คนไทยสร้าง Food Waste​ อันดับ 77 ของโลก เฉลี่ย 86 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

คนไทยสร้างขยะอาหาร (Food Waste) เฉลี่ย 86 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ตามรายงาน Food Waste Index 2024 ซึ่งเป็นการรายงานครั้งที่ 2 ของ UNEP  (UN Environment Programme) โดยเพิ่มขึ้นจาก 79 กิโลกรัมต่อคนต่อปีในการประเมินครั้งล่าสุด

ทำความรู้จัก ‘​ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน’ ที่มีมากกว่าแค่สีเขียว และอนาคตจะยิ่งหลากหลาย​จนกลายเป็นสีรุ้ง

ตลาดตราสารหนี้ในโลกการเงินเพื่อความยั่งยืน ยังมีตราสารหนี้อื่นๆ ที่มากกว่าแค่ตราสารหนี้สีเขียว หรือ Green Bonds  โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าอนาคตคงได้เห็นตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนที่หลากหลายสีจนอาจกลายเป็นสีรุ้งในที่สุด

โรงแรมไทย ปล่อย ‘ก๊าซเรือนกระจก’ สูงกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชียและของโลก ด้านผู้ประกอบการ 96.5% ไม่เข้าใจการวัดผลกระทบและการจัดทำรายงานความยั่งยืน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย อ้างอิงรายงาน A Net Zero Road Map for Travel and Tourism ของ World Travel & Tourism Council (WTTC) ระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ราว 8% ของการปลดปล่อย GHG ทั่วโลก โดยเป็นการปลดปล่อยมาจากภาคธุรกิจโรงแรมโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 1%

สภาพอากาศแปรปรวน กระทบต้นทุนช่วงเทศกาลกินเจ ราคาผักปรับขึ้น 3% ราคาข้าวขึ้น 10% ส่งผลคนลดจำนวนวันกินเจลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายของคนกรุงเทพฯ ช่วงเทศกาลกินเจปี 2566 น่าจะอยู่ที่ 3,100 ล้านบาท หรือขยายตัว 3.5% จากราคาอาหารเจที่​ปรับสูงขึ้นเฉลี่ย 2.5% เมื่อเทียบกับเทศกาลกินเจปีก่อน และจำนวนคนกินเจที่เพิ่มขึ้น จากความนิยมอาหารเพื่อสุขภาพและการกลับมาใช้ชีวิตปกติ โดยคาดว่าปริมาณการบริโภคอาหารเจโดยรวม น่าจะเติบโตขึ้นราว 1%

กสิกรไทยชี้ครึ่งปีหลังยังท้าทาย คาดเอลนีโญกระทบภาคเกษตร 4.8 หมื่นล้านบาท แถมกดดันอุตสาหกรรม ทั้งอโลหะ อาหาร สิ่งทอ ท่องเที่ยว และโรงพยาบาล

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดมุมมองทิศทางเศรษฐกิจครึ่งหลังของปี 2566 คงประมาณการจีดีพีปี 2566 ที่ 3.7% และคงตัวเลขการส่งออกไว้ที่ -1.2% แต่ปรับลดการบริโภคภาครัฐบาลและการลงทุน รอการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ขณะที่ห่วงภัยแล้งที่มีโอกาสรุนแรงกว่าคาด และหนี้ครัวเรือนที่ยังมีหนี้ก้อนยากรออยู่

เริ่มขับเคลื่อน​ Thailand Taxonomy นำร่องภาคขนส่งและพลังงาน พร้อมความท้าทายช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว

ประเทศไทยได้เริ่มประกาศใช้ “มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม” หรือ Thailand Taxonomy  เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เพื่อกำหนดนิยามกิจกรรมสีเขียว ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ถูกกำหนดขึ้นอย่างเข้มข้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายสากลในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ ผู้ประกอบการไทย แค่ 1 ใน 4 เท่านั้น ที่มีการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

ผลสำรวจการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า มีผู้ประกอบการจากการสำรวจเพีย​ง 1 ใน 4 หรือ 25% เท่านั้น ที่เริ่มปรับตัวเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการของบริษัท​

ผู้บริโภคมองปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว กว่า 2 ใน 3 พร้อมจ่ายให้สินค้า Eco-friendly ที่แพงกว่าไม่เกิน 20%

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันต่างรู้สึกว่าตัวเองได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันไป และมองว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัว จึงเริ่มมีความตระหนัก และพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในวิถีชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดผลกระทบและความรุนแรงของปัญหา

3 ใน 4 ของนักลงทุนรายย่อย พร้อมขายหุ้นธุรกิจที่มีประเด็นปัญหาด้าน ESG​

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ ผู้บริโภค 96% มองว่าภาคธุรกิจควรนำประเด็นด้าน ESG มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ และยินดีแบ่งสัดส่วนการลงทุนจำนวน 10-20% เพื่อลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินการด้าน ESG ถึงแม้ว่าอาจจะได้รับผลตอบแทนต่ำกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในตลาด