พลังซุปตาร์รักษ์โลก “ลีโอนาร์โด” ร่วมหารือภาวะโลกร้อนในการประชุม COP26 ที่ Glasgow

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำจากทั่วโลกต่างตบเท้าเข้าร่วมประชุม COP26 ที่เมือง Glasgow สหราชอาณาจักร เพื่อร่วมหารือประเด็นเกี่ยวกับแผนการจัดการภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นที่จับตามองของคนทั้งโลก รวมทั้งนักเคลื่อนไหวอย่าง Greta Thunberg ที่เรียกร้องให้ผู้นำทั้งหลายดำเนินการอย่างจริงจังเพื่ออนาคตของเยาวชนรุ่นต่อๆไป

นักแสดงหนุ่มอย่าง ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ ก็เป็นหนึ่งคนสำคัญที่ได้เข้าร่วมประชุมดังกล่าวด้วยในฐานะที่เป็นนักเคลื่อนไหวและตัวแทนสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่คอยผลักดันแคมเปญต่างๆเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาโลกร้อนมาอย่างต่อเนื่อง

โดยพระเอกหนุ่มได้โพสต์ IG ส่วนตัว เมื่อวานนี้ถึงประเด็นที่น่าสนใจที่กว่า 60 ประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมได้เห็นชอบร่วมกันใน Global Methane Pledge ฉบับใหม่ เพื่อลดการเกิดก๊าซมีเทน (Methane) ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของปัญหาโลกร้อน ความว่า …

“คำปฏิญาณนี้มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการดำเนินงานและการสนับสนุนความแข็งแกร่งของโครงการลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่มีอยู่เดิมเพื่อให้มีเทคนิคและนโยบายด้านการดำเนินงานที่ก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งจะเสริมความเข้มแข็งของการดำเนินงานภายในของประเทศสมาชิก

โดยประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมต่างเห็นชอบที่จะดำเนินการลดการปล่อยก๊าซมีเทนทั่วโลกให้ได้อย่างน้อย 30% ภายในปี 2030 ซึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิโลกลดลงถึง 0.2 องศาเซลเซียส ภายในปี 2050 นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังให้คำมั่นว่าจะเดินหน้านำระเบียบวิธีการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขั้นสูงสุดของ IPCC มาใช้ และพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขความถูกต้องแม่นยำ ความโปร่งใส ความสม่ำเสมอ ความสามารถในการเปรียบเทียบ และความสมบูรณ์ ของการจัดทำรายงานบัญชีก๊าซเรือนกระจกแห่งชาติภายใต้ UNFCCC และข้อตกลงปารีส เพื่อให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้นในภาคส่วนที่สำคัญต่างๆ

ทั้งนี้ ก๊าซมีเทนนับเป็นมลพิษทางสภาพอากาศที่ทรงพลังแต่มีอายุสั้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นสุทธิตั้งแต่ยุคก่อนอุตสาหกรรม การลดการปล่อยก๊าซมีเทนอย่างรวดเร็วจากพลังงาน การเกษตร และของเสีย สามารถบรรลุผลสำเร็จระยะสั้นจากความพยายามในการดำเนินงานที่เด็ดขาด และถือเป็นกลยุทธ์เดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำให้เป้าหมายการจำกัดอุณหภูมิโลกร้อนไม่เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไม่ไกลเกินเอื้อม ขณะเดียวกัน ยังส่งผลดีต่อการปรับปรุงด้านสาธารณสุข และผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ด้วยจำนวนประเทศเกือบ 100 ประเทศ ที่คิดเป็นสัดส่วนประมาณกว่า 40% ของการปล่อยก๊าซมีเทนทั่วโลก และมากกว่า 2 ใน 3 ของ GDP โลก เรากำลังดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของคำปฏิญาณนี้ และปกป้องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณกว่า 8 กิกะตันต่อปี ไม่ให้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศให้ได้ภายในปี 2030”

credit : www.instagram.com/p/CV74rYJlJ3A/?hl=en

Stay Connected
Latest News

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ เดินหน้าองค์กรสู่ความยั่งยืนทุกมิติ ประกาศความสำเร็จ ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป รวมกว่า 56,000 ตร.ม. ร่วมลดการใช้พลังงานของประเทศ พร้อมสร้างคุณค่าต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม