กระแสตื่นตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุน Climate Tech ของสตาร์ทอัพพุ่ง 5 เท่า ทะลุ 5.6 แสนล้านบาท

กระแสตื่นตัวเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือ Climate Change และความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโลยี ​ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนของ Startup ในกลุ่ม Climate Tech ​โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเกษตรและอาหารเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

โดย Krungthai Compass ระบุว่า ข้อมูลรายงานการลงทุนด้าน AgriFoodTech  ประจำปี 2019 ของ AgFunder ชี้ให้เห็นว่า เงินทุนสำหรับ Startup ด้านเทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เพิ่มข้ึนถึง 900% ระหว่างปี 2013 ถึง 2019 โดยเพิ่มข้ึนจาก  2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 1.98 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ในแง่ของมูลค่าการลงทุนด้าน Climate Tech เติบโตเพิ่มข้ึนถึงเกือบ 5 เท่า เมื่อ เทียบกับตลาด Venture Capital โดยรวมทั่วโลก หรือจาก 418 ​ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2013 เป็น 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2019 หรือมากกว่า 5.6 แสนล้านบาท (คำนวนอัตราแลกเปลี่ยน 1 US = 35 บาท)

เช่นเดียวกับมิติของจำนวนข้อตกลงที่เติบโตเฉลี่ยต่อปี 35% ซึ่งการลงทุนใน Climate Tech คิดเป็นกว่า 6% ของมูลค่า Venture Capital ท่ัวโลก โดยเฉพาะการลงทุน Climate Tech ในกลุ่มอาหารทางเลือก (Alternative foods) และกลุ่มโปรตีนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Low-GHG proteins) ที่มีสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 3 ของมูลค่าเงินลงทุน Venture Capital ในภาคเกษตรโดยรวม ซึ่งเติบโตในอัตราเร่งเพิ่มข้ึนอย่างมาก ต้ังแต่ปี 2017 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุน หลังเกิดกระแสยูนิคอร์นล่าสุดอย่าง Impossible Foods และ Beyond Meat

โดยพบว่ายังมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเรื่องสภาพภูมิอากาศ (Climate Tech) ท่ีน่าสนใจ อาทิ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในภาคเกษตร (Agricultural Photovoltaics : Agri-PV) เพื่อใช้สำหรับชาร์จไฟฟ้ารถแทรกเตอร์ ระบบห้องเย็นทดแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากฟอสซิล ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหลายเท่า นอกจากนี้ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ยังช่วยควบคุมปริมาณแสงอาทิตย์ให้พอเหมาะกับพืชอีกด้วย โดย BayWa r.e. และ the German Fraunhofer Institute for Solar Energy Systems ISE (2021) อยู่ระหว่างทดสอบระบบ Agri-PV system ที่สวนแอปเปิลออร์แกนิกส์ในเยอรมนี

Credit Krungthai Compass

การลดการใช้ปุ๋ยด้วย Precision Fertilizer โดยอาศัยหลักการจากภาพโดรน และการวิเคราะห์ขั้นสูง เพื่อช่วยในการควบคุมการปล่อยปุ๋ยหรือไนโตรเจน (Controlled-release Fertilizer) ตามประเภทและความต้องการของพืชในแต่ละขั้นตอนการเจริญเติบโต ​ซึ่งจะช่วยประหยัดท้ังเงินและการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เกินจำเป็น การใช้เครื่องมือเหล่านี้สามารถเพิ่มผลผลิตจาก 42% เป็น 68% ท้ังยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ท่ัวโลกได้ถึง 300  ล้านเมตริกตันต่อปี (จากการประมาณการโดย Prime’s CRANE) ซึ่งผู้นำในตลาดกลุ่มนี้ ​อาทิ Farmer’s Edge, CropX และ Ceres Imaging

และอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ Boomitr บริษัท Startup แห่งซิลิคอน วัลเลย์ ได้พัฒนาวิธีการวัดและตรวจสอบระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในดิน โดยใช้เทคโนโลยีระยะไกล (Remote Technology) ควบคู่กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ​จากเดิมที่ต้องเก็บตัวอย่างดินไปตรวจที่ห้องทดลอง ซึ่งเสียเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่สูง รวมท้ังการเก็บตัวอย่างดิน อาจไม่ครอบคลุมท่ัวถึง และมีต้นทุนค่าตรวจวัดสูง

รวมไปถึง การใช้สาหร่ายสีแดงลดการผลิตก๊าซมีเทนในวัว โดยนักวิทยาศาสตร์จาก Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO) และมหาวิทยาลัย James Cooks ของออสเตรเลียได้ทดลองผสมสาหร่ายมากกว่า 20 ชนิดในกระเพาะวัวจำลอง และค้นพบว่า การใช้สาหร่ายสีแดง (Asparagopsis Taxiformis) เป็นอาหารเสริมให้แก่วัวเนื้อ มีส่วนช่วยลดการผลิตก๊าซมีเทนได้ถึง 80% เนื่องจาก สาหร่ายแดงมีสารประกอบโบรโมฟอร์ม (CHBr3 ) ที่ช่วยยับยั้งกระบวนการผลิตก๊าซมีเทนในจุลลินทรีย์เมทาโนเจน ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสัตว์ ไม่ส่งผลต่อคุณภาพและรสชาติของเน้ือสัตว์ อีกท้ังยังไม่พบสารโบรโมฟอร์มตกค้างในปริมาณที่เกินค่ามาตรฐานอีกด้วย ซึ่งหากกลุ่มผู้เลี้ยงปศุสัตว์นำสาหร่ายนี้ไปให้วัวกินเป็นอาหารเสริม ก็น่าจะช่วยทำให้ทฤษฎี “ตดวัวทำให้โลกร้อน” หรือการทำปศุสัตว์ต่างๆ ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้น้อยลงเช่นเดียวกัน  ​

Stay Connected
Latest News