PASAYA ตั้งเป้า ‘โรงงานสีเขียว’ ปรับทั้งห่วงโซ่การผลิตสู่ Net Zero ปี 2050 พร้อมสร้างป่า 100 ไร่ ในโรงงาน ช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ปีละ 300 ตัน

PASAYA (พาซาญ่า) ผู้นำธุรกิจเครื่องนอน สิ่งทอ ผ้าม่าน และสินค้าไลฟ์สไตล์คุณภาพพรีเมียมของไทย ผู้ผลิตชุดเครื่องนอนที่เข้าถึงง่าย ราคาที่จับต้องได้ แต่คงไว้ซึ่งมาตรฐานและคุณภาพที่ดี ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด ประกาศสู่การเป็น Net Zero Emissions Factory หรือ โรงงานสีเขียว

โดยตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 (พ.ศ. 2593)  ผ่านการใช้พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน ลดการปล่อยและเพิ่มการเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

คุณชเล วุทธานันท์ ประธานกรรมการ บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด กล่าว แนวคิดในการเปลี่ยนโลกให้คนสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ของพาซาญ่า เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก่อตั้งโรงงาน เมื่อปี พ.ศ.2538  ด้วยความตั้งใจที่จะสร้าง​โรงงานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชนรอบข้าง ปราศจากมลภาวะทางอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของพนักงาน ทุกอาคารในโรงงาน จึงถูกออกแบบให้เอื้ออำนวยต่อคุณภาพชีวิตของคนทำงาน และคุณภาพผลิตภัณฑ์ในทุกกระบวนการ

โดย​ครั้งที่ PASAYA กำเนิดขึ้น ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นที่ทำขึ้น จะเป็นสิ่งทอที่ปลอดสารพิษฟอร์มาลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อคน และสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สีและสารเคมีที่มีโลหะหนักเป็นส่วนผสม เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ใช้และพนักงาน ซึ่งผ้าทุกผืนของ PASAYA ได้รับการรับรองระดับสากลเป็นผ้าที่ปราศจากสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde Free) ระดับที่ใช้ได้กับเด็กทารกแรกเกิด

พร้อมทั้งได้ออกแบบและวางผังโรงงานสีเขียว (Green Factory) ให้มีระบบการผลิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการใช้สารเคมีอันตรายที่สร้างผลกระทบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่ดีเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของสารเคมีอันตรายใดๆ ในแหล่งน้ำและผืนดิน รวมถึงการรีไซเคิลระบบน้ำภายในโรงงานได้ 100% และนำกลับมาใช้ใหม่ในขบวนการผลิตได้ถึง 30%

ขณะที่ทุกอาคารภายในโรงงานได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงคุณภาพในการผลิต ความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน อาทิ โรงทอ “Casamatta” (แปลว่า Crazy Hose บ้านของคนที่คลั่งไคล้ในการทอผ้า) ที่ต้องควบคุมความชื้นและมีการกำจัดฝุ่นฝ้ายในอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

การออกแบบระบบถ่ายเทอากาศตามหลัก Aero Dynamic ภายในโรงย้อม (Kampang) ที่อาจมีอุณหภูมิสูงถึง 130 องศาฯ ในขณะย้อมให้เย็นสบาย และสวนป่าสีเขียวใจกลาง โรงเย็บ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผ่อนคลายให้พนักงาน

นอกจากนี้ ​ ยังได้ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ เพื่อใช้พลังงานสะอาดแทนไฟฟ้าภายใต้การสนับสนุนของ KBank รวมถึงเพิ่มการใช้วัตถุดิบ Recycle และ Upcycling เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions Factory ในปี 2050

ทั้งนี้ พาซาญ่าได้วางไทม์ไลน์ เพื่อให้กระบวนการผลิตมุ่งสู่การเป็น Net Zero Emission Factory ไว้ดังต่อไปนี้

ปี 2022 –ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และพลังงานสิ้นเปลือง : โดยเริ่มโครงการพลังงานโซล่าเซลล์ มาตั้งแต่ปลายปี 2020 เพื่อใช้พลังงานสะอาดแทนไฟฟ้าจากการเผา ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการมุ่งสู่ Net Zero Emission และขึ้นทะเบียน Carbon Footprint เป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีมาใช้พลังงานความร้อนจากแก๊ส LPG ระบบ Once through หรือ “เปิดปุ๊บติดปั๊บ” แทนระบบเตาไอน้ำจากการเผาถ่านหิน ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเท่าตัว ในกระบวนการย้อมและฟินิชชิ่งผ้า ทั้งหมดนี้ จะทำให้เราลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ ลงได้ไม่น้อยกว่า 2,500 ตัน/ปี หรือราว 25% จากขนาดการผลิตในปัจจุบันภายในกลางปี 2023 และมีแผนเพิ่มศักยภาพให้สามารถลดลงได้อีกอย่างต่อเนื่อง

นวัตกรรมผ้าม่านประหยัดพลังงาน Energy-Saving : คิดค้นนวัตกรรม ผ้าม่านประหยัดพลังงาน Energy-Saving ที่สามารถสะท้อนความร้อน ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ 2-4 องศาเซลเซียส  ด้วยเทคโนโลยีการทอด้วยเส้นใยเมทัลลิค สะท้อนความร้อน ป้องรังสี UVA UVB ได้ระดับ UPF50+ จึงทำให้ผู้บริโภค สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศในบ้านได้สูงสุดถึง 20% และยืดอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ และสิ่งของภายในห้อง ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรและได้รับรางวัล Best Innovation Prime ministor Export Award ในปี 2021 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ปี 2025 – โครงการโรงงานในป่า สร้างป่าในโรงงาน 100 ไร่ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral)

พาซาญ่าได้เริ่มก่อตั้งโครงการโรงงานในป่า ภายใต้ภาระกิจ PASAYA “Mission for the World” เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อตอบสนองต่อนโยบาย สนับสนุนเป้าหมายการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ช่วยลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Climate Change)

โดยวางเป้าหมายปลูกป่าบนพื้นที่โรงงาน 100 ไร่ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2025 เมื่อปลูกแล้วเสร็จเต็มพื้นที่และต้นไม้เติบโต จะช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศได้ 300 คาร์บอนตันต่อปี และจะทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ PASAYA จะมีส่วนช่วยสร้างสมดุลทางสภาพภูมิอากาศ นำมาซึ่งความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความอยู่รอดของมนุษย์ พร้อมมีแผนขยายการดำเนินงานต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไปยังที่ดินในชนบทห่างไกล ซึ่ง 10,000 ตัน เท่ากับปลูกป่าบนที่ดินเพียง 3,300ไร่

ปี 2030 – ตั้งเป้าหมายใช้วัตถุดิบที่เป็นรีไซเคิล และเส้นใย upcycling

PASAYA  เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นรีไซเคิล (upcycling) เป็นส่วนผสมไปกับกลุ่มสินค้าตกแต่งบ้าน ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ และ ภาพติดผนัง Wall Mural

ปี 2035  :  บรรลุ Zero Emission Factory โรงงานลดการปล่อยคาร์บอนทางตรงเป็นศูนย์

ปี 2050  :  บรรลุ Net Zero Emission Factory ไม่ปล่อยคาร์บอนทั้งทางตรงและทางอ้อม

“วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตทั้งหมด ต้องนำมาจากโรงงานที่เป็น Zero Emission เพราะหากโรงงานซัพพลายเออร์ยังไม่เริ่มทำ Zero Emission เราก็ไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้  ​รวมทั้งการปลูกต้นไม้ทดแทนเพื่อเพิ่มคาร์บอนเครดิตจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อการชดเชยคาร์บอนที่เกิดมาจากวัตถุดิบที่เราซื้อมา โดยคาดว่าการปลูกต้นไม้ 1 ไร่ สามารถดูดซึมคาร์บอนได้ 1 คาร์บอนตันต่อปี  ขณะเดียวกันเรายังคิดค้นออกแบบผลิตภัณฑ์ วางระบบการผลิตให้สินค้าทุกชิ้นมีความคงทน คุณภาพสูง และปลอดภัยจากสารเคมี สามารถใช้งานได้นาน ไม่เป็นสินค้า Fast Fashion ที่ก่อให้เกิดขยะเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเป้าหมายในการใช้เส้นใยรีไซเคิล (Up-cycling) แทนโพลีเอสเตอร์ ไปกับการผลิตกลุ่มสินค้าตกแต่งบ้าน ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ และ ภาพติดผนัง Wall Mural ที่นอกจากต้องมีคุณสมบัติเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ทาง PASAYA มั่นใจว่า วัสดุรีไซเคิลจะไม่ทำให้เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพดั้งเดิมของผลิตภัณฑ์อย่างแน่นอน”

Stay Connected
Latest News