จากนิวยอร์กสู่กรุงเทพ กลยุทธ์ Local Marketing ของอินเตอร์แบรนด์อย่าง เชค แช็ค (Shake Shack) กับการสร้าง Brand Love ให้ได้ใจคนไทย

เป็นแบรนด์ดังที่หลายคนอาจจะต้ังตารอและอยากให้เข้ามาเปิดในไทยอยู่แล้ว ที่แม้ว่าจะมาแบบนิวยอร์กสไตล์ ขายความเป็นอินเตอร์แบรนด์ก็น่าจะมีกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ให้การตอบรับที่แบรนด์น่าจะพอใจในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

แต่อินเตอร์แบรนด์อย่างเบอร์เกอร์ชื่อดังสัญชาติอเมริกา เชค แช็ค (Shake Shack) ที่ได้ขยายสาขาส่งตรงจากนิวยอร์กเพื่อแลนดิ้งสู่ประเทศไทย เป็นสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในวันที่ 30 มีนาคมนี้ ก็เลือกที่จะทำ Local Marketing เพื่อขอผูกมิตรก่อนเปิดประตูเข้าบ้าน เพื่อให้ได้ใจคนไทยและอาจจะตั้งตารอวันที่แบรนด์จะเข้ามาเปิดอย่างใจจดใจจ่อเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ตั้งแต่การเริ่มปักหมุดสาขาแรกที่ CentralWorld  กรุงเทพ โดย​มีสตอรี่เชื่อมโยง ระหว่างมหานครนิวยอร์กกับกรุงเทพมหานคร​ ผ่านธีม Taximan ซึ่งมีผู้ออกแบบคือ คุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย เจ้าของผลงานการออกแบบงานกราฟิกบนรถเข็นฮอตดอกของ เชค แช็ค ที่เคยฝากผลงานการแสดงงานศิลปะครั้งแรกในชื่อ “I Heart Taxi

และหลังจากนั้นก็ได้มาออกแบบลายกราฟิกให้กับรถเข็นฮอตดอกของ เชค แช็ค ที่เมดิสันสแควร์พาร์ค ในมหานครนิวยอร์ก เมื่อ 22 ปีก่อน กลายเป็นความสัมพันธ์อันแนบแน่น สานต่อยาวนานจนมาถึงวันที่ เชค แช็ค ปักหมุดสาขาแรกที่ประเทศไทย ณ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เรื่องราวของ Taximan จึงได้รับการนำกลับมาเล่าอีกครั้งเพื่อเชื่อมต่อสตอรี่จากเมืองสู่เมือง จากภาพแท็กซี่ในมหานครนิวยอร์กสู่กรุงเทพมหานคร

ขณะที่องค์ประกอบต่างๆ ของสาขาแรกในประเทศไทยนี้ ต่างก็สอดแทรกเรื่องราวความเป็นไทยเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น การตกแต่งในคอนเซ็ปต์ Urban Oasis ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก เชค แช็ค สาขาแรกที่มหานครนิวยอร์ก ผสานเข้ากับพลังความคึกคักไม่หลับใหลของกรุงเทพฯ

หรือจะเป็นการครีเอทเมนูพิเศษสำหรับประเทศไทยอย่าง City Shack เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ของอาหารไทยสไตล์กรุงเทพ เช่น มิลค์เชคข้าวเหนียวเจลลีใบเตย (Pandan Sticky Rice Shake), วานิลลา โฟรเซ่น คัสตาร์ดผสมคาราเมลน้ำปลาหวาน (Shack Attack) หรือการ Collab กับแบรนด์ไทยอย่างอาฟเตอร์ยู ในการครีเอทบราวนี่ให้เชค แช็ค โดยเฉพาะในเมนู ช็อกโกแลตคอนกรีตรสเข้มข้น


โดยเฉพาะเมนูพิเศษอย่างวานิลลา โฟรเซ่น คัสตาร์ด ผสมเนื้อมะพร้าวน้ำกะทิหอม (Coconuts About You) ที่ทางร้านจะแบ่งสัดส่วน 5% จากยอดขายของเมนูนี้ เพื่อนำ​ไปสนับสนุนกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) อีกด้วย

นอกจากนี้ ในอีเวนท์วันเปิดร้านทางแบรนด์ ยังได้นำสินค้าจากชุมชนของไทย อย่างพัดสานด้วยมือ งานแฮนด์เมดจากชุมชนบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในของที่ระลึกเพื่อแจกให้กับผู้มาร่วมงานในวันเปิดร้านด้วย

โดยทาง Shake Shack ได้ทำงานร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้นำกิจกรรมของชุมชน ในการออกแบบลวดลาย ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของแบรนด์ผสมผสานเข้ากับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่เป็นการสนับสนุนแ ละเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยรักษางานหัตถกรรมอันทรงคุณค่านี้ไว้

ซึ่งพัดแฮนด์เมด สานด้วยมือจากชุมชนบ้านแพรก จังหวัดอยุธยา นี้ จะเป็นส่วนหนึ่งในกิฟต์เซ็ต ซึ่งประกอบด้วย กระเป๋าผ้า เสื้อทีเชิ้ต และพัดสานด้วยมือ เพื่อแจกให้ลูกค้า 100 คนแรก ในวันเปิดร้านอย่างเป็นทางการ ส่วนอีก 400 คนถัดมา ก็จะได้รับพัดลิมิเต็ด อิดิชั่นนี้ นี้ด้วยเช่นกัน

การผูกมิตรเพื่อขอเปิดประตูเข้าไปในประเทศต่างๆ ที่ต้องการขยายธุรกิจถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่อาจจะบอกได้เลยว่าธุรกิจนั้นๆ จะสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งการที่เชค แช็ค พยายามแสดงถึงการให้ความสำคัญกับประเทศไทย รวมทั้งการเรียนรู้ และปรับตัวเพื่อเข้าให้ได้กับผู้คนและวัฒนธรรมของประเทศไทย ก็เชื่อว่า​ เชค แช็ค จะไม่ได้เพียงแค่ License to Operate ​เท่านั้น แต่จะสามารถสร้าง Brand Love และเพิ่มโอกาสใน​การได้ใจคนไทยเพิ่มมากยิ่งขึ้น​ไปด้วยอีกอย่างแน่นอน

Stay Connected
Latest News