คนไทยก็ใช้ทุกแบรนด์ระดับโลก ที่เป็นผู้สร้างขยะพลาสติกใหญ่ที่สุด

Nestle, Unilever, Coca-Cola, PepsiCo, P&G ถูก Greenpeace เปิดเผยว่าเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้สร้างมลพิษขยะที่ใหญ่ที่สุด ทั้ง 5 แบรนด์ให้คำปฏิญาณเพื่อเพิ่มระดับความพยายามในการลดปริมาณพลาสติก

จากขวดพลาสติก ซองกาแฟไปจนถึงขวดแชมพูและหลอดยาสีฟันที่ถือเป็นพลาสติกน้ำหนักเบาที่ไปอุดตันการไหลของน้ำ และกำลังสร้างมลพิษในพื้นที่ส่วนรวมด้วยปริมาณขยะถึงหนึ่งคันรถบรรทุกที่ไหลลงสู่มหาสมุทรทุกๆ นาที

ปัจจุบันคนกว่า 1 พันล้านคนใน 192 ประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมที่เน้นการปฏิบัติ

“เป้าหมายของเรา รวมถึงการหยุดการใช้พลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียว การส่งเสริมทางเลือกสำหรับวัสดุจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การส่งเสริมการรีไซเคิลพลาสติก 100% ความรับผิดชอบขององค์กรและภาครัฐและการเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคพลาสติก” Kathleen Rogers ประธานเครือข่ายวันคุ้มครองโลกซึ่งเป็นองค์กรแกนนำวันคุ้มครองโลกของทั่วโลกกล่าว

นอกจากนี้ การเรียกร้องให้ผู้นำโลกแบนการใช้พลาสติกที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวยังถือเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญและส่งเสริมการยกระดับไปใช้วัสดุที่ไม่ก่อมลพิษและมีความยั่งยืน นั่นก็คือ การใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่ไม่ใช่ฟอสซิล ทั้งนี้ยังมีการขอความร่วมมือเพื่อความรับผิดชอบต่อการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง

มาติดตามความสนใจถึงวิธีการที่จะนำไปสู่การปฏิบัติของ 5 Global Brands

1. Nestle

บริษัทอาหารและเครื่องดื่มสัญชาติสวิส ยังคงเส้นคงวาในการดูแลสิ่งแวดล้อม และรักษามาตรฐานแบรนด์ไว้ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือนนี้ Nestle ได้เข้าร่วมกับอีก 11 แบรนด์ชั้นนำที่ก่อนหน้านี้ตกลงจะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้หรือรียูสได้ภายในปี 2025

นอกจากนี้ บนเว็บไซต์ของ Nestle ได้กล่าวว่าทาง Nestle จะดำเนินการด้วยการกำจัดพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ออกไป และส่งเสริมการใช้พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลในอัตราที่ดีขึ้น และกำจัดหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนออกไป 

แม้ว่าแผนการใช้พลาสติกแผนใหม่ของ Nestle ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จาก Greenpeace ว่ามีเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน แต่บริษัทยืนยันว่า นโยบายของบริษัทเป็นก้าวสำคัญในการแก้ปัญหาและให้คำสัญญาที่จะชี้แจงความก้าวหน้าในการดำเนินนโยบายให้กับสาธารณชนต่อไป

2. Unilever

บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านสินค้าอุปโภค-บริโภคได้ผลักดันกระบวนการการผลิตหมุนเวียนมากขึ้น รวมถึงวิธีในการจัดการกับบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก โดยเมื่อปีที่แล้ว ทาง Unilever ได้พัฒนาเทคโนโลยีชนิดใหม่ที่เรียกว่า CreaSolve ที่สามารถรีไซเคิลซองบรรจุที่ใช้แล้วและนำกลับไปยัง Supply Chain

นอกจากนี้ บริษัทยังมองหาวิธีการใหม่ของการรีไซเคิลอีกด้วย เช่น PET (Polyethylene terephthalate) ซึ่งเป็นประเภทพลาสติกที่ถูกนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ต้องการที่จะเปลี่ยนขยะ PET ให้เป็นพลาสติก PET ที่สะอาดและโปร่งใสสามารถนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารได้ เทคโนโลยีนี้คาดว่าจะพร้อมใช้ภายในปลายปี ค.ศ. 2025

3. Coca-Cola

บริษัทเครื่องดื่มได้ประกาศเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ว่า จะนำกระป๋องและขวดเครื่องดื่มในจำนวนเท่ากับจำนวนที่ขายไปกลับมารีไซเคิลภายในปี 2030 นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2050 และมีสิ่งบรรจุที่สามารถรีไซเคิลได้ 50% ภายในปี 2030 การริเริ่ม “โลกไร้มลภาวะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ทั้งขวด และกระป๋องที่ออกแบบ ทำขึ้นเพื่อนำไปรีไซเคิลและนำมาใช้ใหม่

