ผู้บริโภคอเมริกา 66% ใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน 80% เป็นคนรุ่นใหม่ พร้อม 6 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ที่น่าจับตามองในปี 2566

ตลาดบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนทั่วโลกปี 2565 มีมูลค่า 252,400 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่า ช่วงปี 2566 – 2573 น่าจะมีการขยายตัวที่ 5.8% ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนตลาดบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนให้มีการเติบโต คือ ความต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบรรจุภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน

สำหรับตลาดบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนในอเมริกาเหนือ (อเมริกาและแคนาดา) คาดว่าจะ มีมูลค่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573 โดยความตระหนักของผู้บริโภค เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นและกฎระเบียบจากรัฐบาล น่าจะช่วยกระตุ้นให้ความต้องการบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนขยายตัวแบบก้าวกระโดด

จากข้อมูลของสำนักงาน the Environmental Protection Agency (EPA) ระบุว่า สหรัฐอเมริกาสร้างขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์มากถึง 80 ล้านเมตริกตัน/ปี โดยอาหารและเครื่องดื่มคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของขยะบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของสหรัฐอเมริกา

เพื่อตอบรับต่อแรงกดดันในการรับรู้ถึงปัญหานี้ของสาธารณชน ธุรกิจจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาจึงได้ให้คำมั่นว่าจะดำเนินการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้านบริษัทขนาดเล็กในอุตสาหกรรมอาหารและ เครื่องดื่มก็ได้เริ่มใช้มาตรการเหล่านี้แล้วเช่นกัน

โดยผู้ผลิตอาหารเป็นจำนวนมากเลือกที่ จะใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าวในการนำเสนอบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น McDonald’s ได้วางแผนที่จะใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน 100% ภายในปี 2568 ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ช่วยสร้างโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์​สีเขียวให้สามารถเข้ามาจำหน่ายและเติบโตในสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้น

ด้าน Business of Sustainability Index  ​สำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกัน จำนวน 1,000 คน พบว่า 66% ของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดนิยมใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน โดย 80% เป็นกลุ่มผู้บริโภคอายุ 18-34 ปีเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ (young generation) และมีความยินดีที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ยั่งยืนเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ มีความยั่งยืนน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม ความต้องการบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนในตลาด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มน่าจะมี การเติบโตอย่างมากและต่อเนื่องในอนาคตเพื่อให้รองรับกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ไป ทั้งการซื้ออาหารมาทำที่บ้านและการสั่งอาหารจากร้านอาหาร ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวน่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ที่ทำให้กับธุรกิจบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและขยายไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ในวงกว้าง ต่อไป

จับตา 6 เทรนด์บรรจุภัณฑ์ที่น่าจับตามองในปี 2566

1. การใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้และวัสดุมีน้ำหนักเบา เพื่อลดปริมาณทรัพยากรและ พลังงานในการผลิต เช่น กล่อง/ฉลากที่สามารถย่อยสลายได้ หรือฉลากมีการพิมพ์สองด้าน

2. การลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพื่อลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองและช่วยลดการเน่าของเสียของสินค้า เพื่อให้ใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด

 

3. การออกแบบเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ สำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การนำกลับมาใช้ใหม่จะช่วยลดความรู้สึกผิดต่อขยะบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการจับจ่ายซื้อของ บรรจุภัณฑ์แบบเติมได้ประกอบด้วยวัสดุรีไซเคิลที่สามารถนำไปปรับปรุงใหม่หรือผลิตใหม่ได้ เมื่อผู้บริโภคส่งคืนบรรจุภัณฑ์เปล่า ซึ่งทางเลือกดังกล่าวมีคุณค่าสำหรับ บริษัทมากในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดต้นทุนเมื่อใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้เนื่องจาก ธุรกิจสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง อย่างไรก็ดี ธุรกิจสามารถจูงใจผู้บริโภคด้วยโปรแกรมการเติมเงิน โปรแกรม ลดราคาเมื่อนำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นกลับมา

4. บรรจุภัณฑ์ชีวภาพย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยใช้วัสดุที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติเช่น พืช ผลไม้และสาหร่าย การใช้วัสดุเหล่านี้ช่วยลดการใช้สารเคมีเชื้อเพลิงชีวภาพและพลาสติก อันจะกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ชีวภาพเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจผู้บริโภคอย่างมาก เนื่องจากผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียนซึ่งสามารถ ทดแทนได้จากการหมุนเวียนทางธรรมชาติ

5. ฉลากแบบล้างออก เพื่อความสะดวกกับผู้บริโภคในการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์โดยไม่ต้องแยก ส่วนประกอบ การใช้หมึกพิมพ์และกาวชีวภาพสำหรับฉลากที่ล้างออกง่ายจะทำให้ภาชนะที่ทำจาก PET และพลาสติก ชนิดอื่นๆ สามารถรีไซเคิลได้ฉลากแบบล้างออกได้เป็นอีกหนึ่งเทรนด์หนึ่งของการติดฉลากบนบรรจุภัณฑ์ที่กำลังมา แรงในปี2566 โดยมีการนำหมึกพิมพ์ที่ทำจากถั่วเหลืองและผักซึ่งไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมาใช้

6. การนำวัสดุที่มาจากขยะหลังการบริโภคหรือวัสดุรีไซเคิลหลังการบริโภคนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่ม ประโยชน์ในการใช้งาน เช่น ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งแล้วซึ่งเก็บมาจากพื้นที่ชายฝั่งทะเล การนำภาชนะบรรจุโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลตกลับมาแปรรูป (PET) ทั้งนี้ การบอกเล่าเรื่องราวและแหล่งที่มาของวัสดุจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมา ทดลองซื้อสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคจะรู้สึกว่าตนเองมีส่วนในการช่วยปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม

ข้อมูล : กรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศ

Stay Connected
Latest News