez Brizuela สร้างสรรค์ผลงานจากกะลามะพร้าว Viridiana Palma Dominguez ใช้ขยะจากโรงงานในการรังสรรค์โคมไฟของเธอ และ Aniela Mayte Guerrero Hernández ดีไซน์โคมไฟด้วยจักสานจากหวาย

Viridiana Palma Dominguez ใช้ขยะจากโรงงาน
Aniela Mayte Guerrero Hernández ดีไซน์โคมไฟด้วยจักสานจากหวาย

อย่างไรก็ดี Hernández และนักศึกษาทั้ง 6 คน นับเป็นหนึ่งในกลุ่มนักออกแบบที่พยายามค้นหาวัสดุที่ผู้คนมองข้ามเพื่อสร้างสรรค์ให้เป็นสินค้าที่น่าสนใจและมีความยั่งยืนมากขึ้น

 

Credit : www.dezeen.com/2020/05/31/solar-lamp-instituto-tecnologico-de-monterrey-mexico-design

Stay Connected
Latest News

KCG เปิดวิสัยทัศน์ CEO คนใหม่ ‘ดำรงชัย วิภาวัฒนกุล’ สร้างการเติบโตที่มั่นคง ยั่งยืน และพร้อมสู่อนาคตที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทรานส์ฟอร์มองค์กร สานต่ออาณาจักรอาหารสไตล์ตะวันตก เนยและชีส