James Quincey ซีอีโอ Coca-Cola กล่าวในบล็อกโพสต์ของบริษัทว่า “สมมติว่าเรากำจัดขวดพลาสติกและกระป๋อง คุณภาพชีวิตเราก็จะดีขึ้น บรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มยุคใหม่ สามารถช่วยลดอาหารเน่าเสียและลดปริมาณขยะได้ รวมถึงขวดและกระป๋องยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับสังคมได้  หากได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม และทิ้งอย่างมีความรับผิดชอบ”

บริษัท Coca-Cola ใช้ขวดทั้งสิ้นราว 120 ล้านขวดต่อปี ได้กล่าวถึงการริเริ่มการรีไซเคิล 100% ที่เน้นขวดพลาสติกและกระป๋องอลูมีเนียมเป็นหลัก ซึ่งคิดเป็น 85% ของบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้บริษัทวางแผนที่จะขยายโครงการไปยังบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆ และบรรจุภัณฑ์จากบริษัทอื่นๆด้วย อย่างไรก็ตาม แผนของโครงการด้านพลาสติกนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จาก Greenpeace ว่าล้มเหลวในการลดปริมาณพลาสติกที่ถูกผลิตขึ้นมา

4. PepsiCo

เมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้ว ชาวประมงในเมือง Grand Manan, New Brunswick ในประเทศแคนาดาสามารถจับกุ้งล็อบสเตอร์ที่มีสลักโลโก้แบรนด์ Pepsi ติดอยู่บริเวณก้ามกุ้ง เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่ามลพิษพลาสติกได้ขยายมาสู่มหาสมุทรในบริเวณนี้แล้ว

บริษัท Pepsico ได้ทำข้อตกลงเหมือนกับอีก 11 แบรนด์ชั้นนำที่จะต่อสู้กับมลภาวะพลาสติก โดยทาง Pepsico ได้กล่าวบนเว็บไซต์ของบริษัทว่าบริษัทจะต่อสู้เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% ทั้งยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยการเพิ่มวัสดุที่ได้รับการรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์พลาสติกของเรา ลดผลกระทบคาร์บอนของบรรจุภัณฑ์ และรวมถึงดำเนินการเพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิล

นอกจากนี้ บริษัทได้ร่วมในการริเริ่มโครงการ New Plastics Economy ที่นำโดยมูลนิธิ Allen MacArthur ที่สร้างความท้าทายให้กับผู้มีส่วนได้เสียให้คิดและออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตาม รายงานด้านความยั่งยืนของบริษัท Pepsico ได้รายงานว่าบริษัทได้ทำงานร่วมกับผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ Danimer Scientific ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพสำหรับขนมขบเคี้ยวและเปลี่ยนฉลากเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ Gatorade และ Lipton Pure Leaf เป็นต้น

5. Procter & Gamble

บริษัท Procter & Gamble หรือ P&G ได้ประกาศข้อตกลงของบริษัทในการบรรลุการทำให้ขยะในการผลิตเป็นศูนย์ภายในปี 2020 โดยเมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว บริษัทตั้งใจที่จะบรรลุปริมาณขยะจากการบริโภคและการผลิตให้เป็นศูนย์เช่นเดียวกับการใช้วัสดุทดแทนหรือวัสดุรีไซเคิล 100% สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนี้ ผู้บริโภคยักษ์ใหญ่ได้เปิดตัวขวด Fairy Ocean Plastic ที่ผลิตขึ้นมาจากวัสดุรีไซเคิล 100% (PRC หรือ Post-Consumer Recycled) เพื่อเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับมลภาวะพลาสติก

ยิ่งไปกว่านั้น บริษัท มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความแน่ใจว่า วัสดุที่ผลิตเข้ามาทั้งหมดนั้นจะถูกแปลงเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ซ้ำในรูปแบบอื่นผ่านพาร์ทเนอร์ที่คล้ายกับบริษัท TerraCycle ซึ่งเป็นบริษัทรีไซเคิลของสหรัฐฯที่ช่วยผลิตขวดพลาสติก Fairy Ocean

อย่างไรก็ตาม Procter & Gamble กล่าวไว้ว่าบริษัทได้บรรลุเป้าหมายการทำขยะให้เป็นศูนย์แล้วใน 19 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เยอรมนี และอินโดนีเซีย และอ้างว่าบริษัทกำลังเข้าใกล้เป้าหมายอย่าง 100% ใน 2 ประเทศที่เป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท นั่นก็คือ ประเทศจีนและอินเดีย

 

ที่มา

ข่าวเกี่ยวข้อง

Stay Connected
Latest News