ใส่สีตี “เปลือกไข่” ลงในกระเบื้องเซรามิค กลายเป็นกระเบื้องรักษ์โลกลดขยะชีวภาพในหลุมฝังกลบ

“ไข่” เป็นอาหารที่เกือบทุกบ้านจะมีติดตู้เย็นไว้ เพราะนอกจากจะสามารถนำมาประกอบอาหารได้ง่าย ยังประกอบไปด้วยสารอาหารอย่างโปรตีนและวิตามินในปริมาณที่สูงอีกด้วย แต่รู้กันหรือไม่ว่าส่วนที่ห่อหุ้มไข่อย่าง “เปลือกไข่” ซึ่งปกติจะถูกโยนทิ้งอย่างไม่ใยดีจนกลายเป็นขยะชีวภาพที่ถูกทิ้งลงถังไป กลับมีประโยชน์มหาศาลต่อโลก

โดยในแต่ละปีทั่วโลกทิ้งเปลือกไข่ราวๆ 250,00 ตัน ด้วยปริมาณขยะเปลือกไข่ที่มีจำนวมากเช่นนี้ ส่งผลให้ Elaine Yan Ling Ng นักออกแบบเชื้อสายจีนอังกฤษ ได้ร่วมมือกับ Nature Squared ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาของใช้จากวัสดุยั่งยืน ร่วมกันหาโซลูชั่นในการนำเปลือกไข่มาเป็นส่วนผสมในการผลิตกระเบื้องปูพื้นเซรามิคชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูงในคอลเลคชั่น “CArrelé” ที่มาพร้อมลวดลายและสีสันสวยงาม

เมื่อพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของกระเบื้องเปลือกไข่กับกระเบื้องเซรามิคและกระเบื้องพอซเลน พบว่า เปลือกไข่มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามธรรมชาติและยังเป็นตัวกรอง CO2 ซึ่งคอยทำหน้าที่แยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมออกไป นอกจากนี้สีของเปลือกไข่ที่แตกต่างกันตั้งแต่สีอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลแก่ และการดูดซึมสีธรรมชาติที่ดีอย่างคราม คลอโรฟีล และแมดเดอร์ ทำให้กระเบื้องเปลือกไข่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร

สำหรับกระบวนการผลิตนั้น เริ่มต้นจากการเก็บเปลือกไข่จากร้านเบเกอรี่และร้านอาหารท้องถิ่นในประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากนั้น Nature Squared ก็จะนำเปลือกไข่ที่เก็บรวบรวมได้มาบดให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆที่มีขนาดตั้งแต่เท่าเมล็ดข้าวไปจนถึงเม็ดทราย และนำมาก่อเป็นกระเบื้องตามรูปทรงต่างๆที่ต้องการโดยผสมสารยึดเกาะทำให้ดูแล้วคล้ายๆกับกระเบื้องหินขัดยังไงยังงั้น หลังจากนั้นก็จะทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง

Elaine เล่าว่า กระเบื้อง CArrelé ได้รับแรงบันดาลใจจากการนำเปลือกไข่มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์ เนื่องจาก Elaine รู้จักเครื่องสำอางที่อุดมไปด้วยแคลเซียมซึ่งให้ความทนทานตามธรรมชาติ ขณะที่กระเบื้องเปลือกไข่ของเธอเป็นแนวคิดที่เหมาะกับการนำไปใช้เป็นผนังห้องครัวและห้องน้ำเนื่องจากสามารถทำความสะอาดง่ายและคุณสมบัติกันน้ำของกระเบื้องนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของการผลิตกระเบื้องเซรามิคเปลือกไข่นับเป็นความพยายามในการอัพไซเคิลขยะชีวภาพให้เกิดประโยชน์มากขึ้นแทนการทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ในหลุมฝังกลบ

credit : www.trendhunter.com/trends/bioceramic-tiles

Stay Connected
Latest News